Share to:

 

ภาษาคือภาษาย่อยที่มีทัพบกและทัพเรือ

ภาษาคือภาษาย่อยที่มีทัพบกและทัพเรือ (อังกฤษ: a language is a dialect with an army and a navy) เป็นสำนวนหนึ่ง[1][2][3] ที่กล่าวถึงการตัดสินโดยอำเภอใจ[4]ว่าอะไรคือภาษาและอะไรคือภาษาย่อยหรือภาษาถิ่น สำนวนนี้กล่าวว่า สถานภาพทางการเมืองและสังคม[5]มักมีอิทธิพลต่อมุมมองของผู้คนว่า ภาษาที่ใช้ในสังคมนั้นควรจัดเป็นภาษาถิ่นหรือไม่ นักวิชาการทางด้านภาษายิดดิชและนักภาษาศาสตร์เชิงสังคม แมกซ์ ไวน์ไรค์ (Max Weinreich) เป็นผู้ที่ทำให้สำนวนนี้เป็นที่รู้จักในโลกภาษาศาสตร์ ซึ่งเป็นสำนวนที่แนะนำโดยลูกศิษย์ของแมกซ์ ไวน์ไรค์

ความหมาย

ในสำนวน "ภาษาคือภาษาย่อยที่มีทัพบกและทัพเรือ" นั้น คำว่า "กองทัพ" เปรียบเทียบกับผู้ที่มีอำนาจปกครองประเทศหนึ่งอยู่ (ผู้ใดมีกองทัพผู้นั้นมีอำนาจ) ฉะนั้นผู้ที่มีกองทัพก็เป็นผู้ที่สามารถกำหนดได้ว่าอะไรคือภาษาอะไรคือภาษาถิ่น อาทิ ในประเทศไทย รัฐบาลไทยกำหนดว่า ภาษาประจำชาติคือ ภาษาไทยมาตรฐาน แต่ภาษาอื่น ๆ ที่พูดในประเทศถือเป็นภาษาถิ่น เป็นต้น ในขณะเดียวกันบ้างก็ถือว่าภาษาไทยถิ่นอีสานเป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาไทย (a dialect of Thai) แต่บ้างก็ถือว่าเป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาลาว (a dialect of Lao)

ในสแกนดิเนเวีย

ในสแกนดิเนเวีย ผู้พูดภาษานอร์เวย์ ผู้พูดภาษาเดนมาร์ก และ ผู้พูดภาษาสวีเดน สามารถสื่อภาษาของตัวเองกับผู้พูดที่มาจากนอร์เวย์ เดนมาร์ก และ สวีเดน กันได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม แต่ละรัฐก็ไม่ถือว่าภาษาของตนเองเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน รัฐบาลในสามประเทศนี้ไม่กำหนดว่าภาษาตนเองเป็น ภาษาสแกนดิเนเวียถิ่นนอร์เวย์ ภาษาสแกนดิเนเวียถิ่นเดนมาร์ก และภาษาสแกนดิเนเวียถิ่นสวีเดน เป็นต้น

ในเอเชียใต้

ในประเทศอินเดีย และ ประเทศปากีสถาน ผู้พูดภาษาฮินดี กับ ผู้พูดภาษาอูรดู สามารถใช้ภาษาแม่ของตนเองสื่อสารและเข้าใจกันได้เป็นอย่างดี แต่รัฐบาลของสองประเทศไม่ถือว่าทั้งสองภาษานั้นเป็นภาษาเดียวกัน หรือว่าเป็นภาษาเดียวกันที่ใช้ในต่างท้องถิ่น แต่กลับถือว่าสองภาษานี้เป็นภาษาที่แยกกัน โดยภาษาฮินดีเป็นภาษาที่พูดโดยชาวฮินดู และ ภาษาอูรดูโดยชาวมุสลิม

ในประเทศจีน

ในประเทศจีน ภาษาจีนกลาง ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาจีนกวางตุ้ง ภาษาจีนเซี่ยงไฮ้ ฯลฯ เป็นภาษาที่ผู้พูดมิสามารถฟังเข้าใจกันได้เลย แต่รัฐบาลจีนถือว่าภาษาเหล่านี้เป็นภาษาเดียวกันเพียงแต่ใช้ในต่างท้องถิ่น

อ้างอิง

  1. Victor H. Mair, The Columbia History of Chinese Literature, p. 24 full text: "It has often been facetiously remarked... the falsity of this quip can be demonstrated..."
  2. Henry Hitchings, The Language Wars: A History of Proper English, p. 20 full text: "There's an old joke that..."
  3. S. Mchombo, "Nyanja" in Keith Brown, Sarah Ogilvie, eds., Concise encyclopedia of languages of the world, p. 793 full text: "A recurrent joke in linguistics courses ... is the quip that ..."
  4. Timothy B. Weston, Lionel M. Jensen, China beyond the headlines, p. 85 full text: "Weinreich...pointing out the arbitrary division between [dialect and language]"
  5. Thomas Barfield, The Dictionary of Anthropology, s.v. 'sociolinguistics' full text: "Fundamental notions such as 'language' and 'dialect' are primarily social, not linguistic, constructs, because they depend on society in crucial ways."

อ่านเพิ่ม

  • John Earl Joseph (2004). Language and identity: national, ethnic, religious. Palgrave Macmillan. ISBN 978-0-333-99752-9.
  • John Edwards (2009). Language and identity: an introduction. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-69602-9.
  • Robert McColl Millar (2005). Language, nation and power: an introduction. Palgrave Macmillan. ISBN 978-1-4039-3971-5.
Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 
Kembali kehalaman sebelumnya