Share to:

 

กลยุทธ์จักจั่นลอกคราบ

กลยุทธ์จักจั่นลอกคราบ หรือ จินฉานทวอเชี่ยว (อังกฤษ: Slough off the cicada's golden shell; จีนตัวย่อ: 金蝉脱壳; จีนตัวเต็ม: 金蟬脱殼; พินอิน: Jīn chán tuō qiào) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการรักษาไว้ซึ่งตามแบบแผนการจัดแนวรบในรูปแบบเดิม ให้แลดูสง่าและน่าเกรงขาม เป็นการหลอกล่อไม่ให้ศัตรูเกิดความสงสัย ไม่กล้าผลีผลามนำกำลังทหารบุกเข้าโจมตี เมื่อรักษาแนวรบไว้เป็นตั้งมั่นแล้วจึงแสร้งถอยทัพอย่างปกปิด เคลื่อนกำลังทหารให้หลบหลีกไป คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "เลี่ยงเพื่อสลายลวง" โดยคำว่า "เลี่ยง" หมายถึงการหลบหลีก คำว่า "ลวง" หมายถึงการทำให้เกิดความสับสนงงงวย เมื่อรวมกันแล้ว "เลี่ยงเพื่อสลายลวง" หมายความถึงการหลบหลีกโดยมิให้ผู้ใดล่วงรู้ ซึ่งนับว่าเป็นกลยุทธ์ในการถอยทัพโดยไม่เกิดความกระโตกกระตาก เพื่อให้บรรลุยังเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ หรือเป็นการหลีกเลี่ยงความสูญเสียเลือดเนื้อหรือการปะทะที่อาจเกิดขึ้นในกองทัพ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์จักจั่นลอกคราบไปใช้ได้แก่ขงเบ้งที่วางกลอุบายอำพรางการถอยทัพกลับจ๊กก๊กในการบุกวุยก๊กครั้งที่ 5 โดยไม่ให้สุมาอี้ล่วงรู้และนำกำลังทหารติดตามมา[1]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. จินฉานทวอเชี่ยว กลยุทธ์จักจั่นลอกคราบ, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550, หน้า 233, ISBN 978-974-690-595-4
Kembali kehalaman sebelumnya