Share to:

 

การระเบิดที่ตุงกุสคา

การระเบิดที่ตุงกุสคา
วันที่30 มิถุนายน ค.ศ.1908
ที่ตั้งตุงกุสคาในไซบีเรีย จักรวรรดิรัสเซีย
ชื่ออื่นเหตุการณ์ตุงกุสคา
ผลต้นไม้ในป่าโค้นล้มเป็นพื้นราบกว่า 2,000 ตารางกิโลเมตร; ทั่วโลกพบเห็นตะวันตกดินเป็นแสงอร่าม

การระเบิดที่ตุงกุสคา หรือ เหตุการณ์ตุงกุสคา (อังกฤษ: Tunguska explosion, Tunguska event) เป็นการระเบิดอย่างรุนแรง ที่เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำพอดคาเมนนายาตุงกุสคา (Podkamennaya Tunguska River) เขตผู้ว่าการเยนีเรย์สค์ จักรวรรดิรัสเซีย (ปัจจุบันคือ ดินแดนครัสโนยาสค์ ตอนกลางของรัสเซีย) เมื่อเวลาประมาณ 7.12 น. วันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ.1908 ตามเวลาท้องถิ่น (GMT+7 ตามเวลาในประเทศไทย)

แม้ว่าสาเหตุยังคงเป็นประเด็นถกเถียง แต่การระเบิดคล้ายมากกับการระเบิดคลื่นอัดอากาศจากการแตกตัวของอุกกาบาตหรือดาวหางขนาดใหญ่ ที่ความสูงเหนือพื้นผิวโลก 5-10 กิโลเมตร (3-6 ไมล์) แม้ว่าการระเบิดของอุกกาบาตกลางอากาศก่อนถึงพื้นผิวเกิดขึ้นน้อยกว่าการชนพื้นผิว แต่ก็ยังจัดเป็นการปะทะของอุกกาบาตอีกลักษณะหนึ่ง การศึกษาต่างวาระแสดงหลักฐานตรงกันว่ามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 10-30 เมตร แต่ขนาดที่แน่นอนอ้างไม่ตรงกัน

ประมาณการว่า การระเบิดนี้มีความรุนแรงเทียบเท่ากับระเบิดทีเอ็นที ระหว่าง 5 เมกะตัน [1] ถึง 30 เมกะตัน[2] หรือประมาณ 1,000 เท่า [2] ของระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น การระเบิดเกิดขึ้นกลางอากาศที่ความสูงประมาณ 5-10 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน การระเบิดทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนแผ่ออกเป็นวงกว้าง เทียบเท่ากับแผ่นดินไหวที่แมกนิจูด 5.0 [3] ทำลายต้นไม้ประมาณ 80 ล้านต้น กินอาณาบริเวณประมาณ 2,150 ตารางกิโลเมตร

แม้เชื่อกันว่าเหตุการณ์ตุงกุสคาเป็นการปะทะของอุกกาบาตขนาดใหญ่ที่สุดที่มนุษย์สังเกตพบในช่วงประวัติศาสตร์มนุษย์ แต่การปะทะขนาดคล้ายกันนี้พบได้ในพื้นที่มหาสมุทรที่ห่างไกล ซึ่งพลาดการสังเกตพบในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และคริสต์ทศวรรษ 1970 เพราะยังไม่มีการคิดค้นระบบตรวจการณ์ทางดาวเทียม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. "Sandia supercomputers offer new explanation of Tunguska disaster". Sandia National Laboratories. 2007-12-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-18. สืบค้นเมื่อ 2007-12-22.
  2. 2.0 2.1 Shoemaker, Eugene (1983), "Asteroid and Comet Bombardment of the Earth", Annual Review of Earth and Planetary Sciences, US Geological Survey, Flagstaff, Arizona: Annual Review of Earth and Planetary Sciences, 11: 461, doi:10.1146/annurev.ea.11.050183.002333, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-09, สืบค้นเมื่อ 2008-07-05
  3. เป็นค่าประมาณการ เพราะขณะนั้นยังไม่มีการคิดค้นมาตราวัดริกเตอร์

แหล่งข้อมูลอื่น

60°55′N 101°57′E / 60.917°N 101.950°E / 60.917; 101.950

Kembali kehalaman sebelumnya