Share to:

 

การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่

ภาพจำลองเหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อยพุ่งเข้าชนโลก เมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว

การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ (อังกฤษ: mass extinction) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เป็นข้อสันนิษฐานว่า เป็นสาเหตุให้สิ่งมีชีวิตบนโลกหลากชนิดหลายสายพันธุ์ต้องสูญพันธุ์ไปในเวลาพร้อม ๆ กันหรือไล่เลี่ยกัน

เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงครั้งเดียว ในช่วง ยุคครีเตเชียส (Cretaceous) ซึ่งเป็นยุคที่ไดโนเสาร์เป็นสิ่งมีชีวิตอันดับบนสุดของห่วงโซ่อาหารอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ หากแต่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง การประเมินระยะเวลาการเกิดเหตุการณ์ ทำโดยการวินิจฉัยจากซากฟอสซิลจากทะเลเป็นส่วนใหญ่ เนื่องมาจากว่าสามารถ ค้นพบได้ง่ายกว่าฟอสซิลที่อยู่บนบก

เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่เป็นที่สนใจและผู้คนทั่วไปรู้จักกันดีที่สุดคือ เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในช่วงยุคครีเตเชียส (Cretaceous) เมื่อราว 65 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์ขนาดใหญ่สูญพันธุ์ทั้งหมด เมื่อทำการศึกษาพบว่าตั้งแต่ 550 ล้านปีก่อนเป็นต้นมา ได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ขึ้นทั้งหมดประมาณ 5 ครั้ง ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปราว ๆ 50% ของทั้งหมด เนื่องจากระยะเวลาที่เกิดขึ้นนานมาก การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ก่อนหน้ายุคครีเตเชียสมักลำบากในการศึกษารายละเอียด เพราะหลักฐานซากฟอสซิลสำหรับตรวจสอบมีหลงเหลือน้อยมาก

การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ 5 ครั้ง

ชื่อเหตุการณ์และช่วงเวลา จำนวนสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์โดยประมาณ ข้อสันนิษฐานถึงสาเหตุ

เหตุการณ์สูญพันธุ์ยุคออร์โดวิเชียน-ไซลูเรียน
(Ordovician–Silurian extinction events)
450–440 ล้านปีก่อน

ทำให้สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตซึ่งอาศัยในน้ำสูญพันธุ์ไป 25% คิดเป็น 60% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำทั้งหมด

น้ำทะเลลดระดับลงจากการก่อตัวเป็นก้อนน้ำแข็งยักษ์ และต่อมาน้ำทะเลจึงเพิ่มระดับขึ้นกะทันหัน จากการละลายของก้อนน้ำแข็งขนาดยักษ์

การสูญพันธุ์ปลายยุคดีโวเนียน
(Late Devonian extinction)
375–360 ล้านปีก่อน

สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำสูญพันธุ์ไป 22% คิดเป็น 57% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำทั้งหมด

ยังไม่มีสมมติฐานที่มีน้ำหนักเพียงพอ

เหตุการณ์สูญพันธุ์ยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสซิก
(Permian–Triassic extinction event)
252 ล้านปีก่อน

  • สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไป 95% ของจำนวนสายพันธุ์ทั้งหมดบนโลก
  • สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำสูญพันธุ์ไป 53% คิดเป็น 83% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำทั้งหมด
  • สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบนพื้นดินทั้งพืชและสัตว์สูญพันธุ์ไป 70% ของจำนวนสายพันธุ์ทั้งหมดที่อาศัยบนบก
  • สมมติฐานที่ 1 อุกกาบาตขนาดใหญ่ หรือดาวเคราะห์น้อยพุ่งเข้าชนโลก
  • สมมติฐานที่ 2 ภูเขาไฟใต้น้ำระเบิด ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง
  • สมมติฐานที่ 3 อุกกาบาตพุ่งเข้าชนโลก และไปกระตุ้นให้เกิดภูเขาไฟระเบิดครั้งใหญ่

เหตุการณ์สูญพันธุ์ยุคไทรแอสซิก-จูแรสซิก
(Triassic–Jurassic extinction event)
201.3 ล้านปีก่อน

  • สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำสูญพันธุ์ไป 22% คิดเป็น 52% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำทั้งหมด
  • สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบนบกไม่ทราบจำนวนที่สูญพันธุ์ที่แน่ชัด

ภูเขาไฟใต้น้ำระเบิดครั้งใหญ่ที่บริเวณตอนกลางของมหาสมุทรแอตแลนติก ปลดปล่อยลาวาจำนวนมหาศาลออกมา และอาจทำให้เกิด ภาวะโลกร้อนขั้นวิกฤต โดยพบหลักฐานการระเบิดจากหินภูเขาไฟที่ทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ทางตะวันออกของบราซิล และทางเหนือของแอฟริกาและสเปน

เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลิโอจีน
(Cretaceous–Paleogene extinction event)
66 ล้านปีก่อน

  • สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำสูญพันธุ์ไป 16% คิดเป็น 47% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำทั้งหมด
  • สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยบนบกสูญพันธุ์ไป 18% ของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยบนบก รวมไปถึงไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ทั้งหมด

ดาวเคราะห์น้อยขนาดความกว้างหลายไมล์พุ่งเข้าชนโลก ทำให้เกิดหุบอุกกาบาตชิกซูลูบ (Chicxulub Crater) ที่บริเวณคาบสมุทรยูคาทัน (Yucatan Peninsula) และใต้อ่าวเม็กซิโก

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

Kembali kehalaman sebelumnya