กรมหม่อนไหมThe Queen Sirikit Department of Sericulture |
ตรากรมหม่อนไหม |
ภาพรวมกรม |
---|
ก่อตั้ง | 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552; 15 ปีก่อน (2552-12-04) |
---|
กรมก่อนหน้า | - สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร
- สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
|
---|
ประเภท | ส่วนราชการ |
---|
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
---|
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 2175 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร |
---|
บุคลากร | 998 คน (พ.ศ. 2565)[1] |
---|
งบประมาณต่อปี | 641,651,300 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
---|
ฝ่ายบริหารกรม | - นวนิตย์ พลเคน, อธิบดี
- วัชรพงษ์ แก้วหอม, รองอธิบดี
- ศรัญญู พูลลาภ, รองอธิบดี
|
---|
ต้นสังกัดกรม | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
---|
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของกรม |
---|
กรมหม่อนไหม เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 เพื่อการอนุรักษ์ส่งเสริมการวิจัย และพัฒนาในเรื่องของหม่อนไหม
ประวัติ
กรมหม่อนไหม เดิมเรียกว่า "กรมช่างไหม" ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2446 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในอดีตให้ความสำคัญเรื่องไหมเป็นอย่างมาก แต่ในระยะต่อมาได้มีการยุบกรมดังกล่าวเข้ารวมเป็นกอง ในสังกัดกรมกสิกรรม จนกระทั่งเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงได้มีการยกฐานะสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในขณะนั้นสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งเป็น "กรมหม่อนไหม" ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในเรื่องของหม่อนไหมและเส้นใยต่างๆ
หน่วยงานในสังกัด
กรมหม่อนไหม แบ่งการบริหารออกเป็นหน่วยงานในส่วนกลาง 4 สำนัก 2 กลุ่ม หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคประกอบด้วยสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 5 สำนัก และ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 21 ศูนย์ ทั่วประเทศ ได้แก่[3]
- สำนักบริหารกลาง
- สำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม
- สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีหม่อนไหม
- กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
- กลุ่มตรวจสอบภายใน
- สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เขต 1 ถึง 5 ได้แก่
- สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 1 จังหวัดแพร่ มีศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เครือข่าย 4 ศูนย์ ได้แก่
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ตาก
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ น่าน
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ แพร่
- สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 2 จังหวัดอุดรธานี มีศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เครือข่าย 4 ศูนย์ ได้แก่
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เลย
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ สกลนคร
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ หนองคาย
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ อุดรธานี
- สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 3 จังหวัดขอนแก่น มีศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เครือข่าย 4 ศูนย์ ได้แก่
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ชัยภูมิ
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ มุกดาหาร
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ร้อยเอ็ด
- สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 4 จังหวัดนครราชสีมา มีศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เครือข่าย 6 ศูนย์ ได้แก่
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ บุรีรัมย์
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ศรีสะเกษ
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ สระบุรี
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ สุรินทร์
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี
- สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 5 จังหวัดชุมพร
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ กาญจนบุรี
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ชุมพร
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ นราธิวาส
ตรานกยูงพระราชทาน
ตรานกยูงพระราชทาน เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย ซึ่งสถาบันวิจัยหม่อนไหม (ชื่อเดิมของกรมหม่อนไหม ขณะนั้นสังกัดกรมวิชาการเกษตร) ร่วมกับคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชีนีนาถ ได้ร่วมกันสัมมนาจนได้มาซึ่งข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองดังกล่าว
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญลักษณ์นกยูงไทย ให้เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผ้าไหมไทย 4 ชนิด ประกอบด้วย นกยูงสีทอง นกยูงสีเงิน นกยูงสีน้ำเงิน และนกยูงสีเขียว[4]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น