Share to:

 

การขนส่งในประเทศอินโดนีเซีย

เรือของบรัษัทเป็ลนี เป็นเรือขนาดใหญ่ เชื่อมระหว่างเกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย

การขนส่งในอินโดนีเซีย มีกระจายอยู่ในเกาะกว่า 1,000 แห่งของประเทศ แต่เกาะที่มีปริมาณการขนส่งที่หนาแน่นที่สุดคือเกาะชวา[1] ประเทศอินโดนีเซีย มีการขนส่งครบทุกรูปแบบ โดยที่มีมากที่สุดคือ ถนน มีครอบคลุมทั่วทั้งประเทศกว่า 437,759 กิโลเมตรในปี ค.ศ. 2008 ส่วนการขนส่งระบบราง มีเฉพาะในเกาะชวาและเกาะสุมาตรา การขนส่งทางทะเล เนื่องจากเป็นประเทศหมู่เกาะ จึงเป็นศูนย์การขนส่งทางทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่ง โดยในแต่ละเกาะ จะมีเมืองท่าอย่างน้อย 1 แห่ง ส่วนการขนส่งทางแม่น้ำ พบได้ในสุมาตราตะวันออกและกาลีมันตัน และการขนส่งทางอากาศ มีสายการบินให้บริการมากมาย และมีท่าอากาศยานครอบคลุมทั่วประเทศ

เรือขนส่งสินค้า

เส้นทางการเดินเรือในปี ค.ศ. 2006
เรือปีนีซีแบบดั้งเดิม ใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างเกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย
ท่าเรือเมอระก์ เป็นท่าเรือทางผ่านที่สำคัญระหว่างเกาะชวากับเกาะสุมาตรา

เนื่องจากประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ จึงมีการขนส่งทางเรือในเกือบทุกส่วนของประเทศ ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรือบรรจุกล่องสินค้ากับเรือขนส่งผู้โดยสาร เรือที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด คือ เรือปีนีซีแบบดั้งเดิม ทำด้วยไม้ มักใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างหมู่เกาะสำคัญต่าง ๆ มีท่าเรือที่สำคัญได้แก่ ท่าเรือซุนดาเกอลาปาในจาการ์ตา และท่าเรือปาโอเตเรในมากัซซาร์

เรือข้ามฟากมีให้บริการตามเกาะหลักต่าง ๆ มักเดินเรือในระยะสั้นระหว่างเกาะสุมาตรา เกาะชวา และเกาะบาหลี เรือข้ามฟากมีให้บริการตลอดวัน นอกจากนี้ยังมีเรือข้ามฟากระหว่างประเทศ ไปยังมาเลเซีย (ช่องแคบมะละกา) และสิงคโปร์อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีเรือขนส่งผู้โดยสารไปยังพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะหมู่เกาะทางตะวันออกของประเทศ คือเรือเป็ลนี ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2-4 สัปดาห์

ในบางเกาะ ใช้แม่น้ำเป็นทางสัญจรหลัก เช่น ภูมิภาคกาลีมันตัน มีเรือยาวให้บริการตามแม่น้ำ เป็นต้น

การขนส่งทางน้ำ

อินโดนีเซียมีทางน้ำที่ใช้สัญจรได้ถึง 21,579 กิโลเมตร (ข้อมูลปี ค.ศ. 2005) ซึ่งครึ่งหนึ่งอยู่ในภูมิภาคกาลีมันตัน และอีกครึ่งหนึ่งอยู่บนเกาะสุมาตราและเกาะปาปัว ทางน้ำเป็นทางสัญจรหลักของผู้คนบนเกาะกาลีมันตันและเกาะปาปัวซึ่งมีระบบถนนที่ยังไม่ค่อยดีจะดีนัก ต่างจากเกาะชวาและเกาะสุมาตราซึ่งเป็นเกาะที่มีการพัฒนาสูง[2] ประเทศอินโดนีเซียติดอันดับที่ 7 ในด้านประเทศที่มีทางน้ำยาวที่สุดในโลก[3]

ท่าเรือ

เมืองท่าที่สำคัญได้แก่ เมืองจีลาจัป, จีเรอบน, จาการ์ตา, กูปัง, ปาเล็มบัง, เซอมารัง, ซูราบายา และมากัซซาร์ ท่าเรือส่วนใหญ่ดำเนินงานโดยบริษัทการท่าเรืออินโดนีเซีย ซึ่งจะแบ่งการบริหารเป็น 4 ส่วน โดยเริ่มจากส่วนที่ 1 ทางภาคตะวันตก ไปจนถึงส่วนที่ 4 ทางภาคตะวันออก

การขนส่งทางถนน

รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ ทรานส์จาการ์ตา

การขนส่งทางบก มียานพาหนะที่หลากหลายมาก รถโดยสารประจำทางส่วนใหญ่มีให้บริการบนเกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบาหลี บางสายให้บริการแบบรถด่วน ไม่หยุดรับ-ส่งผู้โดยสารจนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง ส่วนรถมินิบัส มีให้บริการระหว่างหมู่บ้านหรือเมืองเล็ก ๆ เท่านั้น

ในเมืองใหญ่ ๆ หลายแห่ง มีรถแท็กซี่วิ่งให้บริการ โดยเฉพาะในจาการ์ตาจะมีรถโดยสารประจำทางของโกปาจา และรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ ทรานส์จาการ์ตา ยานพาหนะอื่น ๆ อาทิเช่น รถตุ๊กตุ๊ก (บาจัจ) รถสามล้อ (เบอจะก์) ถูกห้ามในพื้นที่ส่วนใหญ่ของจาการ์ตา

ประเทศอินโดนีเซีย เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการจราจรติดขัดที่สุดในโลก โดยเฉพาะในจาการ์ตาซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการจราจรติดขัดที่สุด เนื่องจากมีปริมาณรถยนต์ที่ใช้งานมากกว่าปริมาณถนนที่มีอยู่

ทางหลวงสายหลักของประเทศ ได้แก่ ทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงสายทรานส์-สุมาตรา

อินโดนีเซียมีถนนลาดยาง 213,649 กิโลเมตร ส่วนที่เหลืออีก 154,711 กิโลเมตร ไม่ได้ลาดยาง (สถิติปี ค.ศ 2002)

อินโดนีเซียมีทางหลวงอยู่หลายสาย ส่วนใหญ่จะเป็นทางหลวงแผ่นดินซึ่งมีอยู่ทั่วไปบนเกาะชวา เกาะสุมาตรา และบางส่วนเป็นทางพิเศษซึ่งทางพิเศษที่มีการเก็บค่าผ่านทางแพงที่สุด คือ ทางพิเศษจีปูลารัง ซึ่งเชื่อมระหว่างจาการ์ตาบันดุง

ส่วนระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (ITS) ได้ถูกนำมาใช้งานครั้งแรกในปี ค.ศ. 2012[4]

ทางหลวงแผ่นดิน


ทางพิเศษ

รถแท็กซี่ในจาการ์ตา
โครงข่ายทางหลวงบนเกาะชวา
ทางพิเศษจีปูลารัง เป็นส่วนหนึ่งของทางพิเศษสายทรานส์ชวา

นี่คือ รายชื่อทางพิเศษในประเทศอินโดนีเซีย (จาลันโตล) บางส่วน

เกาะชวา

เกาะสุมาตรา

โครงการ

  • ทางพิเศษเมดัน-ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลานามู-เตอบิงติงกี ปัจจุบันก่อสร้างได้ร้อยละ 80 แล้ว ส่วนอีกร้อยละ 20 ที่เหลือ ติดปัญหาการเวนคืนที่ดิน[5]
  • ทางพิเศษเมดัน-บินไจ[6]
  • ทางพิเศษเปอกันบารู-กันดิส-ดูรี-ดูไม[7]
  • ทางพิเศษปาเล็มบัง-อินดราลายา[8]
  • ทางพิเศษเตองีเนเน็ง-บาบาตัน[9]

เกาะซูลาเวซี

โครงการ :

  • ทางพิเศษมานาโด-บีตุง[10]

เกาะบาหลี

ทางพิเศษเซอรางัน-ตันจุงเบอโนอา

สร้างจากตันจุงเบอโนอาไปสิ้นสุดที่เซอรางัน มีระยะทาง 12.7 กิโลเมตร และมีทางวิ่งเฉพาะรถจักรยานยนต์ เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 2013 ก่อนการประชุมเอเปค[11]

การขนส่งทางราง

รถไฟระหว่างเมืองขบวนหนึ่ง กำลังเข้าสู่สถานีรถไฟกัมบีร์
รถไฟชานเมืองในจาการ์ตา

โครงข่ายรถไฟส่วนใหญ่จะอยู่บนเกาะชวา โดยบนเกาะชวา จะมีทางรถไฟสายหลักอยู่ 2 สาย และสายย่อยอีกหลายสาย มีให้บริการทั้งรถไฟโดยสารและรถไฟสินค้า นอกจากนี้ยังมีรถไฟชานเมืองวิ่งให้บริการในเขตกรุงจาการ์ตา เรียกว่า กาเอร์เอ็ล โกมูเตอร์ไลน์ และอีกเมืองคือซูราบายา

ในปี ค.ศ. 2008 รัฐบาลมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา แต่ยังไม่มีความคืบหน้าของโครงการจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ เคยมีโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยวในจาการ์ตา แต่ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 2004 และได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2013 มีกำหนดเปิดให้บริการในช่วงปี ค.ศ. 2016-2017 ส่วนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจาการ์ตา (MRT) กำลังก่อสร้าง และจะเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 2018

ส่วนบนเกาะสุมาตราแบ่งโครงข่ายรถไฟเป็น 3 ส่วน ได้แก่

สายรถไฟล่าสุดของเกาะสุมาตรา คือ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานนานาชาติกูวาลานามู เขตเมืองเมดัน เริ่มให้บริการในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013 ใช้เวลาในการเดินทาง 45 นาที

ส่วนบนเกาะกาลีมันตัน มีทางรถไฟขนถ่านหิน ระยะทาง 122 กิโลเมตร[12]

ท่อน้ำมัน

ข้อมูลเมื่อปี ค.ศ 1989

  • ท่อน้ำมันดิบ 2,505 กิโลเมตร
  • ท่อปิโตรเลียม 456 กิโลเมตร
  • ท่อก๊าซธรรมชาติ 1,703 กิโลเมตร

การขนส่งทางอากาศ

จุดหมายปลายทางในประเทศของสายการบินการูดาอินโดนีเซีย

การขนส่งทางอากาศในอินโดนีเซียมีอยู่ค่อนข้างมาก เพราะใช้เชื่อมต่อระหว่างเกาะต่าง ๆ พันเกาะของอินโดนีเซีย ช่วงปี ค.ศ. 2009-2013 มีผู้โดยสารใช้บริการขนส่งทางอากาศเพิ่มขึ้นร้อยละ 43 โดยเพิ่มจาก 59,384,362 คน ไปเป็น 85,102,827 คน[13]

ท่าอากาศยาน

อาคารผู้โดยสาร 3 ของท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา

ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตาของจาการ์ตา เป็นสนามบินที่มีความสำคัญมากที่สุดในประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม สนามบินส่วนใหญ่ของอินโดนีเซียยังอยู่ในสภาพที่ไม่ค่อยจะดีนัก ทำให้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความปลอดภัยด้านอากาศยานที่น้อยที่สุด[14] อนึ่ง ประเทศอินโดนีเซียมีสนามบินทั้งหมด 676 แห่ง (ข้อมูลปี ค.ศ. 2012)

สนามบินที่มีทางวิ่งลาดยาง

  • มากกว่า 3,047 เมตร : 4 แห่ง
  • 2,438 – 3,047 เมตร : 22 แห่ง
  • 1,524 – 2,437 เมตร : 51 แห่ง
  • 914 – 1,523 เมตร : 71 แห่ง
  • น้อยกว่า 914 เมตร : 37 แห่ง
รวมทั้งหมด : 185 แห่ง

สนามบินที่มีทางวิ่งไม่ลาดยาง

  • 1,524 – 2,437 เมตร : 6 แห่ง
  • 914 – 1,523 เมตร : 24 แห่ง
  • น้อยกว่า 914 เมตร : 462 แห่ง
รวมทั้งหมด : 491 แห่ง

ลานจอดเฮลิคอปเตอร์

อินโดนีเซียมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ 76 แห่ง (ข้อมูลปี ค.ศ. 2012)

สายการบิน

Boeing 737-800 ของสายการบินการูดาอินโดนีเซีย ในลายปัจจุบัน ที่ท่าอากาศยานเพิร์ท

สายการบินประจำชาติ :

สายการบินอื่น ๆ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Indonesia's Diversity Revisited http://cip.cornell.edu/Dienst/UI/1.0/Summarize/seap.indo/1107012385
  2. Politics and Business Indonesia http://kerrycollison.net/index.php?/archives/2805-Politics-and-Business-Mix-in-Indonesia.html เก็บถาวร 2008-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Rank Order - Waterways https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/rankorder/2093rank.html เก็บถาวร 2018-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. http://www.antaranews.com/en/news/74080/ri-to-adopt-its-gradually-starting-in-2012
  5. http://www.thejakartapost.com/news/2011/04/25/land-clearing-ignites-inevitable-conflict.html
  6. http://www.bpjt.net/index.php?id=54
  7. http://www.bpjt.net/index.php?id=54
  8. http://www.bpjt.net/index.php?id=54
  9. http://www.bpjt.net/index.php?id=54
  10. http://www.bpjt.net/index.php?id=54
  11. "Awaiting an Opening". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-12. สืบค้นเมื่อ April 30, 2014.
  12. Railway Gazette International November 2010, p56
  13. World Bank Datebase, http://data.worldbank.org/indicator/IS.AIR.PSGR
  14. "Safety woeful, admits air chief." Sydney Morning Herald online, November 2, 2007 - 2:17PM.
Kembali kehalaman sebelumnya