วิตามินเอ เป็นวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน[1] มีส่วนประกอบสำคัญของคอร์เนีย และยังมีผลต่อการเจริญเติบโต การสร้างกระดูก และระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้ ยังป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ ทำให้ผิวและผมแข็งแรง
ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน
วิตามินเอ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
- อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา
- กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า Carotene เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมากในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม
ประโยชน์
ช่วยในการมองเห็นในที่มืดและป้องกันการแพ้แสงต่างๆที่เป็นผลเสียต่อสายตาอีกด้วย
แหล่งวิตามินเอ
ผักผลไม้ที่ให้วิตามินเอส่วนใหญ่จะมีสีเหลือง ส้ม แดง และเขียวเข้ม เพราะมีเบต้าแคโรทีนและแคโรนอยด์ที่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอต่อไป เนื่องด้วยวิตามินเอในผักผลไม้มีความไวต่อออกซิเจนมาก ดังนั้นวิธีการต้มที่ป้องกันการสูญเสียวิตามินได้ดีทีสุดคือ ควรปิดฝาภาชนะขณะต้มและใส่น้ำน้อยๆ
ร่ายกายต้องการวิตามินเอในแต่ละวันอยู่ที่วันละ 4,000-5,000 IU
แหล่งวิตามินในธรรมชาติ |
จำนวน |
ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
|
ผักตำลึง |
น้ำหนัก 100 กรัม |
18,608 IU
|
ยอดชะอม |
น้ำหนัก 100 กรัม |
10,066 IU
|
คะน้า |
น้ำหนัก 100 กรัม |
9,300 IU
|
แครอท |
น้ำหนัก 100 กรัม |
9,000 IU
|
ยอดกระถิน |
น้ำหนัก 100 กรัม |
7,883 IU
|
ผักโขม |
น้ำหนัก 100 กรัม |
7,200 IU
|
ฟักทอง |
น้ำหนัก 100 กรัม |
6,300 IU
|
มะม่วงสุก |
1 ผล(โดยเฉลี่ย) |
4,000 IU
|
บรอกโคลี |
1 หัว(โดยเฉลี่ย) |
3,150 IU
|
แคนตาลูบ |
น้ำหนัก 100 กรัม |
3,060 IU
|
แตงกวา |
1 กิโลกรัม |
1,750 IU
|
ผักกาดขาว |
น้ำหนัก 100 กรัม |
1,700 IU
|
มะละกอสุก |
1 ชิ้นยาว(โดยเฉลี่ย) |
1,500 IU
|
หน่อไม้ฝรั่ง |
น้ำหนัก 100 กรัม |
810 IU
|
มะเขือเทศ |
น้ำหนัก 100 กรัม |
800 IU
|
พริกหวาน |
1 เม็ด(โดยเฉลี่ย) |
500-700 IU
|
แตงโม |
1 ชิ้นใหญ่ |
700-1,000 IU
|
กระเจี๊ยบเขียว |
น้ำหนัก 100 กรัม |
470 IU
|
อันตรายจากการขาดวิตามินเอ
- โรคผิวหนัง เนื่องจากวิตามินเอมีส่วนสำคัญในการรักษาสภาพเยื่อบุผิวหนัง ขาดวิตามินเอทำให้ผิวพรรณขาดความชุ่มชื้น หยาบกร้าน แห้งแตก โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณข้อศอก ตาตุ่มและข้อต่อต่างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคผิวหนัง เช่น สิวและโรคติดเชื้ออื่นๆ ได้
- ตาฟาง หน้าที่ของวิตามินเอคือช่วยในการสร้างสารที่ใช้ในการมองเห็น หากขาดจะทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืนหรือในที่แสงสว่างน้อย และทำให้เยื่อบุตาแห้ง กระจกตาเป็นแผล ในกรณีที่ร่างกายขาดวิตามินเออย่างรุนแรงอาจทำให้ตาบอดได้
- ความต้านทานโรคต่ำ วิตามินเอเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราทำงานตามปกติ การขาดวิตามินเอจึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูก ช่องปาก คอ และที่ต่อมน้ำลาย
อันตรายจากการได้รับวิตามินเอเกินขนาด
- แท้งลูกหรือพิการ หญิงมีครรภ์ที่ได้รับวิตามินเอมากเกินไปมีความเสี่ยงต่อภาวะทารกในครรภ์คลอดออกมาพิการหรือแท้งได้ เนื่องจากวิตามินเอมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้เด็กมีความผิดปกติที่ทางเดินปัสสาวะ กระดูกผิดรูป หรือมีติ่งปูดออกมาที่บริเวณหู
- อ่อนเพลีย หากร่างกายได้รับวิตามินเอเกินครั้งละ 15,000 ไมโครกรัม จะมีผลทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและอาเจียนได้
- เจ็บกระดูกและข้อต่อ เบื่ออาหาร เซื่องซึม นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ผมร่วง ปวดศีรษะ ท้องผูก ทั้งหมดนี้เป็นโทษในระยะยาวที่เกิดจากการรับประทานวิตามินเอมากเกินไป
- ในสัตว์กระเพาะเดี่ยวเมื่อได้รับเกินความต้องการ 4-10 เท่า จะทำให้โครงกระดูกผิดปกติ
- ในสัตว์เคี้ยวเอื้องเมื่อได้รับเกิน 30 เท่า จะเกิดอาการผิดปกติ
อ้างอิง
- นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม 2550
|
---|
ละลายในไขมัน | เอ | |
---|
ดี | ดี2 ( Ergosterol, Ergocalciferol) ดี3 ( 7-Dehydrocholesterol, Previtamin D3, Cholecalciferol, 25-hydroxycholecalciferol, Calcitriol (1,25-dihydroxycholecalciferol), Calcitroic acid) ดี4 ( Dihydroergocalciferol) · ดี5 · คล้ายดี ( Dihydrotachysterol, Calcipotriol, Tacalcitol, Paricalcitol) |
---|
อี | |
---|
เค | |
---|
|
---|
ละลายในน้ำ | บี | บี1 ( ไทอามีน) · บี2 ( ไรโบเฟลวิน) · บี3 ( ไนอาซิน, นิโคตินาไมด์) บี5 ( กรดแพนโทเทนิก, เดกซ์แพนทีนอล, แพนเททีน) · บี6 ( ไพริดอกซีน, ไพริดอกซาลฟอสเฟต, ไพริดอกซามีน) บี7 ( ไบโอติน) · บี9 ( กรดโฟลิก, กรดไดไฮโดรโฟลิก, กรดโฟลินิก) บี12 ( Cyanocobalamin, Hydroxocobalamin, Methylcobalamin, Cobamamide) · โคลีน |
---|
ซี | |
---|
|
---|
ผสม | |
---|