ตุ๊ดตู่
ตุ๊ดตู่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Varanus dumerilii) เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งในวงศ์เหี้ย (Varanidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายเหี้ย (V. salvator) ซึ่งเป็นสัตว์ในวงศ์เดียวกัน เมื่อเล็กตั้งแต่ปลายปากถึงคอจะมีสีส้มหรือสีแดงเข้ม เมื่อโตสีจะจางลง มีขีดสีดำตั้งแต่ขอบตาถึงคอ ลำตัวมีขวั้นสีเหลืองตั้งแต่คอถึงปลายหาง เป็นสัตว์ที่มีความเชื่องช้า ไม่ค่อยออกไปหากินไกลจากที่อาศัย เมื่อหิวจึงจะออกหากิน แล้วก็กลับเข้าหลับนอนตามเดิม การวางไข่ วางไข่ครั้งละ 23 ฟอง ระยะฟักไข่ 203–230 วัน ถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่เล็กที่สุดในวงศ์นี้ที่พบในประเทศไทย เป็นสัตว์ไม่มีพิษ โดยเต็มที่จะมีขนาด 50–125 เซนติเมตรเท่านั้น โดยชื่อสามัญในภาษาอังกฤษและชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งขึ้นเป็นเกียรติแก่ อองเดรย์ มารี คอนสแตนต์ ดูเมรีล นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวฝรั่งเศส[2] เป็นสัตว์ขี้อาย มักอาศัยอยู่ในโพรงไม้ จนมีเอ่ยถึงในบทสร้อยสุภาษิตว่า
ในประเทศไทยจะพบตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีไปจนถึงคอคอดกระในภาคใต้ และพบไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซีย[1][4] อาศัยอยู่ในป่าที่มีความชื้นสูง[5]หรือป่าชายเลน[6] กินอาหารโดยเฉพาะ ปู เป็นพิเศษ[4][7] และก็สามารถกินสัตว์อย่างอื่น เช่น หอย, แมลง, ปลา, กบ และสัตว์ฟันแทะขนาดเล็ก[6] โดยรวมแล้วเป็นสัตว์ที่มีข้อมูลทางวิชาการน้อยมากเมื่อเทียบกับสัตว์ชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน[8] โดยจำแนกออกเป็น 2 ชนิดย่อย[9] [10][11] (ดูในตาราง โดยนักวิทยาศาสตร์บางท่านจัดให้ชนิด V. d. heteropholis เป็นชื่อพ้องของ V. d. dumerilii[12]) สถานะทางกฎหมายในประเทศไทยเป็นสัตว์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535[13] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ตุ๊ดตู่ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Varanus dumerilii ที่วิกิสปีชีส์ |