กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชDepartment of National Parks, Wildlife and Plant Conservation |
ตรา รุกขเทวดาเครื่องหมายราชการของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช |
ภาพรวมกรม |
---|
ก่อตั้ง | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545; 22 ปีก่อน (2545-10-03) |
---|
ประเภท | ส่วนราชการ |
---|
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
---|
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 |
---|
บุคลากร | 21,809 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
---|
งบประมาณต่อปี | 11,344,699,700 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
---|
ฝ่ายบริหารกรม | - อรรถพล เจริญชันษา, อธิบดี
- นรินทร์ ประทวนชัย, รองอธิบดี
- ทรงเกียรติ ตาตะยานนท์, รองอธิบดี
- วีระ ขุนไชยรักษ์, รองอธิบดี
|
---|
ต้นสังกัดกรม | กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
---|
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของกรม |
---|
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
ประวัติ
ในอดีตภารกิจด้านป่าไม้ ได้แก่ งานปลูกบำรุงป่า งานวนวัฒนวิจัย งานอุทยานแห่งชาติ งานด้านสัตว์ป่า งานต้นน้ำ และงานด้านป้องกันปราบปรามและไฟป่า ขึ้นตรงกับกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (เดิมสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ต่อมาได้มีการเสนอให้แยกงานที่เกี่ยวกับป่าเศรษฐกิจและงานด้านอนุรักษ์และการคุ้มครองป่าไม้ออกจากกัน โดยให้งานทางด้านป่าเศรษฐกิจอยู่กับกรมป่าไม้ ส่วนงานด้านอนุรักษ์และการคุ้มครอง ให้ไปตั้งเป็นกรมขึ้นมาใหม่ และให้สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกระทรวงใหม่
ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา เล่มที่ 119 ตอนที่ 99ก. ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2545 ให้จัดตั้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อำนาจและหน้าที่
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินกิจภารกิจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริมและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชในเขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ โดยการควบคุม ป้องกันพื้นที่ป่าอนุรักษ์เดิมที่มีอยู่ และพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้กลับสมบูรณ์ด้วยกลยุทธ์การส่งเสริม กระตุ้น และปลุก
จิตสำนึกให้ชุมชนมีความหวงแหนและการมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพ สำหรับเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า แหล่งอาหาร แหล่งนันทนาการและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของประชาชน
หน่วยงานในสังกัด
- สํานักบริหารงานกลาง
- สํานักอุทยานแห่งชาติ
- สํานักอนุรักษ์สัตว์ป่า
- สํานักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ
- สํานักป้องกันปราบปรามและควบคุมไฟป่า
- สํานักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์
- สํานักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช
- สํานักแผนงานและสารสนเทศ
- กองนิติกร
- กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา
หน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี)
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง)
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (สุราษฎร์ธานี)
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช)
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (สงขลา)
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา)
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 8 (ขอนแก่น)
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี)
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก)
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์)
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14 (ตาก)
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (เชียงราย)
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่)
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 สาขาสระบุรี
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานี
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง
- สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 สาขาแม่สะเรียง
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น