Share to:

 

กรมควบคุมมลพิษ

กรมควบคุมมลพิษ
Pollution Control Department
ตราสัญลักษณ์
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง4 เมษายน พ.ศ. 2535; 32 ปีก่อน (2535-04-04)
กรมก่อนหน้า
  • สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 7 ซอยพหลโยธิน ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
บุคลากร981 คน (พ.ศ. 2566)[1]
งบประมาณต่อปี848,972,100 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารกรม
  • ปรีญาพร สุวรรณเกษ, อธิบดี
  • กัญชลี นาวิกภูมิ, รองอธิบดี
  • สุทธิพล เอี่ยมประเสริฐกุล, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เว็บไซต์เว็บไซต์ของกรม

กรมควบคุมมลพิษ (อังกฤษ: Pollution Control Department) เป็นหน่วยงานประเภทกรม อยู่ในสังกัดของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ดูแลจัดการ, ควบคุม, ดูแล และรักษาสิ่งแวดล้อมไม่ให้เกิดมลพิษ[3]

บทบาทและภารกิจทั่วไป ซึ่งถือปฏิบัติตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยให้อำนาจคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะกรรมการควบคุมมลพิษ และเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ ในการบังคับใช้มาตรการต่างๆ ตามกฎหมาย เพื่อประโยชน์ในการควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากภาวะมลพิษ ปัจจุบันอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ คือ ปรีญาพร สุวรรณเกษ

ประวัติ

กรมควบคุมมลพิษ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2535 อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518 โดยให้เป็นไปตาม

  • พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2535
  • พระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ไปเป็นของกรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535
  • พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535
  • พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545

หน่วยงานภายใน

กรมควบคุมมลพิษ แบ่งหน่วยงานภายในออกเป็น 25 หน่วยงาน (9 หน่วยงานตั้งอยู่ในส่วนกลาง 16 หน่วยงานตั้งอยู่ในภูมิภาค) ได้แก่

ภารกิจ

  1. เสนอความเห็นเพื่อจัดทำนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านการควบคุมมลพิษ
  2. เสนอแนะการกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด
  3. จัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมและมาตรการในการควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากภาวะมลพิษ
  4. ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและจัดทำรายงานสถานการณ์มลพิษ
  5. พัฒนาระบบ รูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมสำหรับระบบต่างๆเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการ กากของเสีย สารอันตราย คุณภาพน้ำ อากาศ ระดับเสียงและความสั่นสะเทือน
  6. ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการฟื้นฟูหรือระงับเหตุที่อาจเป็นอันตรายจากมลพิษในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนมลพิษและประเมินความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม
  7. ให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการจัดการมลพิษ
  8. ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศในด้านการจัดการมลพิษ
  9. ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องราวร้องทุกข์ด้านมลพิษ
  10. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติด้านการควบคุมมลพิษและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  11. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

อ้างอิง

  1. รายงานประจำปี 2566 กรมควบคุมมลพิษ[ลิงก์เสีย]
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๕๕, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. "กรมควบคุมมลพิษ เกี่ยวกับ คพ". กรมควบคุมมลพิษ. 5 มีนาคม 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-09. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya