การถอดเป็นอักษรโรมันในทางภาษาศาสตร์ การถอดเป็นอักษรโรมัน (อังกฤษ: romanisation) คือการถอดคำพูดหรือคำเขียนที่ใช้ระบบการเขียนต่าง ๆ เป็นอักษรโรมัน (ละติน) โดยสำหรับคำเขียนใช้การทับศัพท์ สำหรับคำพูดใช้การถอดเสียง ซึ่งสามารถแบ่งเป็นสองประเภทย่อยได้อีก คือการถอดเสียงตามหน่วยเสียง (phoneme) และ การถอดเสียงให้สอดคล้องกับการออกเสียง (phonetic) วิธีการถอดเป็นอักษรโรมันการทับศัพท์วิธีการนี้แทนอักษรตัวหนึ่งของภาษานั้น ๆ ด้วยอักษรโรมัน แต่ไม่คำนึงถึงว่าผลสุดท้ายการออกเสียงจะออกมาเป็นเช่นไรเท่าไหร่นัก เพราะขึ้นอยู่กับการตีความของผู้อ่านเป็นสำคัญ ตัวอย่างเช่นคำว่า Tsunami ทำให้ผู้อ่านทราบพยางค์ของคะนะได้อย่างแม่นยำ แต่ยังคงต้องมีความรู้เพิ่มเติมเพื่อที่จะออกเสียงได้อย่างถูกต้อง ในกรณีนี้คือการรู้ว่า Tsu ออกเสียงเช่นไร การถอดเสียงตามหน่วยเสียง (phonemic)วิธีการนี้ทำให้ผู้อ่านโดยทั่วไปที่ไม่คุ้นเคยกับอักษรนั้น ๆ สามารถออกเสียงภาษาดั้งเดิมได้แม่นยำพอสมควร โดยการถอดเสียงตามแต่ละหน่วยเสียง และพยายามทำให้ผู้อ่านสามารถออกเสียงแต่ละหน่วยเสียงให้ใกล้เคียงกับหน่วยเสียงดั้งเดิมมากที่สุด สอดคล้องกับการออกเสียง (phonetic)วิธีการนี้พยายามแทนทุกเสียงพูด (phone) ในภาษาดั้งเดิม โดยใช้ตัวอักษรพิเศษเพื่อพยายามถอดเสียงอย่างแม่นยำ แต่ข้อเสียคือทำให้ผู้อ่านทั่วไปไม่เข้าใจ ตัวอย่างเช่น สัทอักษรสากล โดยรวมตารางด้านล่างแสดงการถอดอักษรที่นิยมใช้มากที่สุดเป็นอักษรโรมัน อย่างไรก็ดียังมีวิธีการอีกหลายอย่างในการถอดเสียง
แหล่งข้อมูลอื่น
|