Share to:

 

กล้ามเนื้อแสยะยิ้ม

กล้ามเนื้อแสยะยิ้ม
(Risorius)
กล้ามเนื้อของศีรษะ, ใบหน้า, และคอ
รายละเอียด
จุดยึดแผ่นพังผืดพาโรติด (parotid fascia)
จุดเกาะโมดิโอลัสของปาก (modiolus of mouth)
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงเฟเชียล (facial artery)
ประสาทแขนงแก้ม (buccal branch) ของเส้นประสาทเฟเชียล
การกระทำดึงมุมปากไปทางด้านข้าง, แสยะยิ้ม
ตัวระบุ
ภาษาละตินmusculus risorius
TA98A04.1.03.028
TA22078
FMA46838
ศัพท์ทางกายวิภาคของกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อแสยะยิ้ม หรือ กล้ามเนื้อไรซอเรียส (risorius) มีจุดเกาะต้นจากพังผืดเหนือต่อมพาโรติด และทอดในแนวขวางมาด้านหน้า อยู่ชั้นผิวกว่ากล้ามเนื้อแพลทิสมา (platysma) และเข้าเป็นจุดเกาะปลายที่ผิวหนังบริเวณมุมปาก ใยของกล้ามเนื้อนี้เป็นมัดแคบๆ มีส่วนกว้างที่สุดที่จุดเกาะต้น และมีความหลากหลายมากในขนาดและรูปร่าง

หน้าที่

กล้ามเนื้อไรซอเรียสดึงมุมปากไปทางด้านข้างทำให้แสดงลักษณะแสยะยิ้ม หรืออาการยิ้มแบบไม่เต็มใจ ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องของผิวหนังตา ซึ่งต่างจากการยิ้มอย่างเต็มใจซึ่งจะอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อไซโกมาติคัส เมเจอร์ (zygomaticus major) และกล้ามเนื้อไซโกมาติคัส ไมเนอร์ (zygomaticus minor) และทำให้เกิดรอยย่นรอบดวงตาจากการทำงานของกล้ามเนื้อหลับตา (orbicularis oculi)

เส้นประสาทที่เลี้ยง

กล้ามเนื้อแสยะยิ้มเลี้ยงโดยเส้นประสาทเฟเชียล (CN VII) เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อแสดงสีหน้ามัดอื่นๆ

แหล่งข้อมูลอื่น


Kembali kehalaman sebelumnya