Share to:

 

จักรวรรดิเยอรมัน

จักรวรรดิเยอรมัน

ค.ศ.1871 –1918
คำขวัญก็อทท์มิทอุนส์[1]
Nobiscum deus
("พระเจ้าสถิตกับเรา") (มัทธิว 1:23)
เพลงชาติ
จักรวรรดิเยอรมันใน ค.ศ. 1914
เมืองหลวงเบอร์ลิน
52°31′N 13°24′E / 52.517°N 13.400°E / 52.517; 13.400
ภาษาทั่วไปทางการ:
เยอรมัน
ศาสนา
สำมะโน 1880
ส่วนใหญ่:
62.63% โปรเตสแตนต์
(ลูเทอแรน, ขนบปฏิรูป)
ส่วนน้อย:
35.89% โรมันคาทอลิก
1.24% ยิว
0.17% ศาสนาคริสต์นิกายอื่น
0.07% อื่น ๆ
การปกครอง
จักรพรรดิ 
• 1871–1888
วิลเฮล์มที่ 1
• 1888
ฟรีดริชที่ 3
• 1888–1918
วิลเฮล์มที่ 2
นายกรัฐมนตรี 
• 1871–1890
ออทโท ฟอน บิสมาร์ค (คนแรก)
• 1918
เจ้าชายมัคซีมีลีอานแห่งบาเดิน (สุดท้าย)
สภานิติบัญญัติไรชส์ทาค
ยุคประวัติศาสตร์จักรวรรดินิยมใหม่ • สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
18 มกราคม 1871
16 เมษายน 1871
15 พฤศจิกายน 1884
28 กรกฎาคม 1914
3 พฤศจิกายน 1918
9 พฤศจิกายน 1918
11 พฤศจิกายน 1918
11 สิงหาคม 1919
ประชากร
• 1871[4]
41,058,792
• 1900[4]
56,367,178
• 1910[4]
64,925,993
สกุลเงินมาร์ค
ก่อนหน้า
ถัดไป
สหพันธรัฐ
เยอรมันเหนือ
บาวาเรีย
เวือร์ทเทิมแบร์ค
บาเดิน
เฮ็สเซิน
สาธารณรัฐไวมาร์
โปแลนด์
ดินแดนซาร์
ดันซิก
ฝรั่งเศส
ลิทัวเนีย
เชโกสโลวาเกีย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ เยอรมนี
 โปแลนด์
 ฝรั่งเศส
 เดนมาร์ก
 รัสเซีย
 เบลเยียม
 ลิทัวเนีย
 เช็กเกีย
พื้นที่และประชากรไม่รวมอาณานิคมในทวีปอื่นที่ยึดครอง

จักรวรรดิเยอรมัน (เยอรมัน: Deutsches Kaiserreich)[a] เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกแผ่นดินของชาวเยอรมัน ตั้งแต่ที่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมันในค.ศ. 1871 จนถึงการสละราชสมบัติของจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ในค.ศ. 1918 ซึ่งนำไปสู่การสิ้นสุดระบอบกษัตริย์ในเยอรมัน ชื่อจักรวรรดิเยอรมันในภาษาเยอรมันอย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (เยอรมัน: Deutsches Reich) อย่างไรก็ตาม แม้จักรวรรดิจะล่มสลายไปในปี ค.ศ. 1918 แต่ชื่อ ดอยท์เชิสไรช์ ก็ยังถูกใช้เป็นชื่อทางการของสาธารณรัฐไวมาร์ต่อไป

จักรวรรดิเยอรมันประกอบด้วย 26 ดินแดนตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ดินแดนส่วนใหญ่ต่างถูกปกครองและมีราชวงศ์เป็นของตนเอง ดินแดนเหล่านี้ประกอบด้วย 4 ราชอาณาจักร, 6 แกรนด์ดัชชี, 5 ดัชชี (6 ก่อนปี 1876), 7 ราชรัฐ, 3 เสรีนครรัฐ และ 1 ดินแดนในพระองค์ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าราชอาณาจักรปรัสเซียจะเป็นหนึ่งในดินแดนตามที่กล่าวมานี้ แต่ราชอาณาจักรปรัสเซียกลับเป็นดินแดนที่มีอาณาเขตและประชากรมากที่สุดและมากกว่าดินแดนอีก 25 แห่งที่เหลือรวมกัน ดังนั้นราชอาณาจักรปรัสเซียจึงเป็นดินแดนที่มีอำนาจครอบงำจักรวรรดิเยอรมัน

หลังปี 1850 ได้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมขึ้นอย่างรวดเร็วในรัฐเยอรมันต่าง ๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมถ่านหิน, เหล็ก (และเหล็กกล้าในกาลต่อมา), เคมีภัณฑ์ และกิจการรถไฟ เมื่อแรกสถาปนาจักรวรรดิในปี 1871 จักรวรรดิมีประชากร 41 ล้านคน และในปี 1913 ได้เพิ่มขึ้นไปเป็น 68 ล้านคน ตลอดเวลา 47 ปีที่จักรวรรดิเยอรมันคงอยู่ จักรวรรดิได้กลายเป็นมหาอำนาจด้านอุตสาหกรรม, เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ของโลก โดยได้รับรางวัลโนเบลมากกว่าชาติอื่น ๆ[7]

เยอรมันกลายเป็นมหาอำนาจจากการขยายเครือข่ายทางรถไฟอย่างรวดเร็ว, มีกองทัพบกที่ทรงแสนยานุภาพที่สุดในโลก, และเป็นฐานอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ในห้วงเวลาเพียงไม่ถึงทศวรรษ กองทัพเรือเยอรมันกลายเป็นกองทัพเรือที่ทรงแสนยานุภาพเป็นลำดับสองรองจากราชนาวีอังกฤษ ในคราวที่นายกรัฐมนตรี ออทโท ฟอน บิสมาร์ค ถูกปลดโดยจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ในปี ค.ศ. 1890 นั้น เป็นห้วงเวลาที่จักรวรรดิเยอรมันรุ่งเรืองและฮึกเหิมอย่างมาก ในวิกฤตการณ์ปี 1914 จักรวรรดิเยอรมันได้ให้การสนับสนุนแก่จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และยังตกลงเป็นพันธมิตรกับจักรวรรดิออตโตมัน เป็นจุดกำเนิดของฝ่ายมหาอำนาจกลางในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อแผนการเข้ายึดกรุงปารีสก่อนฤดูใบไม้ร่วงประสบความล้มเหลวและแนวรบด้านตะวันตกยังคงคุมเชิงกัน เยอรมันก็ถูกกองเรือของฝ่ายสัมพันธมิตรปิดล้อมทำให้เกิดภาวะขาดแคลนเสบียงอาหาร แม้แนวรบด้านตะวันตกจะไม่คืบหน้า แต่เยอรมันกลับประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในแนวรบด้านตะวันออก สนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ในปี 1918 ทำให้เยอรมันได้ดินแดนทางตะวันออกมาอย่างมากมาย เยอรมันได้พยายามปิดล้อมเกาะอังกฤษด้วยกองเรือดำน้ำแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนักจากราชนาวีอังกฤษได้จัดเรือคุ้มกันเรือที่มาจากอาณานิคม เหตุโทรเลขซิมแมร์มันน์ในปี 1917 ได้นำพาสหรัฐอเมริกาเข้ามาสู่สงคราม ชาวเยอรมันเริ่มอ่อนล้าจากสงครามในห้วงเวลาที่ลัทธิสังคมนิยมจากการปฏิวัติรัสเซียไหลบ่าเข้ามาสู่ชาวเยอรมัน

แนวรบที่ถูกโต้กลับและสงครามตลอดสี่ปีทำให้เกิดยุคข้าวยากหมากแพงไปทั่วทำให้ประชาชนหมดศรัทธาในรัฐบาลจักรพรรดิเยอรมัน จนทำให้เกิดการลุกฮือขึ้นในปลายเดือนตุลาคม ค.ศ. 1918 รัฐบาลจักรพรรดิเยอรมันได้ประกาศสงบศึก ในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 หลังจากนั้นสองสัปดาห์ จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ทรงประกาศสละราชสมบัติและลี้ภัยทางการเมืองไปยังเนเธอร์แลนด์ จักรวรรดิเยอรมันได้แปรเปลี่ยนสถานะเป็นสาธารณรัฐไวมาร์ภายใต้ระบอบประธานาธิบดี

ภูมิหลัง

สงครามนโปเลียนในต้นศตวรรษที่ 19 นั้น ได้ทำให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของชนชาติที่พูดภาษาเยอรมันล่มสลายและแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ เมื่อสงครามยุติ ได้มีการจัดการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาขึ้นในปี 1815 เพื่อจัดระเบียบทวีปยุโรปเสียใหม่ การประชุมนี้ได้ทำให้เกิดสมาพันธรัฐเยอรมันขึ้นมา เป็นการรวมกลุ่มกันอย่างหลวม ๆ ของบรรดารัฐเยอรมัน ขบวนการชาตินิยมเยอรมันได้นำพาเยอรมันเข้าสู่การเป็นประเทศที่มีความเป็นเสรีและประชาธิปไตยมากขึ้น ขบวนการได้เสนอให้ผนวกแนวคิดที่เรียกว่า "อุดมการณ์รวมกลุ่มเยอรมัน" เข้าไปในนโยบาย Realpolitik ของ ออทโท ฟอน บิสมาร์ค มุขมนตรีปรัสเซีย โดยบิสมาร์คต้องการแผ่ขยายอำนาจของราชวงศ์โฮเอ็นโซลเลิร์นแห่งปรัสเซียเข้าครอบงำรัฐเยอรมันอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายอันสูงสุดคือการรวมชาติเยอรมันที่มีปรัสเซียเป็นแกนนำ และยังต้องการขจัดอิทธิพลของราชวงศ์ฮับส์บูร์กแห่งออสเตรียที่มีต่อรัฐเยอรมันเหล่านี้

บิสมาร์คได้นำปรัสเซียเข้าสู่สงครามสามครั้งและได้รับชัยชนะอย่างงดงาม คือสงครามชเลสวิชครั้งที่สองกับเดนมาร์กในปี 1864, สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียในปี 1866 และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียในปี 1870–71

สถาปนาจักรวรรดิ

พระเจ้าวิลเฮล์มแห่งปรัสเซียประกาศตนขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมัน ณ พระราชวังแวร์ซายในกรุงปารีส หลังมีชัยในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย

หลังจากที่ปรัสเซียได้ชัยชนะจากสงครามทั้งสาม ในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1870 รัฐสภาแห่งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อสมาพันธรัฐเป็นจักรวรรดิ และมีมติให้พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิ และภายหลังรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1871 ในช่วงการปิดล้อมกรุงปารีสนั้นเอง ในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1871 พระเจ้าวิลเฮล์มก็ทรงประกาศตนขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมัน ณ ห้องกระจก ในพระราชวังแวร์ซาย[8]

หลังจากนั้นไม่กี่เดือน รัฐธรรมนูญเยอรมันฉบับที่สองก็ได้ถูกรับรองโดยไรชส์ทาค เมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1871 และจักรพรรดิวิลเฮล์มก็ทรงประกาศใช้ในอีกสองวันถัดมา[8] รัฐธรรมนูญฉบับที่สองนี้ มีเค้าโครงเดิมมาจากรัฐธรรมนูญแห่งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือที่ร่างขึ้นโดยบิสมาร์ค โครงสร้างทางการเมืองการปกครองยังคงเหมือนเดิม สภานิติบัญญัติของจักรวรรดิมีชื่อเรียกว่า "ไรชส์ทาค" (Reichstag) สมาชิกของไรชส์ทาคมาจากใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายชาวเยอรมัน

การตรากฎหมายต่าง ๆ ต้องผ่านมติเห็นชอบจากคณะมนตรีประเทศที่เรียกว่า "บุนเดิสราท" (Bundesrat) ประกอบด้วยผู้แทนจาก 27 รัฐในจักรวรรดิ แต่ละรัฐมีสิทธิออกเสียงไม่เท่ากัน ยิ่งเป็นรัฐที่ใหญ่และประชากรมากก็จะมีสิทธิออกเสียงมาก เช่นราชอาณาจักรปรัสเซียมีสิทธิออกเสียงถึง 17 สิทธิจากทั้งหมด 58 สิทธิ ปรัสเซียต้องการเสียงจากรัฐอื่น ๆ อีกเพียงเล็กน้อยเพื่อให้เกินกึ่งหนึ่ง ส่วนอำนาจฝ่ายบริหารเป็นของจักรพรรดิหรือที่เรียกว่าไกเซอร์ (Kaiser) ซึ่งจะทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีหนึ่งคนเพื่อเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร รัฐธรรมนูญเยอรมนี้ได้ให้อำนาจจักรพรรดิไว้ค่อนข้างมาก สามารถแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรีได้ตามพระราชอัธยาศัย รัฐบาลจักรวรรดินี้ไม่มีรัฐมนตรีประจำกระทรวง ดังนั้นแล้วนายกรัฐมนตรีจึงเปรียบเสมือน "รัฐบาลหนึ่งบุรุษ" รับผิดชอบและดูแลราชการแทบจะทุกอย่าง (ทั้งด้านการคลัง, การสงคราม, การต่างประเทศ ฯลฯ) แม้ว่าไรชส์ทาคจะทำหน้าที่ตรากฎหมาย, ยกเลิกกฎหมาย, ผ่านกฎหมาย ดังที่กล่าวมา แต่อำนาจที่แท้จริงทั้งปวงอยู่ที่จักรพรรดิ ซึ่งทรงใช้อำนาจผ่านทางนายกรัฐมนตรี

รัฐและดินแดนต่าง ๆ ในจักรวรรดิ ยังคงมีรัฐบาลเป็นของตนแต่มีอำนาจจำกัด ยกตัวอย่างเช่น การสแตมป์ไปรษณีย์และการผลิตเหรียญทอง 1 มาร์คนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาลกรุงเบอร์ลิน ส่วนการผลิตเงินสกุลมาร์คที่มีมูลค่าเกินกว่านั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่น รัฐต่าง ๆ มีอำนาจสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นของตนเอง บางรัฐอาจมีกำลังทหารเป็นของตนเอง อำนาจทหารทั้งหมดจะถูกริบไปอยู่ที่รัฐบาลกรุงเบอร์ลินในยามศึกสงคราม

อุตสาหกรรม

โรงงานของบริษัทเหล็กครุปป์ ในเมืองเอสเซิน ค.ศ. 1890 เมืองนี้เมืองเดียวมีโรงงานตั้งอยู่ถึง 60 อาคารด้วยเครื่องจักรกว่า 8,500 เครื่อง[9]

การพัฒนาอุตสาหกรรมในเยอรมันดำเนินไปอย่างก้าวกระโดด ผู้ผลิตสินค้าของเยอรมันสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น ทำให้การนำเข้าสินค้าจากอังกฤษลดน้อยลง ไม่เพียงเท่านี้ ผู้ผลิตของเยอรมันยังสามารถแย่งชิงตลาดต่างประเทศจากอังกฤษไปได้อีกไม่น้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา อุตสาหกรรมโลหะและสิ่งทอของเยอรมันได้แซงหน้าอังกฤษในปี 1870 ในแง่การจัดการและประสิทธิภาพการผลิตซึ่งได้ทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอและโลหะของอังกฤษไม่มีที่ยืนในเยอรมันอีกต่อไป เยอรมันกลายเป็นชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในยุโรป และเป็นชาติที่ส่งออกมากเป็นอันดับสองรองจากสหราชอาณาจักร

ในตอนเริ่มแรก เยอรมันต้องพึ่งพาการนำเข้าเทคโนโลยีต่าง ๆ จากอังกฤษโดยเฉพาะรถไฟ เยอรมันใช้เวลาไม่นานในการเรียนรู้จนสามารถสร้างรถไฟและขยายโครงข่ายทางรถไฟได้ด้วยตนเอง โครงข่ายทางรถไฟได้เพิ่มจาก 21,000 กิโลเมตรในปี 1871 ไปเป็น 63,000 กิโลเมตรในปี 1913 กลายเป็นชาติที่มีโครงข่ายทางรถไฟยาวรองจากสหรัฐอเมริกา

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีระหว่างการปฏิวัติอุตสาหกรรมในเยอรมนีนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 4 ระลอก ได้แก่: การรถไฟ (1877–1886), สีย้อม (1887–1896), เคมีภัณฑ์ (1897–1902) และ วิศวกรรมไฟฟ้า (1903–1918)[10] และเนื่องจากเยอรมันได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมทีหลังอังกฤษ โรงงานอุตสาหกรรมในเยอรมนีถูกออกแบบได้มีประสิทธิภาพมากกว่าโรงงานในอังกฤษ เยอรมันมีการลงทุนด้านการวิจัยอย่างหนักหน่วงมากกว่าอังกฤษ โดยเฉพาะการวิจัยด้านเคมี, มอเตอร์ และไฟฟ้า ส่งผลให้นักฟิสิกส์และนักเคมีชาวเยอรมันเป็นผู้ผูกขาดรางวัลโนเบลกว่าหนึ่งในสามของจำนวนรางวัลโนเบลที่มอบให้แก่บุคคลสัญชาติเยอรมัน การรวมกลุ่มของบริษัทในเยอรมัน ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้แต่ละบริษัทสามารถใช้ทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง

ก่อนปี 1900 อุตสาหกรรมสีย้อมของเยอรมันได้เข้าครอบงำตลาดสีย้อมของโลก[11] ผู้ผลิตหลักสามรายได้แก่ BASF, Bayer และ Hoechst ตลอดจนผู้ผลิตรายย่อยอีกห้ารายของเยอรมัน สามารถผลิตสีย้อมได้กว่าหลายร้อยสี ซึ่งในปี 1913 ผู้ผลิตทั้งแปดรายนี้ครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 90% ในตลาดสีย้อมของโลก การผลิตกว่า 80% เป็นการส่งออกเพื่อป้อนตลาดโลก นอกจากนี้ ผู้ผลิตหลักสามรายยังได้ร่วมมือกับอุตสาหกรรมต้นน้ำเพื่อผลิตวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อย่าง เวชภัณฑ์, ฟิล์มถ่ายภาพ, สารเคมีทางการเกษตร และไฟฟ้าเคมี

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อุตสาหกรรมในเยอรมนีได้เปลี่ยนไปสู่การผลิตเพื่อป้อนสงคราม ความต้องถ่านหินและแร่เหล็กได้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลเพื่อใช้ในการผลิตปืนใหญ่และต่อเรือรบ ความต้องการด้านเคมีภัณฑ์สำหรับสังเคราะห์เป็นผลิตภัณฑ์ก็เพิ่มขึ้นมากเช่นกัน เนื่องจากอังกฤษและพันธมิตรของอังกฤษได้งดส่งออกสินค้าเหล่านี้แก่เยอรมัน

อาณาเขต

รัฐและดินแดนในจักรวรรดิ

ก่อนการรวมชาติเยอรมันในปี 1871 ชนชาติเยอรมันแบ่งออกเป็น 27 รัฐอิสระ รัฐเหล่านี้มีฐานะเป็น ราชอาณาจักร, แกรนด์ดัชชี, ดัชชี, ราชรัฐ, เสรีนคร และดินแดนในพระองค์ รัฐที่มีสถานะเป็นเสรีนคร จะถูกปกครองด้วยรัฐบาลพลเรือน ในขณะที่รัฐอื่น ๆ ของจักรวรรดิต่างมีราชวงศ์ของตนเองเป็นผู้ปกครอง ในบรรดารัฐทั้งหมดนี้ ราชอาณาจักรปรัสเซียถือเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุด ครอบคลุมพื้นที่สองในสามของดินแดนทั้งจักรวรรดิ และมีประชากรคิดเป็นร้อยละ 61 ของทั้งจักรวรรดิ

ซัคเซิน-ไมนิงเงินซัคเซิน-ไมนิงเงินซัคเซิน-ไมนิงเงินซัคเซิน-ไมนิงเงินซัคเซิน-ไมนิงเงินซัคเซิน-ไมนิงเงินซัคเซิน-ไมนิงเงินซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาSaxe-Coburg and Gothaซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาSaxe-Coburg and Gothaซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาSchwarzburg-SondershausenSchwarzburg-SondershausenSchwarzburg-SondershausenSchwarzburg-SondershausenSchwarzburg-SondershausenSchwarzburg-RudolstadtSchwarzburg-RudolstadtSchwarzburg-RudolstadtSchwarzburg-RudolstadtSchwarzburg-RudolstadtSchwarzburg-RudolstadtSchwarzburg-RudolstadtSchwarzburg-Rudolstadtซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซนัคซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซนัคซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซนัคซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซนัคซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซนัคซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซนัคซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซนัคซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซนัคซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซนัคซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซนัคซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซนัคซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซนัคPrincipality of Reuss-GreizPrincipality of Reuss-GreizPrincipality of Reuss-GreizPrincipality of Reuss-GreizPrincipality of Reuss-GreizPrincipality of Reuss-GreizPrincipality of Reuss-GreizDuchy of Saxe-AltenburgDuchy of Saxe-AltenburgDuchy of Saxe-AltenburgDuchy of Saxe-AltenburgDuchy of Saxe-AltenburgPrincipality of Reuss-GeraPrincipality of Reuss-GeraPrincipality of Reuss-GeraPrincipality of Reuss-GeraPrincipality of Reuss-GeraPrincipality of Reuss-GeraราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียThuringian statesThuringian statesThuringian statesThuringian statesอาลซัส-ลอแรนแกรนด์ดัชชีบาเดินราชอาณาจักรเวือร์ทเทมแบร์กราชอาณาจักรบาวาเรียราชอาณาจักรบาวาเรียราชอาณาจักรบาวาเรียราชอาณาจักรซัคเซินแกรนด์ดัชชีเฮ็สเซินแกรนด์ดัชชีเฮ็สเซินDuchy of AnhaltDuchy of AnhaltDuchy of AnhaltDuchy of AnhaltDuchy of AnhaltDuchy of AnhaltDuchy of AnhaltDuchy of AnhaltWaldeck (state)Waldeck (state)Waldeck (state)ดัชชีเบราน์ชไวก์ดัชชีเบราน์ชไวก์ดัชชีเบราน์ชไวก์ดัชชีเบราน์ชไวก์ดัชชีเบราน์ชไวก์ดัชชีเบราน์ชไวก์ดัชชีเบราน์ชไวก์ดัชชีเบราน์ชไวก์ราชรัฐลิพเพอราชรัฐลิพเพอPrincipality of Schaumburg-LippePrincipality of Schaumburg-Lippeฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คฮัมบวร์คเสรีนครลือเบคเสรีนครลือเบคเสรีนครลือเบคเสรีนครลือเบคเสรีนครลือเบคเสรีนครลือเบคเสรีนครลือเบคเสรีนครลือเบคเสรีนครลือเบคเสรีนครลือเบคเสรีนครลือเบคเสรีนครลือเบคเสรีนครลือเบคเสรีนครลือเบคเสรีนครลือเบคเสรีนครลือเบคเสรีนครลือเบคเสรีนครลือเบคเสรีนครลือเบคเสรีนครลือเบครัฐเบรเมินรัฐเบรเมินรัฐเบรเมินรัฐเบรเมินรัฐเบรเมินรัฐเบรเมินแกรนด์ดัชชีโอลเดินบวร์คแกรนด์ดัชชีโอลเดินบวร์คแกรนด์ดัชชีโอลเดินบวร์คแกรนด์ดัชชีโอลเดินบวร์คแกรนด์ดัชชีโอลเดินบวร์คแกรนด์ดัชชีโอลเดินบวร์คแกรนด์ดัชชีโอลเดินบวร์คแกรนด์ดัชชีโอลเดินบวร์คแกรนด์ดัชชีโอลเดินบวร์คแกรนด์ดัชชีโอลเดินบวร์คแกรนด์ดัชชีโอลเดินบวร์คแกรนด์ดัชชีโอลเดินบวร์คแกรนด์ดัชชีโอลเดินบวร์คเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์เมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์เมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์เมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์เมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์เมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์เมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์เมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์เมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์เมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์เมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์เมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์เมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์เมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์เมคเลินบวร์ค-ชเวรีนเมคเลินบวร์ค-ชเวรีนเมคเลินบวร์ค-ชเวรีนเมคเลินบวร์ค-ชเวรีนราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซียราชอาณาจักรปรัสเซีย
ดินแดน เมืองหลวง
ราชอาณาจักร (Königreiche)
ปรัสเซีย (Preußen) เบอร์ลิน
บาวาเรีย (Bayern) มิวนิก
ซัคเซิน (Sachsen) เดรสเดิน
เวือร์ทเทิมแบร์ค (Württemberg) ชตุทการ์ท
แกรนด์ดัชชี (Großherzogtümer)
บาเดิน (Baden) คาร์ลสรูเออ
เฮ็สเซิน (Hessen) ดาร์มชตัท
เมคเลินบวร์ค-ชเวรีน (Mecklenburg-Schwerin) ชเวรีน
เมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์ (Mecklenburg-Strelitz) นอยชเตรลิทซ์
โอลเดินบวร์ค (Oldenburg) โอลเดินบวร์ค
ซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซอนัค (Sachsen-Weimar-Eisenach) ไวมาร์
ดัชชี (Herzogtümer)
อันฮัลท์ (Anhalt) เดสเซา
เบราน์ชไวค์ (Braunschweig) เบราน์ชไวค์
ซัคเซิน-อัลเทินบวร์ค (Sachsen-Altenburg) อัลเทินบวร์ค
ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา (Sachsen-Coburg und Gotha) โคบูร์ก
ซัคเซิน-ไมนิงเงิน (Sachsen-Meiningen) ไมนิงเงิน
ราชรัฐ (Fürstentümer)
ลิพเพอ (Lippe) เดทมอลด์
ร็อยส์-เกอรา (Reuss-Gera) เกอรา
ร็อยส์-ไกรซ์ (Reuss-Greiz) ไกรซ์
ชามบวร์ค-ลิพเพอ (Schaumburg-Lippe) บึคเคอบวร์ค
ชวาร์ซบวร์ค-รูดอลชตัดท์ (Schwarzburg-Rudolstadt) รูดอลชตัดท์
ชวาร์ซบวร์ค-ซอนเดอร์สเฮาเซิน (Schwarzburg-Sondershausen) ซอนเดอร์สเฮาเซิน
วัลด์เอ็คและปิร์มงต์ (Waldeck und Pyrmont) อาโรลเซิน
เสรีแลฮันเซอนคร (Freie und Hansestädte)
เบรเมิน (Bremen)
ฮัมบวร์ค (Hamburg)
ลือเบค (Lübeck)
ดินแดนในพระองค์ (Reichsländer)
เอ็ลซัส-โลทริงเงิน (Elsass-Lothringen) ชตราสส์บวร์ค

อาณานิคม

จักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันในปี 1914

บิสมาร์คก่อตั้งอาณานิคมเยอรมันจำนวนมากระหว่างช่วงทศวรรษที่ 1880 ในแอฟริกาและแปซิฟิก แต่บิสมาร์คไม่ค่อยให้ความสำคัญในนโยบายอาณานิคมมากนัก ด้วยเพราะการต่อต้านรัฐบาลอาณานิคมเยอรมันอย่างรุนแรงจากชนพื้นเมือง แต่นโยบายอาณานิคมเป็นที่สนใจของกลุ่มผู้เคร่งศาสนาซึ่งได้ทำการสนับสนุนเหล่ามิชชันนารีอย่างกว้างขวางในดินแดนเหล่านั้น

รัฐบาลเยอรมันมีความต้องการสร้างอาณานิคมตั้งแต่ทศวรรษที่ 1848 แล้ว บิสมารค์ได้เริ่มกระบวนการก่อตั้งอาณานิคมบางส่วน เมือถึงปี ค.ศ. 1884 เยอรมนีได้ก่อตั้งอาณานิคม นิวกินีของเยอรมัน เมื่อถึงช่วงทศวรรษที่ 1890 การขยายอาณานิคมของเยอรมันในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ตัวอย่างเช่น อ่าวเจียวโชว และ เทียนจิน ในประเทศจีน หมู่เกาะมาเรียนา, เกาะคาโรไลน์, ซามัว) นำไปสู่การเผชิญหน้ากับสหราชอาณาจักร, รัสเซีย, ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาในการแย่งชิงอาณานิคมในทวีปแอฟริกา[12] ทำให้เกิด สงครามเฮเรโรในดินแดน ประเทศนามิเบีย ปัจจุบัน ในช่วงปี ค.ศ. 1906-ค.ศ. 1907 ส่งผลให้เกิด การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเฮเรโรและนามานคิว[13]


ประชากรศาสตร์

ประชากรจักรวรรดิราว 92% พูดภาษาเยอรมันเป็นหลัก รองลงมา 5.2% พูดภาษาโปแลนด์เป็นหลัก มีประชากรราว 0.5% ที่พูดฝรั่งเศสเป็นหลัก ซึ่งกระจุกตัวอยู่ในอาลซัส-โลทาริงเกีย

สำมะโนปี 1900

ภาษาท้องถิ่นของพลเมืองในจักรวรรดิเยอรมัน
(1 ธันวาคม ค.ศ. 1900)[14]
ภาษา ประชากร ร้อยละ (%)
เยอรมัน 51,883,131 92.05
ภาษาเยอรมัน และ ภาษาอื่น ๆ 252,918 0.45
โปแลนด์ 3,086,489 5.48
ฝรั่งเศส 211,679 0.38
มาซูเรียน, 142,049 0.25
เดนมาร์ก 141,061 0.25
ลิทัวเนีย 106,305 0.19
คาซูเรียน 100,213 0.18
Wendish (Sorbian) 93,032 0.16
ดัตช์ 80,361 0.14
อิตาลี 65,930 0.12
โมราเวีย 64,382 0.11
เช็ก 43,016 0.08
ฟรีสแลนด์ 20,677 0.04
อังกฤษ 20,217 0.04
รัสเซีย 9,617 0.02
สวีเดน 8,998 0.02
ฮังการี 8,158 0.01
สเปน 2,059 0.00
โปรตุเกส 479 0.00
ภาษาอื่น ๆ 14,535 0.03
สัมมะโนประชากร เมื่อ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1900 56,367,187 100

ศาสนา

จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ในฐานะ อัครศาสนูปถัมภกแห่งคริสตจักรอีแวนเจลิคัลแห่งมณฑลเดิมของปรัสเซีย เสด็จเยือนเยรูซาเลม ค.ศ. 1898
การนับถือศาสนาในจักรวรรดิเยอรมัน ค.ศ. 1880
พื้นที่ โปรเตสแตนต์ คาทอลิก คริสต์นิกายอื่น ยิว ศาสนาอื่น
จำนวน % จำนวน % จำนวน % จำนวน % จำนวน %
ปรัสเซีย 17,633,279 64.64 9,206,283 33.75 52,225 0.19 363,790 1.33 23,534 0.09
บาวาเรีย 1,477,952 27.97 3,748,253 70.93 5,017 0.09 53,526 1.01 30 0.00
ซัคเซิน 2,886,806 97.11 74,333 2.50 4,809 0.16 6,518 0.22 339 0.01
เวือร์ทเทิมแบร์ค 1,364,580 69.23 590,290 29.95 2,817 0.14 13,331 0.68 100 0.01
บาเดิน 547,461 34.86 993,109 63.25 2,280 0.15 27,278 1.74 126 0.01
เอ็ลซัส-โลทริงเงิน 305,315 19.49 1,218,513 77.78 3,053 0.19 39,278 2.51 511 0.03
รวมทั้งหมด 28,331,152 62.63 16,232,651 35.89 78,031 0.17 561,612 1.24 30,615 0.07

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

  1. เรียกอีกอย่างว่า
    • ไรซ์ที่สอง (เยอรมัน: Zweites Reich) คำศัพท์นี้ถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1923 และส่วนใหญ่ถูกใช้โดยพวกนาซี ในส่วนของการใช้คำโดยนักประวัติศาสตร์นั้น ไม่นิยมนำคำว่า "ไรซ์ที่สอง" มาใช้[6])
    • ไคเซอร์ไรซ์ (Kaiserreich)

อ้างอิง

  1. Preble, George Henry, History of the Flag of the United States of America: With a Chronicle of the Symbols, Standards, Banners, and Flags of Ancient and Modern Nations, 2nd ed, p. 102; A. Williams and co, 1880
  2. Fischer & Senkel 2010, p. 90.
  3. Statement of Abdication of Wilhelm II
  4. 4.0 4.1 4.2 "Population statistics of the German Empire, 1871" (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2007. สืบค้นเมื่อ 25 April 2007.
  5. "German Empire: administrative subdivision and municipalities, 1900 to 1910" (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 25 April 2007.
  6. "German Empire | Facts, History, Flag, & Map". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 November 2021.
  7. "Nobel Prizes by Country – Evolution of National Science Nobel Prize Shares in the 20th Century, by Citizenship (Juergen Schmidhuber, 2010)". Idsia.ch. สืบค้นเมื่อ 2 December 2012.
  8. 8.0 8.1 Case 1902, p. 140
  9. Edmond Taylor, The fossil monarchies: the collapse of the old order, 1905–1922 (1967) p 206
  10. Jochen Streb, et al. "Technological and geographical knowledge spillover in the German empire 1877–1918", Economic History Review, May 2006, Vol. 59 Issue 2, pp. 347–373
  11. John J. Beer, The Emergence of the German Dye Industry (1959).
  12. L. Gann and Peter Duignan, The Rulers of German Africa, 1884–1914 (1977) focuses on political and economic history; Michael Perraudin and Jürgen Zimmerer, eds. German Colonialism and National Identity (2010) focuses on cultural impact in Africa and Germany.
  13. Dedering, Tilman (1993). "The German‐Herero war of 1904: Revisionism of Genocide or Imaginary Historiography?". Journal of Southern African Studies. 19 (1): 80–88. doi:10.1080/03057079308708348. ISSN 0305-7070.
  14. "Fremdsprachige Minderheiten im Deutschen Reich" (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-06. สืบค้นเมื่อ 20 January 2010.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • Barker, J. Ellis. Modern Germany; her political and economic problems, her foreign and domestic policy, her ambitions, and the causes of her success (1907)
  • Berghahn, Volker Rolf. Modern Germany: society, economy, and politics in the twentieth century (1987) ACLS E-book
  • Berghahn, Volker Rolf. Imperial Germany, 1871–1914: Economy, Society, Culture, and Politics (2nd ed. 2005)
  • Berghahn, Volker Rolf. "German Colonialism and Imperialism from Bismarck to Hitler". German Studies Review, vol. 40, no. 1 (2017) pp. 147–162 Online
  • Blackbourn, David. The Long Nineteenth Century: A History of Germany, 1780–1918 (1998) excerpt and text search
  • Blackbourn, David, and Geoff Eley. The Peculiarities of German History: Bourgeois Society and Politics in Nineteenth-Century Germany (1984) ISBN 0-19-873058-6
  • Blanke, Richard. Prussian Poland in the German Empire (1981)
  • Brandenburg, Erich. From Bismarck to the World War: A History of German Foreign Policy 1870–1914 (1927) online .
  • Carroll, E. Malcolm. Germany and the great powers, 1866–1914: A study in public opinion and foreign policy (1938); 862pp; written for advanced students.
  • Cecil, Lamar. Wilhelm II: Prince and Emperor, 1859–1900 (1989); vol 2: Wilhelm II: Emperor and Exile, 1900–1941 (1996) vol 2 online
  • Chickering, Roger. Imperial Germany and the Great War, 1914–1918 (2nd ed. 2004) excerpt and text search
  • Clark, Christopher. Iron Kingdom: The Rise and Downfall of Prussia, 1600–1947 (2006), the standard scholarly survey; online
  • Dawson, William Harbutt. The Evolution of Modern Germany (1908), 503 pages, covers 1871–1906 with focus on social and economic history and colonies
  • Dawson, William Harbutt. Bismarck and state socialism; an exposition of the social and economic legislation of Germany since 1870 (1890) 175 pages
  • Dawson, William Harbutt. Municipal life and government in Germany (1914); 507 pages, describes the workings of local government and bureaucracy
  • Dawson, William Harbutt. Germany and the Germans (1894) 387pp; politics and parties, Volume 2
  • Eyck, Erich. Bismarck and the German Empire (1964) excerpt and text search
  • Fife, Robert Herndon. (1916). The German Empire between Two Wars; a Study of the Political and Social Development of the Nation between 1871 and 1914. New York: Macmillan Company.
  • Fischer, Fritz. From Kaiserreich to Third Reich: Elements of Continuity in German History, 1871–1945. (1986). ISBN 0-04-943043-2.
  • Geiss, Imanuel. German Foreign Policy, 1871–1914 (1979) excerpt
  • Haardt, Oliver FR. "The Kaiser in the Federal State, 1871–1918." German History 34.4 (2016): 529–554. online
  • Hayes, Carlton J. H. (1917), "The History of German Socialism Reconsidered", American Historical Review, 23 (1): 62–101, doi:10.2307/1837686, JSTOR 1837686
  • Hewitson, Mark. "Germany and France before the First World War: a reassessment of Wilhelmine foreign policy." English Historical Review 115.462 (2000): 570–606; argues Germany had a growing sense of military superiority
  • Holborn, Hajo. A History of Modern Germany: 1840–1945 (1969), pp. 173–532 online
  • Hoyer, Katja. Blood and Iron: The Rise and Fall of the German Empire 1871-1918 (2021)
  • Jefferies, Mattew. Imperial Culture in Germany, 1871–1918. (Palgrave, 2003) ISBN 1-4039-0421-9.
  • Kennedy, Paul. The Rise of the Anglo-German Antagonism, 1860–1914 (2nd ed. 1988) ISBN 1-57392-301-X
  • Koch, Hannsjoachim W. A constitutional history of Germany in the nineteenth and twentieth centuries (1984).
  • Kurlander, Eric. The Price of Exclusion: Ethnicity, National Identity, and the Decline of German Liberalism, 1898–1933 (2007).
  • Levy, Richard S. The Downfall of the Anti-Semitic Political Parties in Imperial Germany (Yale University Press, 1975).
  • Levy, Richard S. ed. Antisemitism: A historical encyclopedia of prejudice and persecution (2 vol Abc-clio, 2005).
  • Milward, Alan S. and S. B. Saul. The Development of the Economies of Continental Europe: 1850–1914 (1977) pp. 17–70.
  • Mombauer, Annika and Wilhelm Deist, eds. The Kaiser: New Research on Wilhelm II's Role in Imperial Germany (2003)
  • Mommsen, Wolfgang. Imperial Germany 1867–1918: Politics, Culture, and Society in an Authoritarian State. (1995). ISBN 0-340-64534-2.
  • Nipperdey, Thomas. Germany from Napoleon to Bismarck (1996) dense coverage of chief topics; online
  • Padfield, Peter. The Great Naval Race: Anglo-German Naval Rivalry 1900–1914 (2005)
  • Ragins, Sanford. Jewish Responses to Anti-Semitism in Germany, 1870–1914: A Study in the History of Ideas (ISD, 1980).
  • Reagin, Nancy (2001). "The Imagined Hausfrau: National Identity, Domesticity, and Colonialism in Imperial Germany". Journal of Modern History. 72 (1): 54–86. doi:10.1086/319879. JSTOR 10.1086/319879. PMID 18335627. S2CID 37192065.
  • Retallack, James. Germany in the Age of Kaiser Wilhelm II, (1996) ISBN 0-312-16031-3.
  • Retallack, James. Imperial Germany 1871–1918 (2008)
  • Rich, Norman. "The Question of National Interest in Imperial German Foreign Policy: Bismarck, William II, and the Road to World War I." Naval War College Review (1973) 26#1: 28-41. online
  • Ritter, Gerhard. The Sword and the Scepter; the Problem of Militarism in Germany. (4 vol University of Miami Press 1969–1973)
  • Richie, Alexandra. Faust's Metropolis: A History of Berlin (1998), 1139 pages, pp. 188–233
  • Sagarra, Eda. A Social History of Germany, 1648–1914 (1977) online
  • Scheck, Raffael. "Lecture Notes, Germany and Europe, 1871–1945" (2008), a brief textbook by a leading scholar
  • Schollgen, Gregor. Escape into War? The Foreign Policy of Imperial Germany. (Berg, 1990) ISBN 0-85496-275-1.
  • Smith, Helmut Walser, ed. The Oxford Handbook of Modern German History (2011), 862 pp; 35 essays by specialists; Germany since 1760 excerpt
  • Smith, Woodruff D. The German Colonial Empire (1978
  • Sperber, Jonathan. The Kaiser's Voters: Electors and Elections in Imperial Germany (1997) online review
  • Stern, Fritz. Gold and Iron: Bismarck, Bleichroder, and the Building of the German Empire (1979) Bismarck worked closely with this leading banker and financier excerpt and text search
  • Steinberg, Jonathan. Bismarck: A Life (2011), a recent scholarly biography; emphasis on Bismarck's personality online
  • Steinmetz, George (2007) The Devil's Handwriting: Precoloniality and the German Colonial State in Qingdao, Samoa, and Southwest Africa. Chicago: University of Chicago Press. ISBN 978-0226772417
  • Taylor, A.J.P. Bismarck: The Man and the Statesman (1967) online
  • Wehler, Hans-Ulrich. The German Empire, 1871–1918. (Berg, 1985). ISBN 0-907582-22-2
  • Wildenthal, Lora. German Women for Empire, 1884–1945 (2001)
ภูมิประวัติศาสตร์
  • Berghahn, Volker Rolf. "Structure and Agency in Wilhelmine Germany: The history of the German Empire, Past, present and Future," in Annika Mombauer and Wilhelm Deist, eds. The Kaiser: New Research on Wilhelm II's Role in Imperial Germany (2003) pp. 281–293, historiography
  • Chickering, Roger, ed. Imperial Germany: A Historiographical Companion (1996), 552pp; 18 essays by specialists
  • Dickinson, Edward Ross. "The German Empire: an Empire?" History Workshop Journal Issue 66, (Autumn 2008) online in Project MUSE, with guide to recent scholarship
  • Eley, Geoff; Retallack, James (2004), "Introduction", ใน Eley, Geoff; Retallack, James (บ.ก.), Wilhelminism and Its Legacies: German Modernities, Imperialism, and the Meanings of Reform, 1890–1930, ISBN 1571816879
  • Jefferies, Matthew. Contesting the German Empire 1871–1918 (2008) excerpt and text search
  • Müller, Sven Oliver, and Cornelius Torp, ed. Imperial Germany Revisited: Continuing Debates and New Perspectives (2011)
  • Reagin, Nancy R. "Recent Work on German National Identity: Regional? Imperial? Gendered? Imaginary?" Central European History (2004) v 37, pp. 273–289 doi:10.1163/156916104323121483
ข้อมูลปฐมภูมิ

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya