สรรเสริญ สมะลาภา
สรรเสริญ สมะลาภา เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์) รองหัวหน้าตามภารกิจ พรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลพื้นที่กรุงเทพมหานคร อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคารของไทย ถือเป็นหนึ่งในทีมเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์ ขณะเป็นพรรคฝ่ายค้าน ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สมัยแรก ประวัติสรรเสริญ สมะลาภา หรือ ดร.สรรเสริญ สมะลาภา เกิดวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 (ชื่อเล่น: ต๋อย) เป็นบุตรชายของนายประเสริฐ สมะลาภา อดีตปลัดกรุงเทพมหานคร และนางสุนันทา สมะลาภา[2] โดยตระกูลสมะลาภานั้นมีรากฐานดั้งเดิมมาจากจังหวัดระยอง[3] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรีพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาบัญชีต้นทุน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโท เศรษฐศาสตร์ สาขานโยบายการเงินการคลัง มหาวิทยาลัยแคลร์มอนท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก เศรษฐศาสตร์ สาขานโยบายการเงินและการพัฒนาเศรษฐกิจเอเซีย จากมหาวิทยาลัยแคลร์มอนท์[4] การทำงานสรรเสริญ สมะลาภา เคยเป็นผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านเศรษฐกิจของ ธนาคารโลก (WORLD BANK) ประจำกระทรวงการคลัง (พ.ศ. 2541-2543) ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 จึงมาเป็นอาจารย์พิเศษ ภาควิชาการธนาคารและการเงิน หลักสูตรปริญญาโท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ดร.สรรเสริญ สมะลาภา ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์[5] และในปี พ.ศ. 2547 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 ดร.สรรเสริญ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ในเขต 3 กรุงเทพมหานคร อันประกอบด้วย เขตห้วยขวาง เขตดินแดง และเขตพญาไท โดยร่วมทีมกับ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และ นายธนา ชีรวินิจ โดยสามารถชนะการเลือกตั้งแบบยกทีม ภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช พรรคประชาธิปัตย์ที่มีสถานะเป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ ดร.สรรเสริญ สมะลาภา ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเงา[6] นายสรรเสริญ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย ได้แก่ ผลงานที่สำคัญ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|