Share to:

 

การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1848

การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1848
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติ ค.ศ. 1848
อาลฟงส์ เดอ ลามาร์ตีน ที่หน้าศาลาว่าการกรุงปารีส
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1848
วันที่22–24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1848
สถานที่ปารีส ฝรั่งเศส
ผล
คู่ขัดแย้ง

ฝรั่งเศส ฝ่ายปฏิวัติ

  • ผู้ประท้วงฝ่ายพลเรือน
  • กองกำลังแห่งชาติผู้แปรพักตร์

ฝรั่งเศส รัฐบาลฝรั่งเศส

ผู้นำ
ไม่มีผู้นำที่ชัดเจน

การปฏิวัติ ค.ศ. 1848 ในประเทศฝรั่งเศส บ้างเรียก การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ (ฝรั่งเศส: révolution de Février) เป็นคลื่นการปฏิวัติลูกหนึ่งใน ค.ศ. 1848 ในทวีปยุโรป ในประเทศฝรั่งเศส เหตุการณ์ปฏิวัติยุติราชาธิปไตยออร์เลอ็อง (ค.ศ. 1830–1848) และนำสู่การสถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2

หลังการโค่นพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปในเดือนกุมภาพันธ์ รัฐบาลสาธารณรัฐที่ 2 จากการเลือกตั้งปกครองประเทศฝรั่งเศส ในหลายเดือนต่อมา รัฐบาลนี้เปลี่ยนมาเป็นอนุรักษนิยมมากขึ้น วันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1848 ประชาชนกรุงปารีสก่อการกบฏ ซึ่งได้ชื่อว่า การก่อการกำเริบวันมิถุนายน (June Days Uprising) เป็นการกบฏที่นองเลือดแต่ไร้ผลโดยแรงงานกรุงปารีสต่อการเปลี่ยนแปลงอนุรักษนิยมในเส้นทางของสาธารณรัฐ วันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1848 หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสาธารณรัฐที่ 2 โดยส่วนใหญ่ได้การสนับสนุนจากชาวนา สามปีพอดีต่อมา เขาระงับรัฐสภาจากการเลือกตั้ง สถาปนาจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 ซึ่งดำรงอยู่จน ค.ศ. 1870 หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ตเป็นจักรพรรดิ​ฝรั่งเศสพระองค์สุดท้าย

การปฏิวัติกุมภาพันธ์สถาปนาหลัก "สิทธิทำงาน" (droit au travail) และรัฐบาลที่เพิ่งตั้งนั้นสร้าง "โรงฝึกงานแห่งชาติ" แก่ผู้ว่างงาน ในเวลาเดียวกัน มีการสถาปนาสภาอุตสาหกรรม ณ พระราชวังลุกซ็องบูร์ โดยมีหลุยส์ บลังเป็นประธาน มีวัตถุประสงค์เตรียรมแผนจัดระเบียบแรงงาน ความตึงเครียดเหล่านี้ระหว่างกลุ่มออร์เลอ็องเสรีนิยมกับสาธารณรัฐนิยมหัวรุนแรงและนักสังคมนิยมนำสู่การก่อการกำเริบวันมิถุนายน

อ้างอิง

Kembali kehalaman sebelumnya