ชุดตัวอักษรฮีบรู
ชุดตัวอักษรฮีบรู เป็นชุดของอักษรตระกูลเซมิติกไร้สระชนิดหนึ่ง ใช้ในการเขียนงานในภาษาฮีบรู ในยุคแรก ๆ ชุดตัวอักษรฮีบรูโบราณพัฒนามาจากชุดตัวอักษรฟินิเชีย ชุดตัวอักษรฮีบรูรุ่นใหม่พัฒนามาจากชุดตัวอักษรแอราเมอิกรุ่นแรก ๆ จารึกภาษาฮีบรูพบครั้งแรกเมื่อ 557 ปีก่อนพุทธศักราช อักษรนี้เขียนจากขวาไปซ้ายในแนวนอน ตัวอักษรบางตัว เช่น กาฟ (ך/כ), เมม (ם/מ), นุน (ן/נ), ฟี (ף/פ) และซาดดี (ץ/צ) มีรูปท้ายคำ ซึ่งจะพบในตำแหน่งสุดท้ายของคำเท่านั้น ไม่มีตัวเลข ใช้เลขอารบิกแทน สระเสียงยาวกำหนดโดยตัว อะเลฟ (א), วาว (ו) และโยด/ยุด (י) ไม่แสดงสระเสียงสั้นยกเว้นในไบเบิล กวีนิพนธ์ และหนังสือสำหรับเด็กและชาวต่างชาติ ประวัติคำอธิบายทั่วไปพยัญชนะ
ภาษาที่ใช้เขียน
อักษรฮีบรูแบบราซี (Rashi)อักษรราชีเป็นตัวพิมพ์ฮีบรูที่มีลักษณะกึ่งโค้งหวัด ตามธรรมเนียมแล้วใช้เขียนข้ออรรถาธิบาย (commentary) เนื้อหาในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) และคัมภีร์ทัลมุดในหนังสือ ชื่อนี้ได้มาจาก รับบี ชโลโม ยิตซ์วากี หรือราซี นักวิชาการที่ยิ่งใหญ่ในยิวยุคกลางและเป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิล การตั้งชื่อนี้เป็นการให้เกียรติแก่ท่าน
ยูนิโคดอักษรฮีบรูมีช่วงหลักอยู่ที่ U+0590-U+05FF และมีรูปแบบอักษรอีกจำนวนหนึ่งที่ U+FB1D-U+FB4F
อ้างอิง
|