Share to:

 

กลยุทธ์ผลาญภพ

กองทัพโซเวียตใช้กลยุทธ์ผลาญภพเพื่อต่อต้านการรุกรานของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สอง ค.ศ. 1941
ในสงครามอ่าวเปอร์เซีย ขณะที่ทหารอิรักถอนทัพออกจากคูเวต ก็จุดไฟเผาทำลายบ่อน้ำมันของคูเวตเมื่อปี 1991

กลยุทธ์ผลาญภพ[1] (Scorched earth) เป็นกลยุทธ์ทางทหารเพื่อทำลายทุกสิ่งที่อาจเป็นประโยชน์แก่ข้าศึกระหว่างที่ข้าศึกกำลังรุกหรือถอยทัพจากบริเวณใดบริเวณหนึ่งโดยเฉพาะ[2] ความหมายแต่เดิมแล้วหมายถึงการเผาพืชพันธุ์ทางการเกษตรเพื่อตัดแหล่งผลิตอาหาร ซึ่งคล้ายกับวิธี "Chevauchée" (ปล้นเผา) [3] ที่ใช้กันในสมัยกลาง แต่ในสมัยปัจจุบันไม่จำกัดแต่เพียงการทำลายแหล่งผลิตอาหารเท่านั้น แต่รวมทั้งการทำลายที่หลบภัย การคมนาคม การสื่อสาร อุตสาหกรรม หรือแม้แต่การสังหารผู้คนท้องถิ่น ซึ่งในกรณีหลังสุดถือเป็นข้อห้ามตามพิธีสาร 1 แก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1977

กลยุทธ์ผลาญภพสามารถถูกทำโดยกองทัพผู้รุกรานและกองทัพผู้ถูกรุกราน จักรวรรดิรัสเซียเคยใช้กลยุทธ์นี้บนดินแดนของตนเองเพื่อต่อต้านการรุกรานโดยฝรั่งเศสจนได้รับชัยชนะในปี 1812 และถูกใช้อีกครั้งโดยสหภาพโซเวียตเพื่อต่อต้านการรุกรานโดยเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

กลยุทธ์ผลาญภพมักถูกสับสนกับคำว่า “ถางแล้วเผา” (Slash-and-burn) ซึ่งไม่ใช่กลยุทธ์ทางทหารแต่เป็นกลวิธีเกษตรกรรมหลังสิ้นสุดฤดูกาลเพาะปลูกหนึ่ง ถือเป็นคำที่มีความหมายคาบเกี่ยว

อ้างอิง

Kembali kehalaman sebelumnya