Share to:

 

กองกำลังพิทักษ์ชายแดน

กองกำลังพิทักษ์ชายแดน
ตราอาร์มของกองกำลังพิทักษ์ชายแดน
ประจำการเมษายน 2552 (2552-04)
ประเทศ พม่า
เหล่า กองทัพบกพม่า
รูปแบบหน่วยยามชายแดน
ทหารราบเบา
บทบาทการควบคุมชายแดน
การปราบปรามการก่อกบฏ
การต่อต้านการข่าวกรอง
ผู้ตรวจการณ์หน้า
การสงครามกองโจร
ข่าวกรองทางบุคคล
การยิงเล็งจำลอง
ความมั่นคงภายใน
การสงครามไม่ตามแบบ
การสงครามในป่า
การสงครามภูเขา
การลาดตระเวน (ยุทธวิธีตรวจตรา)
การตีโฉบฉวย
การลาดตระเวน
ฉากกำบัง
การติดตาม
กำลังรบ8,000 (กะเหรี่ยง กะยีน BGF)
4,000 (กะเหรี่ยง กะยัน BGF)
5,000 (กะเหรี่ยงปะโอ BGF)
2,000 (กะชีน KDA+NDA-K)
1,000 (โกก้าง BGF)
= 20,000 (รวม)
ขึ้นกับกองทัพพม่า
สมญาBGF
ผู้บังคับบัญชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพลเอก เมียะ ทุน อู
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดพม่าพลเอกอาวุโส มี่นอองไลง์
กองบัญชาการทหารภูมิภาคพลเอกอีกหลายนาย รวมทั้ง ซอ จิต ทู
เครื่องหมายสังกัด
ธงกองกำลังพิทักษ์ชายแดน

กองกำลังพิทักษ์ชายแดน[1] (อังกฤษ: Border Guard Force: BGF พม่า: နယ်ခြားစောင့်တပ်) เป็นหน่วยรองของกองทัพพม่า (Tatmadaw) ซึ่งประกอบด้วยอดีตกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในประเทศพม่าภายใต้การบังคับการของกองบัญชาการภูมิภาคทหาร รัฐบาลได้ประกาศแผนการจัดตั้งกองกำลังพิทักษ์ชายแดนในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 ด้วยความหวังว่าจะยุติความเป็นปรปักษ์กันระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบและนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2553

ประวัติ

ในปี พ.ศ. 2551 รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดให้กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบต้องเปลี่ยนผ่านเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF) ก่อนที่รัฐบาลจะตกลงเข้าร่วมการเจรจาสันติภาพ[2] หลังจากรัฐบาลประกาศเรื่องกองกำลังพิทักษ์ชายแดนแล้ว รัฐบาลได้กำหนดเส้นตายสำหรับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบทุกกลุ่มในการเปลี่ยนผ่านเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดนและข้อตกลงหยุดยิงทั้งหมด ก่อนที่เส้นตายจะมีสถานะเป็น "โมฆะ" ซึ่งเดิมรัฐบาลได้กำหนดเส้นตายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 แต่เลื่อนออกไปห้าครั้งจนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2553[3][4]

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 พลโท เย ไมนต์ ได้นำคณะผู้ติดตามของรัฐบาลไปพบกับกลุ่มก่อความไม่สงบโกก้าง, ฉาน และว้า เพื่อหารือเกี่ยวกับแผนการสร้าง "ความมั่นคงโดยรวม" ที่ก่อตั้งโดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ และอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกองทัพพม่า ซึ่งในที่สุดจะนำไปสู่การก่อตั้งกองกำลังพิทักษ์ชายแดน[5] ในปี พ.ศ. 2552 กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ 4 กลุ่ม ได้แก่ กองทัพกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย, กองทัพป้องกันกะชีน (กองพลน้อยที่ 4 ของกองทัพเอกราชกะชีน KIA), กองทัพประชาธิปไตยใหม่ - กะชีน (NDA-K) และองค์กร/กองทัพแห่งชาติปะโอ (PNO/A) ได้ยอมรับข้อกำหนดของแผนการเปลี่ยนผ่านและเปลี่ยนไปเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF)[6]

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ทหารพม่าและกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF) ที่เพิ่งเปลี่ยนผ่านได้รวมตัวกันนอกเมืองเล่าไก่, โกก้าง เพื่อเตรียมความพร้อมและพยายามที่จะยึดเมืองคืนจากกองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) หลังจากที่กลุ่มดังกล่าวปฏิเสธที่จะแปรสภาพเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน[7][8]

รัฐบาลเปลี่ยนจุดยืนเชิงรุกต่อกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF) และการหยุดยิงเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เมื่อประธานาธิบดีเต้นเซนของพม่าในขณะนั้นให้คำมั่นที่จะ "ทำให้ประเด็นทางชาติพันธุ์เป็นเรื่องสำคัญระดับชาติ" โดยเสนอการเจรจาอย่างเปิดเผยระหว่างรัฐบาลและกลุ่มก่อความไม่สงบทั้งหมด โดยไม่มีข้อกำหนดของการแปรสภาพเป็นกองกำลังพิทักษชายแดน[3]

ในปี พ.ศ. 2553 ผู้มีอำนาจบัญชาการของกองทัพกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย (DKBA) ซอ จิต ทู ยอมรับข้อเรียกร้องของรัฐบาลพม่าที่จะเปลี่ยนกองกำลังตนเองเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน ภายใต้การบัญชาการของกองทัพพม่าและตนทำหน้าที่เป็นผู้นำหน่วย[9]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 กองทัพพม่ากดดัน ซอ จิต ทู และเจ้าหน้าที่ระดับสูงอื่น ๆ รวมถึง พันตรี ซอ เมา ทอน และ พันตรี ซอว์ ติน วิน ให้ลาออกจากกองกำลังพิทักษ์ชายแดน พันตรี ซอ เมา ทอน แห่งกองพันกองกำลังพิทักษ์ชายแดนที่ 1022 ได้ลาออกเมื่อวันที่ 8 มกราคม พร้อมด้วยผู้บังคับบัญชาจำนวน 13 นาย นายทหาร 77 นาย และกำลังจำนวนกองพัน 13 กองพัน จาก 4 กรมทหารได้ลงนามร่วมกันและยื่นใบลาออก[10] ท่ามกลางความขัดแย้งและใต้แรงกดดัน สมาชิกกองกำลังพิทักษ์ชายแดนอย่างน้อย 7,000 นาย ลาออกเพื่อประท้วงการขับไล่ผู้นำระดับสูงของตน อย่างไรก็ตาม ซอ ปฏิเสธที่จะเกษียณ[11]

เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2567 ซอ จิต ทู กล่าวกับสื่อว่าเขาได้หารือกับรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด โซ วิน ว่า กองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF) ไม่ประสงค์ที่จะรับเงินและสิ่งของจากกองทัพ พวกเขาตั้งเป้าที่จะยืนหยัดอย่างอิสระ และเขายังอ้างว่าพวกเขาไม่ต้องการต่อสู้กับเพื่อนชาวกะเหรี่ยง[12][13] เมื่อวันที่ 6 มีนาคม กองกำลังพิทักษ์ชายแดนกะเหรี่ยง (Karen BGF) ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อกองกำลังของตนเองเป็น "กองทัพแห่งชาติกะเหรี่ยง" ในช่วงปลายเดือน[14]

โครงสร้าง

ไม่มีแนวปฏิบัติอย่างเป็นทางการของรัฐบาลเกี่ยวกับกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF) แต่มีการระบุในรัฐธรรมนูญของพม่าที่อ้างอิงถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกองกำลังพิทักษ์ชายแดน ข้อความต่อไปนี้เป็นกฎโดยพฤตินัยที่กำหนดโดยกองทัพพม่าเมื่อมีการจัดตั้งกองกำลังพิทักษ์ชายแดน:[3][5]

  • กองกำลังพิทักษ์ชายแดนสามารถปฏิบัติการได้เฉพาะในพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลเท่านั้น
  • สมาชิกของกองกำลังพิทักษ์ชายแดนทุกนายจะได้รับเงินเดือนเท่ากันกับทหารประจำการในกองทัพพม่า
  • กองกำลังพิทักษ์ชายแดนแต่ละแห่งจะต้องมีกำลังพล 326 นาย โดย 30 นายในจำนวนนี้จะเป็นทหารประจำการในกองทัพพม่า
  • ตำแหน่งทางการบริหารที่สำคัญจะแต่งตั้งและดำรงตำแหน่งโดยทหารพม่าเท่านั้น

รายชื่อกองกำลังพิทักษ์ชายแดน

กองกำลังพิทักษ์ชายแดนในปัจจุบัน

ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปตามที่ระบุในมูลนิธิเอเชีย[15]

ชื่อกลุ่ม ปีก่อนเปลี่ยนผ่าน วันที่เปลี่ยนผ่าน กองบัญชาการ อำเภอ หมายเลขหน่วย หมายเหตุ
กองทัพประชาธิปไตยใหม่ - กะชีน (NDA-K) พ.ศ. 2532-2552 8 พฤศจิกายน 2552 ปังวอ 1001-1003 มีต้นกำเนิดมาจากกลุ่มคอมมิวนิสต์ขององค์การเอกราชกะชีน
กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) (ฝ่าย BGF) พ.ศ. 2532-2552 4 ธันวาคม 2552 เล่าไก่ 1006 มีต้นกำเนิดมาจากการกบฏต่อ MNDAA หลังเหตุการณ์โกก้างเมื่อปี 2552
กองทัพป้องกันกะชีน (KDA) พ.ศ. 2533-2553 มกราคม 2553 กวางก้า M12-M19 มีต้นกำเนิดมาจากกองพลน้อยที่ 4 แห่งกองทัพเอกราชกะชีน
กองทัพกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย (DKBA) พ.ศ. 2537-2553 18-21 สิงหาคม 2553 เมียวดี 1011-1022
  • มีต้นกำเนิดมาจากทหารพุทธที่แยกตัวออกจาก กองทัพปลดปล่อยชาติกะเหรี่ยง
  • กองพลน้อยที่ 5 แยกตัวออกในปี 2553
  • ห่างเหินจากรัฐบาลทหารตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2567 โดยผู้นำ พันเอก ซอ จิต ทู ประกาศว่า BGF จะปฏิเสธที่จะสู้รบ ปฏิเสธเงินเดือนของรัฐบาลทหาร และเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น "กองทัพแห่งชาติกะเหรี่ยง"[16][17]
แนวร่วมประชาธิปไตยลาหู่/กองกำลังประชาธิปไตยลาหู่ พ.ศ. ?-2553 30 มีนาคม 2553/18 พฤษภาคม 2553 เมืองต่วน 1007-1009 BGF-1008 ประกอบกำลังจากกองกำลังติดอาวุธ Jakuni ร่วมกับ LDF
กองกำลังสันติภาพกะเหรี่ยง (KPF)[18] พ.ศ. 2540-2553 21-23 สิงหาคม 2553 ก่อกะเระ 1023 มีต้นกำเนิดมาจากกองพันของกองทัพปลดปล่อยชาติกะเหรี่ยง

อดีตกองกำลังพิทักษ์ชายแดน

ชื่อกลุ่ม ปีก่อนเปลี่ยนผ่าน วันที่เปลี่ยนผ่าน วันที่ถอนตัว กองบัญชาการ อำเภอ อดีตหมายเลขหน่วย หมายเหตุ
แนวร่วมปลดปล่อยประชาชนแห่งชาติกระเหรี่ยงแดง (KNPLF) 2521-2552, 2566-ปัจจุบัน 9 พฤศจิกายน 2552 13 มิถุนายน 2566 อำเภอลอยกอ 1004-1005 มีต้นกำเนิดมาจากกลุ่มคอมมิวนิสต์ของกองทัพกะเหรี่ยงแดง

เครื่องหมายยศ

กลุ่มชั้นยศ นายพล / นายทหารชั้นนายพล นายทหารสัญญาบัตรอาวุโส นายทหารสัญญาบัตร นักเรียนนายร้อย
กองกำลัง
พิทักษ์ชายแดน
ဗိုလ်မှူးကြီး
bohmu:gyi:
พันเอก
ဒုတိယ ဗိုလ်မှူးကြီး
du.ti.ya. bohmu:gyi:
พันโท
ဗိုလ်မှူး
bohmu:
พันตรี
ဗိုလ်ကြီး
bogyi:
ร้อยเอก
ဗိုလ်
bo
ร้อยโท
ဒုတိယ ဗိုလ်
du.ti.ya. bo
ร้อยตรี
กลุ่มชั้นยศ นายทหารประทวนอาวุโส นายทหารประทวน พลสมัคร
และพลทหาร
กองกำลัง
พิทักษ์ชายแดน
ไม่มีเครื่องหมาย
အရာခံဗိုလ်
ăyaganbo
นายดาบเอก
ဒုအရာခံဗိုလ်
du.ăyaganbo
นายดาบโท
တပ်ခွဲတပ်ကြပ်ကြီး
tathkwè:tatkyatkyi:
จ่ากองร้อย
တပ်ကြပ်ကြီး
tatkyatkyi:
สิบเอก
တပ်ကြပ်
tatkyat
สิบโท
ဒုတပ်ကြပ်
du.tatkyatkyi:
สิบตรี
တပ်သား
tattha:
พลทหาร

อ้างอิง

  1. "พม่า: รัฐบาลทหารเมียนมาใกล้ถึงจุดจบหรือไม่ หลังเสียเมียวดี". BBC News ไทย. 2024-04-07.
  2. "Border guard plan could fuel ethnic conflict". IRIN. 29 November 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016. สืบค้นเมื่อ 8 May 2016.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Border Guard Force Scheme". www.mmpeacemonitor.org. Myanmar Peace Monitor. 11 January 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2016. สืบค้นเมื่อ 8 May 2016.
  4. McCartan, Brian (30 April 2010). "Myanmar ceasefires on a tripwire". Asia Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2010. สืบค้นเมื่อ 21 March 2012.
  5. 5.0 5.1 Wai Moe (31 August 2009). "Border Guard Force Plan Leads to End of Ceasefire". The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2011. สืบค้นเมื่อ 21 March 2012.
  6. "NDF Report on Ceasefire Groups Resisting SPDC's Pressure and Instability" (PDF). National Democratic Front (Burma). Mae Sot, Thailand. 7 March 2010. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 21 March 2012.
  7. "Tension sparks people to flee into China". Shan Herald. 24 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2009. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009.
  8. Dittmer, Lowell (30 September 2010). Burma Or Myanmar? the Struggle for National Identity. World Scientific. ISBN 9789814313643.
  9. "Kayin State BGF officers and others collectively resign". Eleven Media Group (ภาษาอังกฤษ). 16 January 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2022. สืบค้นเมื่อ 12 September 2023.
  10. "BGF ထိပ်သီးခေါင်း‌ဆောင်များ နုတ်ထွက်ခြင်းမပြုရန် တပ်မတော်တိုက်တွန်း". Myanmar NOW (ภาษาพม่า). 15 January 2021.
  11. "ယူနီဖောင်းချွတ်ရန် အစီအစဉ် မရှိသေးဟု ဗိုလ်မှူးကြီးစောချစ်သူပြော". Mizzima (ภาษาพม่า). 12 January 2021.
  12. "ကရင်နယ်ခြားစောင့်တပ် သီးခြားရပ်တည်ရေး ဒုတပ်ချုပ်နဲ့ ဗိုလ်မှူးကြီးစောချစ်သူဆွေးနွေး". Radio Free Asia (ภาษาพม่า).
  13. "ဒုတိယ ဗိုလ်ချုပ်မှူးကြီးစိုးဝင်း ကရင်ပြည်နယ်ကို နေ့ချင်းပြန်သွားရောက်". BBC News မြန်မာ (ภาษาพม่า). 23 January 2024.
  14. "Karen BGF to rename itself 'Karen National Army'". Myanmar Now (ภาษาอังกฤษ). 6 March 2024.
  15. "Militias in Myanmar" (PDF). Asia Foundation (ภาษาอังกฤษ). July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-03. สืบค้นเมื่อ 2024-04-11.
  16. "Kayin Border Guard Force cuts ties with Myanmar junta". Radio Free Asia. 25 January 2024.
  17. "Karen BGF to rename itself 'Karen National Army'". Myanmar Now. 6 March 2024.
  18. "DKBA CONTINUE TO FORCIBLY RECRUIT VILLAGERS WHILE THE KAREN PEACE FORCE JOINS THE BURMA ARMY BORDER GUARD FORCE". Free Burma Rangers (ภาษาอังกฤษ). 28 September 2010.
  19. https://acleddata.com/dashboard/#/dashboard
Kembali kehalaman sebelumnya