Share to:

 

การปฏิวัติเยอรมัน ค.ศ. 1918–1919

การปฏิวัติเยอรมัน
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติ ค.ศ. 1917–1923 และ
ความรุนแรงทางการเมืองในประเทศเยอรมนี (ค.ศ. 1918–1933)

ทหารยิงปืนในที่กำบังในเหตุการณ์การก่อการกำเริบสปาตาคิสท์ใน ค.ศ. 1919
วันที่
  • ระยะแรก:
    29 ตุลาคม – 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
    (1 สัปดาห์ 4 วัน)
  • ระยะที่สอง:
    3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 – 11 สิงหาคม ค.ศ. 1919
    (9 เดือน 1 สัปดาห์)
สถานที่
ผล

สาธารณรัฐไวมาร์ชนะ:

คู่สงคราม

1918:
 เยอรมนี


1918–1919:
 สาธารณรัฐเยอรมัน สนับสนุนโดย:
 ฝรั่งเศส

ฝ่ายปฏิวัติ

สาธารณรัฐโซเวียต:

สนับสนุนโดย:

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

การปฏิวัติเดือนพฤศจิกายน (เยอรมัน: Novemberrevolution) หรือ การปฏิวัติเยอรมัน เป็นสงครามกลางเมืองในจักรวรรดิเยอรมันในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายมหาอำนาจกลาง ซึ่งได้ส่งผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญมาเป็นระบอบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยในระบบสภาเดี่ยว) ซึ่งเวลาต่อมาได้กลายเป็นที่รู้จักกันคือ สาธารณรัฐไวมาร์ การปฏิวัติได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 จนถึง เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1919 หลังรัฐธรรมนูญแห่งไวมาร์ถูกประกาศใช้

ชนวนเหตุ

สาเหตุของการปฏิวัติมาจากการรับภาระหนักของประชาชนในช่วงสี่ปีของสงคราม, ผลกระทบที่รุนแรงจากความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิเยอรมันและเกิดสภาวะความตรึงเครียดทางสังคมระหว่างประชาชนธรรมดากับขุนนางชนชั้นสูงที่ครองอำนาจและเพิ่งแพ้สงครามและชนชั้นกลางของนายทุน

รากเหง้าของการปฏิวัติได้ถูกวางเอาไว้ในความปราชัยของจักรวรรดิเยอรมันสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและความตึงเครียดทางสังคมที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นไม่นาน ขั้นแรกของการปฏิวัติได้ถูกจุดชนวนโดยนโยบายของกองบัญชาการระดับสูงแห่งกองทัพบกเยอรมันและขาดการประสานงานกับกองบัญชาการกองทัพเรือ เมื่อเผชิญความพ่ายแพ้ กองบัญชาการกองทัพเรือได้ยืนยันที่จะพยายามเร่งรัดการสู้รบที่สำคัญกับกองทัพราชนาวีแห่งอังกฤษโดยคำสั่งกองทัพเรือ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1918 ยุทธนาวีไม่เคยเกิดขึ้น แทนที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของกองบัญชาการกองทัพเรือเพื่อเริ่มเตรียมเข้าสู้รบกับอังกฤษ ทหารเรือเยอรมันได้ก่อจลาจลที่ท่าเรือของกองทัพเรือที่ wilhelmshaven เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1918 ตามมาด้วยการก่อกบฏที่คีลในวันแรกของเดือนพฤศจิกายน ความโกลาหลครั้งนี้ได้แพร่กระจายไปถึงจิตวิญญาณของพลเมืองได้เกิดความระส่ำระสายไปทั่วเยอรมนีและท้ายที่สุดได้นำสู่การประกาศสาธารณรัฐ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 หลังจากนั้นไม่นาน จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ทรงสละราชบัลลังก์ และลี้ภัยออกนอกประเทศ

หลังจากสิ้นสุด

ผู้ก่อการปฏิวัติ, ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากอุดมการณ์สังคมนิยม, ไม่ได้ส่งมอบอำนาจให้กับสภาที่จัดตั้งตามแบบโซเวียต (แบบที่พวกบอลเชวิกทำกันในรัสเซีย) เพราะผู้นำของพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยแห่งเยอรมนี(SPD)ไม่สนับสนุนและได้ขัดขวางการก่อตั้งพรรค SPD ทางพรรคจึงหันไปจัดตั้งสภาแห่งชาติขึ้นแทนเพื่อให้จะเป็นพื้นฐานของรัฐบาลภายใต้ระบบรัฐสภาเดี่ยว[1] ด้วยความหวาดกลัวว่าจะเกิดสงครามกลางเมืองอย่างเต็มรูปแบบในเยอรมนีระหว่างฝ่ายแรงงานหัวรุนแรงและนักอนุรักษนิยมขวาจัด พรรค SPD จึงไม่ได้วางแผนที่จะถอดอำนาจและสิทธิพิเศษของชนชั้นสูงของเยอรมันเสียทั้งหมด แต่พยายามคิดหาวิธีที่จะผนวกคนชั้นสูงพวกนี้เข้ากับระบบสังคมนิยมประชาธิปไตยใหม่ ในความพยายามนี้ พรรค SPD ฝ่ายซ้ายมีความต้องการที่จะเป็นพันธมิตรกับกองบัญชาการทหารสูงสุดเยอรมัน ครั้งนี้ได้อนุญาตให้กองทัพและไฟรคอร์ (ทหารอาสาสมัครฝ่ายชาตินิยม) เพื่อเข้าปราบปรามการก่อการกำเริบสปาตาคิสท์ของฝ่ายคอมมิวนิสต์ เมื่อวันที่ 4-15 มกราคม ค.ศ. 1919 โดยใช้กำลัง พันธมิตรเดียวกันของกองกำลังทางการเมืองได้ประสบความสำเร็จในการปราบปรามการก่อการของพวกฝ่ายซ้ายในส่วนอื่นๆของเยอรมนี ด้วยผลทำให้ประเทศนั้นได้สงบลงอย่างสมบูรณ์ เมื่อปลายปี ค.ศ. 1919

การเลือกตั้งสำหรับสภาแห่งชาติไวมาร์ใหม่ถูกก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1919 การปฏิวัติได้สิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1919 เมื่อรัฐธรรมนูญไวมาร์ถูกประกาศใช้

อ้างอิง

  1. Ralf Hoffrogge, Working-Class Politics in the German Revolution. Richard Müller, the Revolutionary Shop Stewards and the Origins of the Council Movement, Brill Publications 2014, ISBN 978-90-04-21921-2, pp. 93–100.


แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya