เศรษฐศาสตร์อิสลามระบบเศรษฐศาสตร์อิสลาม คือ ศาสตร์ที่ประมวลหลักการและกฎเกณฑ์ต่างๆ โดยรวมของ อิสลาม เอาไว้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการจัดระบบฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความยุติธรรมแก่สังคม ทั้งนี้มนุษย์จะได้พบกับความผาสุกและไปถึงยังสังคมในอุดมคติที่บรรดาศาสดาและบรรดาอิมามแห่งพระผู้เป็นเจ้าเพียรพยายามให้บรรลุถึงเป้าหมายนั้น เรื่อง เศรษฐศาสตร์ เป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่สุดของมนุษยชาติ และอิสลามก็มีมุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ โดยทั่วไปแล้วคำว่า "เศรษฐศาสตร์อิสลาม" จะถูกใช้ประโยชน์ไปในกรณีต่างๆที่หลากหลายออกไป เช่น "วิชาเศรษฐศาสตร์อิสลาม" "สำนักคิดเศรษฐศาสตร์อิสลาม" "ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลาม" เกี่ยวกับ "วิชาเศรษฐศาสตร์อิสลาม" นั้นมีประเด็นละเอียดอ่อนที่ต้องระมัดระวัง หากไม่คำนึงถึงบทเบื้องต้นและประเด็นต่างๆนั้นแล้ว ก็ไม่สามารถนำเสนอเป้าหมายที่น่าเชื่อถือของคำนี้ได้ เมื่อพูดถึงคำว่า "ศาสตร์" โดยทั่วไปอันเป็นที่รู้กันก็จะอธิบายว่าหมายถึง วิชา หรือ วิทยาศาสตร์ นั่นเอง ซึ่งก็หมายถึงประมวลความรู้ที่ได้รับการยืนยันด้วยวิธีการทดลองที่เกิดขึ้นในยุคเรืองปัญญาในตะวันตก แล้วก็ค่อยๆพัฒนาขึ้นเรื่อยมา วิชาเศรษฐศาสตร์ا หรือ เศรษฐศาสตร์การเมือง ก็ไม่มีข้อยกเว้นสำหรับกฎข้อนี้เช่นกัน ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์อิสลามหรือทุกแนวคิดทางศาสนากับศาสตร์ด้านการทดลองเป็นไปในเชิงการเปรียบเทียบ เพราะเศรษฐศาสตร์ต้องให้คำตอบแก่คำถามที่ว่า ในวิชานี้พูดถึงเรื่องด้านต่างๆที่เกี่ยวกับคุณค่า ด้านจริยธรรมหรือเรื่องที่เกี่ยวกับความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร? หากนักค้นคว้าด้านเศรษฐศาสตร์หรือนักปรัชญาด้านเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า สามารถพบเรื่องต่างๆนี้ได้ในประมวลของเศรษฐศาสตร์หรือเศรษฐศาสตร์การเมือง โดยตรรกะแล้วเขาสามารถเชื่อในการมีอยู่ของเศรษฐศาสตร์อิสลาม อีกด้านหนึ่งหากบุคคลหนึ่งเชื่อว่าไม่มีเรื่องเกี่ยวกับคุณค่าทางจริธรรมอยู่เลยในเศรษฐศาสตร์หรือเศรษฐศาสตร์การเมือง ดังนั้น "เศรษฐศาสตร์อิสลาม"ถือว่าไม่มีความหมายในทัศนะของเขา บนพื้นฐานของการจำแนกดังกล่าวนี้ ชี้ให้เห็นว่ามีทัศนะต่างๆมากมายเกี่ยวกับ วิชาเศรษฐศาสตร์อิสลาม บ้างก็เชื่อว่าระหว่าง "สำนักคิดเศรษฐศาสตร์อิสลาม"กับ"ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลาม"นั้นแยกออกจากกัน ในทัศนะของพวกเขา ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลาม คือการนำเอาหลักการและกฎเกณฑ์ต่างๆมาใช้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วสำนักเศรษฐศาสตร์อิสลามก็ให้ความความสนใจเช่นกัน สามารถให้คำนิยามแก่ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลามตามบันทัดฐานของการให้คำนิยามได้ว่า หมายถึง ศาสตร์ที่ประมวลหลักการและกฎเกณฑ์ต่างๆ โดยรวมของ อิสลาม เอาไว้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการจัดระบบฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความยุติธรรมแก่สังคม ทั้งนี้มนุษย์จะได้พบกับความผาสุกและไปถึงยังสังคมในอุดมคติที่บรรดาศาสดาและบรรดาอิมามแห่งพระผู้เป็นเจ้าเพียรพยายามให้บรรลุถึงเป้าหมายนั้น มุมมองของอิสลามเกี่ยวกับเศรษฐกิจเศรษฐศาสตร์อิสลามนั้นแตกต่างไปจากเศรษฐศาสตร์ของโลกตะวันตก เป็นเศรษฐศาสตร์ที่ย้ำถึงความพอเพียงและหลีกห่างจากการเป็นผู้บริโภคนิยม เศรษฐศาตร์ตะวันตกเชื่อว่าความต้องการของมนุษย์นั้นมีไม่จำกัดแต่ทรัพยากรนั้นมีปริมาณจำกัด แต่อิสลามได้นำเสนอว่าทรัพยากรนั้นมีไม่จำกัด وَإِن تَعُدُّواْ نِعْمَتَ اللّهِ لاَ تُحْصُوهَا
( وَ لَوْ أَنَّ أَهْلَ الْقُری آمَنُوا وَ اتَّقَوْا لَفَتَحْنا عَلَيْهِمْ بَرَكاتٍ مِنَ السَّماءِ وَ الأْرْضِ)
ตำแหน่งของ Islamic เศรษฐศาสตร์ในการอธิบายและวิเคราะห์การเติบโตทางเศรษฐกิจ บรรดาผู้ที่อยู่ในสำนักเศรษฐศาสตร์แบบคลาสสิค แบบนีโอคลาสสิค สำนักจอนห์ เมย์นาร์ด เคนส์ และอื่นๆ ในทำนองนี้ ต่างก็นำเสนอทัศนะต่างๆ อันทรงคุณค่าเฉพาะของตนเกี่ยวกับระบบเศรษฐศาสตร์ เช่น กลุ่มนักเศรษฐศาสตร์คลาสสิค ได้นำเสนอเกี่ยวกับตลาดเสรี กลุ่มนักเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิค นำเสนอเกี่ยวกับการสร้างงาน กลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ชิคาโกนำเสนอเกี่ยวกับทบทของการศึกษา กลุ่ม physiocracy(ธรรมชาตินิยม) นำเสนอเกี่ยวกับการเกษตรกรรม กลุ่มสำนักmercantilism(พานิชย์นิยม) นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องการส่งออกเกินดุล วิธีการหลักของอิสลามในการกระจายความร่ำรวยวิธีการหลักของ อิสลามในการกระจายความร่ำรวย ในขั้นตอนแรก คือ รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรมของสังคม รักษาสิทธิของประชาชน จึงได้แบ่งทรัพย์สินออกเป็น 3 ส่วน (ชาติ ปัจเฉก และรัฐ) โดยมีกฎห้ามหนทางต่างๆตามหลักการศาสนา เช่น ดอกเบี้ย และแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจภายใต้กรอบของกฎหมาย เช่น กฎว่าการทำสัญญาแบบอิสลาม ซึ่งบ้างก็ได้อธิบายกฎต่างๆนี้ไว้ในบทต่างๆเช่น หลักการว่าด้วยเรื่องการลงทุนร่วม (มุฎอรอบะฮ์) หลักการว่าด้วยการเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (มุซารออะฮ์) หลัการว่าด้วยการเหมาจองผลผลิตทางการเกษตร การซื้อขาย การเช่า หลักการว่าด้วยเรื่องการกำหนดรางวัลแก่ผู้ทำงาน(ญุอาละฮ์) การจ่ายทาน (ซะกาต) หลักการว่าด้วยเรื่องการจ่ายเงินคุมส์ และอื่นๆ เศรษฐศาสตร์อิสลามในอิหร่านในปี 1978 อิมามโคมัยนี ประกาศว่า บริษัททั้งหลายของต่างชาติ ได้กุมเศรษฐกิจของอิหร่านเอาไว้ นโยบายต่างๆของ มุฮัมหมัดริฎอชา กำลังทำลายเกษตรกรรมโดยให้การช่วยเหลือแก่ชาวต่างชาติเข้ามาทำธุระกิจในด้านการเกษตรกรรม และท่านได้ประกาศว่าเป้าหมายหลักเกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจของเขาก็คือ การหดตัวและให้อิหร่านต้องขึ้นอยู่กับชาวตะวันตก ซึ่งก็จะทำให้เศรษฐศาตร์ตามสาระธรรมคำสอนของอิสลามต้องถูกทำลายลงไป ก่อนการปฏิวัติ ชะฮีดมุฮัมหมัด บาเก็ร ศ็อดร์ เพียรพยายามที่จะอธิบายระบบเศรษฐกิจอิสลามและสำนักต่างๆ ด้านเศรษฐศาสตร์ หลังการปฏิวัติอิสลามเรื่องการธนาคารเป็นหนึ่งในเรื่องที่นำมาใช้ตามกฎหมายอิสลาม จึงได้มีการอนุมัติและนำกฎหมายการธนาคารที่ปราศจากดอกเบี้ยมาใช้ อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่ถูกนำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจอิสลาม คือเรื่อง อันฟาล(ทรัพย์สินส่วนเฉพาะศาสดาและบรรดาอะอิมมะฮ์)และการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งถูกเน้นไว้รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญเกี่ยวกับเศรษฐกิจอิสลามที่เติบโตมาพร้อมกับการปฏิวัติ คือ เรื่องเสรีภาพและการพึ่งพาตนเอง แม้ว่าในด้านเศรษฐศาสตร์แล้วจะเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกันมากนัก แต่เนื่องด้วยสภาวะของโลกในยุคนั้นและยุคปัจจุบัน อีกทั้งหลักการด้านเศรษฐกิจที่มีอยู่บ้างนั้นต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องเสรีภาพด้านเศรษฐกิจ ทว่าต้องสอดคล้องกับทฤษฎีต่างๆ ด้านเศรษฐศาสตร์ อันเป็นที่รู้จักกันตามที่ประเทศต่างๆได้ดำเนินการในการสนับสนุนอุตสาหกรรมของตนเอง และสามารถแลกเปลี่ยนสินค้าอย่างเสรี ปราศจากการวางเงื่อนไขในตลาดการเงิน การพึ่งพาตนเองและเรื่องเสรีภาพก็จะกลายเป็นเรื่องที่สำคัญ อ้างอิง
|