Share to:

 

ไซบีเรีย

ไซบีเรีย

Сибирь
ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์
  เขตสหพันธ์ไซบีเรีย
   ไซบีเรียของรัสเซียทางภูมิศาสตร์
    เอเชียเหนือ, ขอบเขตใหญ่สุดของไซบีเรีย
พิกัด: 60°0′N 105°0′E / 60.000°N 105.000°E / 60.000; 105.000
ประเทศรัสเซีย
ภูมิภาคเอเชีย
PartsWest Siberian Plain
Central Siberian Plateau
others...
พื้นที่
 • ทั้งหมด13,100,000 ตร.กม. (5,100,000 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2017)
 • ทั้งหมด33,765,005 คน
 • ความหนาแน่น2.6 คน/ตร.กม. (6.7 คน/ตร.ไมล์)
ตราแผ่นดินของไซบีเรีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตราแผ่นดินจักรวรรดิรัสเซีย จนถึง ค.ศ. 1917

ไซบีเรีย (อังกฤษ: Siberia; รัสเซีย: Сибирь, อักษรโรมัน: Sibir', สัทอักษรสากล: [sʲɪˈbʲirʲ] ) เป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขว้างในเอเชียเหนือ ไซบีเรียเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ภายหลังจากการพิชิตไซบีเรียของรัสเซียในดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขายูรัล ไซบีเรียเป็นดินแดนที่กว้างใหญ่และประชากรที่เบาบาง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 13.1 ล้าน ตารางกิโลเมตร (5,100,000 ตารางไมล์) แต่มีประชากรเพียงแค่ 1 ใน 5 ของประชากรรัสเซีย โดยมีโนโวซีบีสค์และออมสค์เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้

ในประวัติศาสตร์ไซบีเรียถูกครอบครองโดยชนเผ่าเร่ร่อนหลากหลายกลุ่มแตกต่างออกไป เช่น Yenets, the Nenets, the Hun และ the Uyghurs Khan of Sibir ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ได้เข้าครอบครองแล้วตั้งชื่อว่า Khagan ใน Avaria ในปี ค.ศ. 630 จนต่อมาพวกมองโกลได้เข้ายึดครองในช่วงศตวรรษที่ 13 และในที่สุด ได้กลายมาเป็น Siberian Khana อำนาจที่ยิ่งใหญ่ของมองโกลในภูมิภาคตะวันออกเริ่มลดลง จนในศตวรรษที่ 16 กลุ่มแรกที่เข้ามาในเขตนี้คือพวกพ่อค้า และกลุ่มคอสแซก จากนั้นกองทัพซาร์ก็เริ่มเข้ามาสร้างป้อมปราการในเขตตะวันออกไกล เมืองหลายเมืองก็ถูกสร้างขึ้นเช่น Mangazeva Tara เป็นต้น และในช่วงกลางศตวรรษที่17 จักรวรรดิรัสเซียก็ได้ขยายดินแดนไปจรดถึงชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก

ไซบีเรียตะวันออกในขณะนั้นยังคงเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้รับการสำรวจและไม่มีการอยู่อาศัยของประชาชนสักเท่าไรนักมีเพียงแค่นักสำรวจเล็กน้อย ต่อมามีพ่อค้าเข้าไปตั้งบ้านเรือนเล็กน้อย นอกจากนี้ ดินแดนไซบีเรียยังเป็นที่คุมขังของนักโทษจากรัสเซียตะวันตกด้วย การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของไซบีเรียตะวันออกคือ การสร้างทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรียที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่สอง ปี ค.ศ. 1891-1905 ซึ่งเชื่อมโยงดินแดนรัสเซียตะวันตกและรัสเซียตะวันออกเข้าด้วยกัน อันทำให้มีผู้เข้ามาอาศัยในไซบีเรียตะวันออกมากขึ้น ซึ่งดินแดนไซบีเรียเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ

ในระหว่างกลางศตวรรษที่ 20 ก็ถูกพัฒนากลายเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมขึ้นทั่วทั้งเขตเนื่องด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ห่างไกล รวมไปถึงสภาพทางเศรษฐกิจที่แตกต่าง จึงทำให้เกิดการแบ่งเขตเศรษฐกิจตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ในสมัยอดีตสหภาพโซเวียต มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับสอง รองจากเขตเศรษฐกิจตะวันออกไกล มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ทั้งป่าไม้ พันธุ์พืช รวมไปถึงแร่ธาตุ ปัจจุบัน เขตเศรษฐกิจไซบีเรียตะวันออก เป็นเขตอุตสาหกรรมที่สำคัญของสหพันธรัฐรัสเซีย อันเป็นผลมาจากความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุในไซบีเรียตะวันออกนั่นเอง

ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์

ไซบีเรียตะวันออกมีพื้นที่ทั้งหมด 4,122,800 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 24.1 ของพื้นที่รัสเซียทั้งหมดอยู่ระหว่างเส้นละติจูด 50 องศาเหนือ ถึง 70 องศาเหนือ เส้นลองจิจูด 65 องศาตะวันออกถึง 115 องศาตะวันออก ทางด้านตะวันตกติดกับไซบีเรียตะวันตก ทางด้านตะวันออก ติดกับ เขตตะวันออกไกล ทางใต้ติดกับเทือกเขาอัลไต มองโกเลีย และจีนทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนทางด้านตอนเหนือ ติดกับทะเลคารา และ ทะเลแลปเตฟ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya