Share to:

 

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
พื้นที่กระจายเสียงไทย ประเทศไทย
ความถี่ดูในบทความ
สัญลักษณ์วิทยุแห่งประเทศไทย ให้ความรู้ คู่ความสุข
แบบรายการ
ภาษาภาษาไทย
รูปแบบกระจายข้อมูลข่าวสาร เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดี ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน
การเป็นเจ้าของ
เจ้าของกรมประชาสัมพันธ์
ผู้ประกอบธุรกิจชนิสา ชมศิลป์
ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
ประวัติ
เริ่มกระจายเสียง25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 (94 ปี)
ข้อมูลทางเทคนิค
พิกัดสถานีส่ง236 ถนนวิภาวดีรังสิต
แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400 ประเทศไทย
ลิงก์
เว็บไซต์radiothailand.prd.go.th
ตราสัญลักษณ์เดิมของ สวท. ใช้ครั้งสุดท้ายในปี 2548

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: สวท.) เป็นหน่วยงานสถานีวิทยุกระจายเสียงของรัฐบาล มีสถานะเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติของประเทศไทย สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี] โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล

ประวัติวิทยุ

กิจการวิทยุกระจายเสียงของไทย เริ่มต้นมาราว ๆ ปี 2470 ถึง 2472 โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงริเริ่มทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง โดยทรงตั้งชื่อว่า สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท เนื่องจากส่งกระจายเสียงจากพระราชวังพญาไท โดยมอบหมายให้ กองช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลข ดำเนินการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง และดำเนินการกระจายเสียงได้เป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 โดยเป็นกระแสพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในการพระราชพิธีฉัตรมงคล จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง[1]

ต่อมาในปี 2482 คณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีมติให้โอนกิจการวิทยุกระจายเสียง ซึ่งกรมไปรษณีย์โทรเลขดำเนินการอยู่นั้น ไปขึ้นตรงกับ สำนักงานโฆษณาการ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ชื่อใหม่ว่า สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ซึ่งใช้อยู่เพียงเวลาสั้น ๆ ก่อนจะเปลี่ยนอีกครั้งเป็น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อปี 2484 หลังจากมีประกาศรัฐนิยมฉบับที่ 1 เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482

พันธกิจ

  • กระจายเสียงเพื่อสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ของรัฐด้านนโยบาย ข้อมูลข่าวสาร และสะท้อนปัญหาของประชาชนสู่รัฐบาล ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐกับประชาชน
  • สนับสนุน ส่งเสริมการศึกษาและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อประโยชน์ด้านความมั่นคงและส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  • ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย

โครงสร้างการบริหาร

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย บริหารงานตามรูปแบบหน่วยราชการ จัดแบ่งโครงสร้างการบริหารงาน ดังต่อไปนี้

เครือข่ายสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

เครือข่ายฯ ส่วนกลาง

เครือข่ายสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในส่วนกลางครอบคลุม กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบด้วย

  • คลื่น FM มีทั้งหมด 6 ความถี่ ได้แก่
    • เครือข่ายวิทยุฯ ภาคบริการโลก FM 88.00 MHz (สวท. ผลิตรายการเอง ในนาม Radio Thailand English Service FM 88)
    • เครือข่ายวิทยุฯ แห่งชาติ FM 92.50 MHz (สวท. ผลิตรายการเอง)
    • เครือข่ายวิทยุฯ เพื่อความรู้ และสาระบันเทิง FM 93.50 MHz (เอกชนเช่าสัมปทานเฉพาะภาคกลางวัน ในชื่อ Top Radio 93.5 MHz และ สวท. ผลิตรายการเองเฉพาะภาคกลางคืน)
    • เครือข่ายวิทยุฯ เพื่อความรู้ และสาระบันเทิง FM 95.50 MHz (ในอดีต บมจ.บีอีซี-เทโร เรดิโอ ในเครือ บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ เคยเช่าสัมปทาน ในชื่อ HITZ 955[2] >>> ตั้งแต่ เม.ย. 2566 - ปัจจุบัน สวท. ผลิตรายการเอง ในนาม Metro Life 95.5 MHz คลื่นของคนเมือง)
    • เครือข่ายวิทยุฯ สถานีข่าวคุณภาพ FM 97.00 MHz (บมจ.เอ.ซี.เรคคอร์ดส์ เช่าสัมปทาน ในนาม สถานีข่าวคุณภาพ FM 97 QFM Quality News Station)
    • เครือข่ายวิทยุฯ เพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว FM 105.00 MHz (บจก.โอ น้อย ออก และ กลุ่มคนตัว D เช่าสัมปทานเฉพาะภาคกลางวัน ในชื่อ 105 Smile Thailand และ Home Radio ส่วน สวท. ผลิตรายการเองเฉพาะภาคกลางคืนในนาม สถานีวิทยุเพื่อครอบครัว Happy Family Radio FM 105 MHz)
  • คลื่น AM มีทั้งหมด 3 ความถี่ ได้แก่ [3]
    • เครือข่ายวิทยุฯ แห่งชาติ AM 891 kHz
    • เครือข่ายวิทยุฯ เพื่อการถ่ายทอดเสียง AM 819 kHz
    • สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการเรียนรู้และเตือนภัย (ภาคกลาง) AM 1467 kHz (เดิมชื่อ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษา - สวศ.)
  • เครือข่ายวิทยุฯ ภาคบริการโลก (Radio Thailand World Service) คลื่นสั้น (Short Wave) จำนวน 5 ความถี่ ได้แก่[4]
    • 7.475 MHz
    • 9.940 MHz
    • 9.385 MHz
    • 13.750 MHz
    • 17.645 MHz

[5]

เครือข่ายฯ ส่วนภูมิภาค

เครือข่ายสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในส่วนภูมิภาค จะสังกัดสำนักงานประชาสัมพันธ์ของแต่ละเขตที่รับผิดชอบพื้นที่นั้นๆ (ประจำจังหวัด อำเภอ หรือเขตพื้นที่ต่างๆ) โดยมีทั้งหมด 8 เขต รวม 90 สถานี (FM 82 สถานี AM 8 สถานี) โดยมีรายชื่อสถานี ดังนี้[6][7]

สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 1

สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 1 ครอบคลุมพื้นที่บริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีดังนี้:

  • สวท.กาฬสินธุ์ FM 93.00 MHz
  • สวท.ขอนแก่น FM 98.50 และ 99.50 MHz
  • สวท.ชัยภูมิ FM 92.75 MHz
  • สวท.มหาสารคาม FM 106.50 MHz
  • สวท.เลย FM 95.25 MHz
  • สวท.หนองคาย FM 90.50 MHz และ AM 810 KHz
  • สวท.หนองบัวลำภู FM 97.25 MHz
  • สวท.นครราชสีมา FM 105.25 MHz และ AM 729 KHz
  • สวท.ด่านซ้าย AM 909 KHz
  • สวท.บึงกาฬ FM 104.25 MHz
  • สวท.อุดรธานี FM 93.75 MHz

สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 2

สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 2 ครอบคลุมพื้นที่บริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีดังนี้:

  • สวท.นครพนม FM 90.25 MHz และ AM 981 KHz
  • สวท.มุกดาหาร FM 99.25 MHz และ AM 549 KHz
  • สวท.ยโสธร FM 90.00 MHz
  • สวท.ศรีสะเกษ FM 100.25 MHz
  • สวท.สุรินทร์ FM 97.50 และ 93.50 MHz
  • สวท.อุบลราชธานี FM 98.50 MHz และ AM 1341 KHz
  • สวท.บุรีรัมย์ FM 101.75 MHz และ AM 1368 KHz
  • สวท.ร้อยเอ็ด FM 94.00 MHz
  • สวท.อำนาจเจริญ FM 103.25 MHz

สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 3

สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 3 ครอบคลุมพื้นที่บริเวณ ภาคเหนือตอนบน มีดังนี้:

  • สวท.เชียงราย FM 95.75 MHz
  • สวท.เชียงใหม่ FM 98.00 และ 93.25 MHz
  • สวท.น่าน FM 94.75 MHz
  • สวท.แพร่ FM 91.00 MHz
  • สวท.แม่สะเรียง FM 90.50 MHz
  • สวท.ลำพูน FM 95.00 MHz
  • สวท.ฝาง FM 89.25 MHz
  • สวท.พะเยา FM 95.25 MHz
  • สวท.ลำปาง FM 97.00 MHz
  • สวท.แม่ฮ่องสอน FM 104.00 MHz

สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 4

สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 4 ครอบคลุมพื้นที่บริเวณ ภาคเหนือตอนล่าง มีดังนี้:

  • สวท.กำแพงเพชร FM 97.75 MHz
  • สวท.แม่สอด FM 103.75 MHz
  • สวท.พิษณุโลก FM 94.25 MHz และ AM 1026 KHz
  • สวท.สุโขทัย FM 93.75 MHz
  • สวท.ตาก FM 102.00 MHz และ AM 864 KHz
  • สวท.นครสวรรค์ FM 93.25 MHz
  • สวท.เพชรบูรณ์ FM 102.75 MHz
  • สวท.อุตรดิตถ์ FM 96.75 MHz

สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 5

สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 5 ครอบคลุมพื้นที่บริเวณ ภาคใต้ตอนบน มีดังนี้:

  • สวท.กระบี่ FM 98.50 MHz
  • สวท.ชุมพร FM 100.00 MHz
  • สวท.ภูเก็ต FM 96.75 MHz และ AM 1062 KHz
  • สวท.พังงา FM 100.00 MHz
  • สวท.ระนอง FM 107.25 MHz และ AM 783 KHz
  • สวท.สุราษฎร์ธานี FM 95.50 MHz และ 89.75 MHz
  • สวท.นครศรีธรรมราช FM 93.50 MHz
  • สวท.ทุ่งสง FM 97.00 MHz
  • สวท.สมุย FM 96.75 MHz
  • สวท.ตะกั่วป่า FM 90.25 MHz

สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 6

สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 6 ครอบคลุมพื้นที่บริเวณ ภาคใต้ตอนล่าง มีดังนี้:

  • สวท.ตรัง FM 91.50 MHz และ AM 810 KHz
  • สวท.สุไหงโกลก FM 106.50 MHz
  • สวท.พัทลุง FM 98.00 MHz
  • สวท.เบตง FM 93.00 MHz
  • สวท.สงขลา FM 90.50 และ 89.50 MHz และ AM 558 KHz
  • สวท.สตูล FM 95.50 MHz
  • สวท.นราธิวาส FM 98.25 MHz
  • สวท.ปัตตานี FM 101.00 MHz
  • สวท.ยะลา FM 92.00, 94.25 และ 95.00 MHz

สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 7

สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 7 ครอบคลุมพื้นที่บริเวณ ภาคตะวันออก มีดังนี้:

  • สวท.จันทบุรี FM 90.25 MHz AM 1125 KHz
  • สวท.สระแก้ว FM 103.25 MHz
  • สวท.ระยอง FM 91.75 MHz
  • สวท.ตราด FM 92.75 MHz
  • สวท.ชลบุรี FM 99.75 MHz

สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 8

สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 8 ครอบคลุมพื้นที่บริเวณ ภาคตะวันตก มีดังนี้:

  • สวท.กาญจนบุรี AM 558 KHz
  • สวท.เพชรบุรี FM 95.75 MHz
  • สวท.ประจวบคีรีขันธ์ FM 102.25 MHz
  • สวท.สุพรรณบุรี FM 102.25 MHz
  • สวท.ชัยนาท FM 91.75 MHz
  • สวท.สังขละบุรี FM 94.25 MHz
  • สวท.ราชบุรี AM 1593 KHz

อ้างอิง

  1. https://nbt.prd.go.th/about_sub_1/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2/ เก็บถาวร 2020-02-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ความเป็นมา | การให้บริการ - สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
  2. http://www.becteroradio.com/about เก็บถาวร 2020-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เกี่ยวกับเรา - บีอีซี-เทโร เรดิโอ
  3. [1] ใจหาย....สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย แจ้งยุติการออกอากาศ 41 คลื่น ขอนแก่นโดนด้วย
  4. [2] วิทยุดิจิตอล DAB [EP.01] การออกอากาศวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยก่อนจะไปเป็นวิทยุแบบดิจิตอล - บริษัท ไฮ โซลูชั่น อ๊อฟ เทเลวิชั่น เน็ตเวิร์ค จำกัด (สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2564)
  5. [3] ข้อมูลความถี่คลื่นสั้นล่าสุด ธันวาคม 2566
  6. https://broadcast.nbtc.go.th/data/operator/FM.pdf เก็บถาวร 2020-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข้อมูลวิทยุกระจายเสียงระบบ FM - กสทช.
  7. https://puredhamma.com/radiolist/ เก็บถาวร 2020-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ช่องทางการรับฟัง - Pure Dhamma : ธรรมะล้วนๆ

แหล่งข้อมูลอื่น

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya