Share to:

 

การส่งกลับสายแพทย์

เฮลิคอปเตอร์อาวูดอปปียา109 ส่งกลับผู้ป่วยออกจากเทิอกเขาตาตราในประเทศสโลวาเกีย

การส่งกลับสายแพทย์ (อังกฤษ: Medical evacuation มักใช้คำที่สั้นลงคือ medevac[1] หรือ medivac[1]) คือการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพรวมถึงการดูแลเส้นทางโดยบุคลากรทางการแพทย์ ต่อคนบาดเจ็บที่ส่งกลับออกจากสนามรบ จนถึงผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บซึ่งได้รับการอพยพออกจากที่เกิดเหตุเพื่อรับสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์ หรือแก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาลชนบทที่ต้องการการดูแลอย่างเร่งด่วนในสถานที่ที่มีอุปกรณ์ครบครัน โดยใช้ยานพาหนะภาคพื้นดิน (รถพยาบาล) หรืออากาศยาน (บริการทางการแพทย์ทางอากาศ)[1]

ตัวอย่าง ได้แก่ การใช้ยานพาหนะบริการการแพทย์ฉุกเฉินฝ่ายพลเรือน, เฮลิคอปเตอร์เวชศาสตร์การบินฝ่ายพลเรือน และบริการทางการแพทย์ทางอากาศในทางทหาร คำนี้ยังครอบคลุมถึงการถ่ายโอนผู้ป่วยจากสนามรบไปยังสถานรักษา หรือจากสถานพยาบาลแห่งหนึ่งไปยังอีกสถานที่โดยบุคลากรทางการแพทย์ เช่น จากโรงพยาบาลท้องถิ่นไปยังศูนย์อุบัติเหตุ

ประวัติ

เฮลิคอปเตอร์ซิกอร์สกี อาร์-5 ของกองทัพอากาศสหรัฐอพยพผู้บาดเจ็บในช่วงสงครามเกาหลี
การอพยพผู้บาดเจ็บทางอากาศโดยซี-17 จากบาอ์ลัด ประเทศอิรัก ไปยังรัมสไตน์ ประเทศเยอรมนี ในปี ค.ศ. 2007

การขนส่งทางการแพทย์ทางอากาศครั้งแรกได้รับการบันทึกในประเทศเซอร์เบีย ในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1915 ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[2] หนึ่งในทหารบาดเจ็บในการขนส่งทางการแพทย์ครั้งแรกคือมิลาน ราสติสลาฟ ชเตฟานิค ซึ่งเป็นนักบินอาสาสมัครชาวสโลวาเกียที่ได้รับการบินไปสู่ความปลอดภัยโดยนักบินชาวฝรั่งเศสชื่อหลุยส์ ปอลอ[3]

กองทัพบกสหรัฐใช้เทคนิคการช่วยชีวิตนี้ในประเทศพม่าช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สองด้วยเฮลิคอปเตอร์ซิกอร์สกี อาร์-4บี การช่วยชีวิตทางเฮลิคอปเตอร์ครั้งแรกมีขึ้นโดยเรืออากาศตรีคาร์เตอร์ ฮาร์แมน ในประเทศพม่าที่ถูกยึดครองโดยประเทศญี่ปุ่น ที่ต้องผลุบๆ โผล่ๆ หลายครั้งเพื่อนำซิกอร์สกี วายอาร์-4บี ของเขาไปยังสนามบินลับของกองบัญชาการกองทัพอากาศที่ 1 ในดินแดนศัตรู และจากนั้นได้เดินทางสี่ครั้งจากที่นั่นระหว่างวันที่ 25 และ 26 เมษายนเพื่อนำนักบินชาวอเมริกันและทหารอังกฤษที่บาดเจ็บสี่นายกลับคืนมา ครั้งละหนึ่งคน[4] ส่วนการส่งกลับสายแพทย์ภายใต้การไล่ยิงได้กระทำในกรุงมะนิลาเมื่อปี ค.ศ. 1945 เมื่อนักบินห้านายได้อพยพทหาร 75–80 นาย จำนวนหนึ่งหรือสองคนในเวลาเดียวกัน[5]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Merriam-Webster (2012). "Medevac". สืบค้นเมื่อ 27 January 2012.
  2. Serbia, RTS, Radio televizija Srbije, Radio Television of. "Veliki rat - Avijacija". rts.rs.
  3. L'homme-vent, special issue of L'Ami de Pézenas, 2010
  4. Fries, Patrick. When I Have Your Wounded: The Dustoff Legacy (DVD), Arrowhead Films, 2013.
  5. Conner, Roger. Medevac From Luzon, Air & Space Magazine, July 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya