กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์
ทันตแพทย์ กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ (เกิด 14 สิงหาคม พ.ศ. 2508) อดีตผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) [1] อดีตผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ [2] (สสส.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 พร้อมกับนั่งเก้าอี้ประธานองค์กรสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ (The International Network of Health Promotion Foundations: INHPF) ในวาระปีพ.ศ. 2553 - 2555 ทั้งนี้ ทพ. กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและผลักดันโครงการและกิจกรรมปลอดเหล้าและบุหรี่ให้เป็นรูปธรรม อาทิโครงการงดเหล้าเข้าพรรษา ซึ่งต่อมาผลสืบเนื่องจากโครงการนี้ ทำให้ต่อมา มีการกำหนดให้วันเข้าพรรษาเป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติในเวลาต่อมา โครงการสวดมนต์ข้ามปี รวมทั้งการรณรงค์ลดการบริโภคน้ำตาลในเด็ก และมาตรการคุ้มครองเด็กและเยาวชนอื่น ๆ จนกระทั่งสร้างความตระหนักด้านสุขภาวะรอบด้านแก่สาธารณชนอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ และในปัจจุบันกำลังขยายกิจกรรมที่เกี่ยวข้องไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ประวัติทพ. กฤษดา เกิดในครอบครัวชาวจีน โดยเป็นบุตรชายคนโตและมีน้อง ๆ อีก 3 คน โดยชื่นชอบด้านวิทยาศาสตร์และใฝ่ฝันอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก มักนำสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านมาทดลองประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ มากมาย แต่เนื่องจากสอบติดคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสียก่อน ซึ่งในเวลาต่อมาก็ยินยอมเรียนต่อจนจบเพื่อทำให้บิดามารดามีความสุข แล้วค่อยมาเรียนต่อปริญญาโทด้านวิทยาศาสตร์ตามความต้องการของตัวเอง โดยจบวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตด้านคอมพิวเตอร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก้าวสู่การเป็นผู้จัดการของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในเดือนมีนาคม 2553 จวบจนปัจจุบัน ด้วยทุ่มเทผลักดันการรณรงค์โครงการและกิจกรรมปลอดเหล้าและบุหรี่อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการลดการบริโภคน้ำตาลในเด็กและมาตรการคุ้มครองเด็กและเยาวชนอื่น ๆ ด้วยวิสัยทัศน์ที่มุ่งหวังให้ "ไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุดในโลก" ทั้งนี้ ทพ. กฤษดา ได้รับเลือกให้เป็นประธานองค์กรสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ (The International Network of Health Promotion Foundations: INHPF)[3] ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553 เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลา 2 ปี คือ พ.ศ. 2553 - 2555 ด้วยผลงานโดดเด่นของ สสส. ในการผลักดันนโยบายด้านสร้างเสริมสุขภาพในประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนกลายเป็นกองทุนสร้างเสริมสุขภาพแรกในเอเชียที่มีรายได้จากค่าธรรมเนียมที่เก็บเพิ่มจากภาษีสรรพสามิตบุหรี่และสุรา สร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์ในเรื่องลดการสูบบุหรี่ และความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจรจนกลายต้นแบบในระดับนานาชาติ ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560 ทพ. กฤษดา ได้ลาออกจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย[4] จากกรณีที่ไทยพีบีเอส เตรียมการซื้อหุ้นกู้ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ซึ่งยังข้อครหาถึงผลกระทบต่อสื่อสาธารณะ ประวัติการศึกษาปี2527 ระดับชั้นมัธยมศึกษา จาก โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ปี 2532 ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2537 วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (Computer Science) จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2552 ประกาศนียบัตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง จาก สถาบันพระปกเกล้า ประสบการณ์ทำงานกรกฎาคม 2553 - ปัจจุบัน ประธานองค์กรสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ (The International Network of Health Promotion Foundations: INHPF)[5] มี.ค. 2553 - ปัจจุบัน ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ [6] [7] (สสส.) ก.พ. 2551 - ก.พ. 2553 รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มี.ค. 2550 - ม.ค. 2551 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง รางวัลและงานวิชาการปี 2538 ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ด้านซอฟต์แวร์ในงานจุฬาไฮเทค จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2542 จัดทำงานวิจัยเรื่อง “Implementation plan of New System of Financial Accounting and Cost Accounting” ให้กับธนาคารโลก ปี 2543 มีนาคม : จัดทำงานวิจัยเรื่อง “Strengthening of Thailand Birth and Mortality Information System” ให้กับองค์การอนามัยโลก สิงหาคม : จัดทำงานวิจัยเรื่อง “Quality Assessment for ICD10 Coding” ให้กับองค์การอนามัยโลก ปี 2544 พฤษภาคม : จัดทำงานวิจัยเรื่อง “The generic protocol for monitoring and evaluation of Health information System” ให้กับองค์การอนามัยโลก ปี 2547 ธันวาคม : ได้รับรางวัล “นักสุขศึกษาดีเด่นแห่งชาติ ระดับนโยบาย” จากสมาคมสุขศึกษาพลศึกษา และนันทนาการแห่งประเทศไทย ประสบการณ์การพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสังคมปี 2546ริเริ่มการรณรงค์ “งดเหล้าเข้าพรรษา” ซึ่งผลสืบเนื่องจากโครงการนี้ ทำให้ต่อมา มีการกำหนดให้วันเข้าพรรษาเป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติในเวลาต่อมา และเสนอมาตรการในการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ระหว่างเวลา 05.00 – 22.00 น. ปี 2547ผลักดันให้เกิดเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เพื่อรณรงค์การลดการบริโภคน้ำตาลในเด็ก และเยาวชน ปี 2550การร่วมผลักดันมาตรการต่างเพื่อคุ้มครองเด็ก และเยาวชน อาทิ
ปี 2551การแก้ปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตและเล่นเกมส์ในเด็ก และเยาวชน อาทิ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|