เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (อังกฤษ: Connective tissue) เป็นหนึ่งในเนื้อเยื่อสัตว์พื้นฐานสี่อย่าง (อันได้แก่ เนื้อเยื่อบุผิว เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อประสาท) เนื้อเยื่อนี้มีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ
- มีหน้าที่เกี่ยวกับการค้ำจุนและรักษาโครงสร้าง
- มักจะพัฒนามาจากเมโซเดิร์ม
- แบ่งประเภทตามลักษณะของเนื้อเยื่อที่ไม่มีชีวิต
เลือด กระดูกอ่อน และกระดูก จัดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน แต่เนื่องจากเนื้อเยื่อเหล่านี้มีลักษณะแตกต่างไปจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอื่น ๆ ใน เราจึงเรียกเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เนื้อเยื่อสามประเภทนี้ว่า "เนื้อเยื่อเกี่ยวพันทั่วไป (connective tissue proper) " ในบางครั้งเราอาจแยกเนื้อเยื่อเกี่ยวพันตัวอ่อน (embryonic connective tissue) ออกเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันประเภทที่สาม
การแบ่งประเภทของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันทั่วไป (Connective tissue proper)
- เนื้อเยื่อร่างแห (Areolar (or loose) connective tissue) ช่วยค้ำจุนอวัยวะและเนื้อเยื่อบุผิวให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ประกอบด้วยเส้นใยโปรตีนหลายชนิด เช่น เส้นใยคอลลาเจน และ เส้นใยอีลาสติน นอกจากนั้นเนื้อเยื่อนี้ยังมีบทบาทในการอักเสบ
- เนื้อเยื่อเกี่ยวพันหนาแน่น (Dense connective tissue) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า เนื้อเยื่อเส้นใย (fibrous connective tissue) รวมตัวกันเป็นเอ็น (ligament) และเอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) เส้นใยคอลลาเจนจะเรียงตัวกันหนาแน่นทำให้สามารถทนแรงตึงได้ดี
- เนื้อเยื่อเกี่ยวพันตาข่าย (Reticular connective tissue) เป็นโครงข่ายของเส้นใยเรติคูลาร์ (reticular fibre) (เส้นใยคอลลาเจน ชนิด III) รวมตัวกันเพื่อเป็นโครงให้อวัยวะน้ำเหลือง (lymphoid organ) ยึดเกาะ (เช่น ต่อมน้ำเหลือง (lymph node) , ไขกระดูก (bone marrow) , และม้าม (spleen))
- เนื้อเยื่อไขมัน (Adipose tissue) ประกอบด้วยเซลล์ไขมัน (adipocyte) ทำหน้าที่ป้องกันแรงกระทบกระเทือน เป็นฉนวนกันการสูญเสียความร้อน และช่วยหล่อลื่น (โดยเฉพาะในเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium) และเก็บสะสมพลังงานในรูปไขมัน
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันพิเศษ (Specialized connective tissues)
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันตัวอ่อน (Embryonic connective tissues)
ชนิดของเส้นใย
ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันพบเส้นใยต่างๆ ดังนี้
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
อ้างอิง