Share to:

 

การสังหารหมู่ในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2485

การสังหารหมู่ในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2485 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นยกทัพเข้ายึดครองพม่าซึ่งในขณะนั้นเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ช่วงเวลาดังกล่าวในพม่า เป็นช่วงเวลาที่เกิดความรุนแรงขึ้นระหว่างกลุ่มที่จงรักภักดีกับอังกฤษและกลุ่มชาตินิยมพม่า[1] กองทัพอังกฤษมีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้งระหว่างชาวยะไข่ที่นับถือศาสนาพุทธกับชาวโรฮีนจาที่เป็นมุสลิม กองทัพอังกฤษได้ติดอาวุธให้ชาวโรฮีนจาในภาคเหนือของรัฐยะไข่เพื่อสร้างเขตกันชนหลังจากที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองพม่า[2]

ความรุนแรงระหว่างชุมชน

จากเอกสารของเอ ชาน นักประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคันดะ กล่าวว่า ฝ่ายโรฮีนจาพยายามที่จะทำลายหมู่บ้านของชาวยะไข่ แทนที่จะสู้รบกับญี่ปุ่น [3] ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2485 มุสลิมประมาณ 5,000 คนในเมืองมินเบีย ถูกฆ่าโดยชาวยะไข่ชาตินิยมและกะเรนนี ชาวโรฮีนจามุสลิมจากทางเหนือของยะไข่ฆ่าชาวยะไข่ไปประมาณ 20,000 คน[4]

บทบาทของกองทัพญี่ปุ่น

ทหารญี่ปุ่นที่เข้ามาในยะไข่ ได้ข่มขืน ฆ่า และทรมานชาวโรฮีนจากว่าพันคน[5] ในช่วงนี้ เชื่อว่าชาวโรฮีนจาประมาณ 22,000 คนข้ามแดนกลับไปยังเบงกอล ที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของบริติชอินเดีย เพื่อหนีความรุนแรง [6][7] ชาวโรฮีนจาประมาณ 40,000 คนอพยพไปยังจิตตะกองหลังจากที่รอดจากการสังหารหมู่ของชาวพม่าและทหารญี่ปุ่น[8]

อ้างอิง

  1. Field-Marshal Viscount William Slim (2009). Defeat Into Victory: Battling Japan in Burma and India, 1942–1945. London: Pan. ISBN 0330509977.
  2. Field-Marshal Viscount William Slim (2009). Defeat Into Victory: Battling Japan in Burma and India, 1942–1945. London: Pan. ISBN 0330509977.
  3. Chan (Kanda University of International Studies), Aye (Autumn 2005). "The Development of a Muslim Enclave in Arakan (Rakhine) State of Burma (Myanmar)" (PDF). SOAS Bulletin of Burma Research. 3 (2): 396–420. ISSN 1479-8484. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-07-12. สืบค้นเมื่อ 3 July 2013. {{cite journal}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  4. Kyaw Zan Tha, MA (July 2008). "Background of Rohingya Problem": 1. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  5. Kurt Jonassohn (1999). Genocide and gross human rights violations: in comparative perspective. Transaction Publishers. p. 263. ISBN 0765804174. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  6. Howard Adelman (2008). Protracted displacement in Asia: no place to call home. Ashgate Publishing, Ltd. p. 86. ISBN 0754672387. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  7. Human Rights Watch (Organization) (2000). Burma/Bangladesh: Burmese refugees in Bangladesh: still no durable solution. Human Rights Watch. p. 6. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  8. Asian profile, Volume 21. Asian Research Service. 1993. p. 312. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya