กวางแดง (อังกฤษ : Red Deer ) เป็นกวาง ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ตามอนุกรมวิธาน กวางแดงมีถิ่นอาศัยในทวีปยุโรป เทือกเขาคอเคซัส เอเชียน้อย บางส่วนทางตะวันตกของเอเชีย และเอเชียกลาง สามารถพบในเทือกเขาแอตลาส ระหว่างประเทศโมร็อกโก และประเทศตูนิเซีย ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา เป็นกวางเพียงชนิดเดียวที่อาศัยอยู่ในแอฟริกา มีการนำกวางแดงไปยังพื้นที่ส่วนอื่นบนโลก ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย , ประเทศนิวซีแลนด์ และ ประเทศอาร์เจนตินา ในหลายส่วนของโลกกินเนื้อของกวางแดงเป็นอาหาร
กวางแดงเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีกระเพาะ 4 ห้อง กีบเท้าคู่ ตัวผู้สูง 175 - 230 ซม. หนัก 160 - 240 กก. ตัวเมียสูง 160 - 210 ซม. หนัก 120 - 170 กก. จากหลักฐานทางพันธุกรรม แสดงให้เห็นว่ากวางแดง (Cervus elaphus ) แต่เดิมน่าจะเป็นกลุ่มชนิดมากกว่าจะเป็นชนิดเดี่ยว แม้ว่ายังเหลือข้อโต้แย้งที่ว่าเป็นกวางกี่ชนิดที่รวมกลุ่มกัน[ 2] [ 3] บรรพบุรุษของกวางแดงน่าจะมีถิ่นกำเนิดในเอเชียกลางและอาจจะเป็นบรรพบุรุษเดียวกับกวางซีก้า [ 4]
แม้ว่าบางครั้งกวางแดงอาจจะหายากในบางพื้นที่ แต่มันก็ยังห่างไกลจากคำว่าสูญพันธุ์ การนำเข้าไปยังพื้นที่อื่นและผลจากการอนุรักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหราชอาณาจักร ทำให้จำนวนประชากรของกวางแดงเพิ่มขึ้น ขณะที่ในพื้นที่อื่น เช่น แอฟริกาเหนือ ประชากรกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง
อ้างอิง
↑ Lovari, S.; Lorenzini, R.; Masseti, M.; Pereladova, O.; Carden, R.F.; Brook, S.M. & Mattioli, S. (2019) [errata version of 2018 assessment]. "Cervus elaphus " . IUCN Red List of Threatened Species . 2018 : e.T55997072A142404453. doi :10.2305/IUCN.UK.2018-2.RLTS.T55997072A142404453.en . สืบค้นเมื่อ 22 May 2020 .
↑ Pitra, Christian; Fickel, Joerns; Meijaard, Erik; Groves, Colin (2004). "Evolution and phylogeny of old world deer" (PDF) . Molecular Phylogenetics and Evolution . 33 (3): 880–95. doi :10.1016/j.ympev.2004.07.013 . PMID 15522810 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 12 June 2007.
↑ Ludt, Christian J.; Wolf Schroeder; Oswald Rottmann; Ralph Kuehn (2004). "Mitochondrial DNA phylogeography of red deer (Cervus elaphus)" (PDF) . Molecular Phylogenetics and Evolution . Elsevier. 31 (3): 1064–1083. doi :10.1016/j.ympev.2003.10.003 . PMID 15120401 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 27 September 2004. สืบค้นเมื่อ 6 October 2006 .
↑ Geist, Valerius (1998). Deer of the World: Their Evolution, Behavior, and Ecology . Mechanicsburg, Pa: Stackpole Books. ISBN 0-8117-0496-3 .
อ่านเพิ่ม
Cameron, Donald; Fortescue, Hugh Fortescue 3rd, earl; Shand, Alexander Innes (1896) Red Deer: Natural history , London, New York [etc.] : Longmans, Green and co.
Clarke, J. (1866), The naturalist: A treatise on the growth of the horns of the red deer , Barnstaple, A.P. Wood
Jeffries, Richard (1884), Red Deer , London Longmans, Green#B.
Heptner, V. G.; Nasimovich, A. A.; Bannikov, A. G.; Hoffman, R. S. (1988) Mammals of the Soviet Union , Volume I, Washington, D.C. : Smithsonian Institution Libraries and National Science Foundation
Bateson, Patrick, and Elizabeth L. Bradshaw. Physiological effects of hunting red deer (Cervus elaphus) . Proceedings of the Royal Society of London . Series B: Biological Sciences 264.1389 (1997): 1707-1714.[1]
O'Carra, B.; Williams, D.M.; Mercer, B.; Wood, B. (2014). "Evidence of environmental change since the earliest medieval period from the inter-tidal zone of Galway Bay". Ir. Nat. J . 33 : 83–88.
แหล่งข้อมูลอื่น