ประเพณีแข่งเรือ เป็นประเพณีหน้าน้ำของคนไทยและประเทศใกล้เคียง เป็นการละเล่นในยามน้ำหลากที่สืบทอดมาแต่โบราณ และมักมีการแข่งเรือควบคู่ไปกับการทำบุญ ปิดทอง ไหว้พระและงานกฐิน ช่วยสร้างบรรยากาศให้งานบุญครึกครื้นขึ้น
ประเพณีแข่งเรือ เป็นการละเล่นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยในชนบทถิ่นที่อยู่อาศัยใกล้น้ำ ในช่วงเดือนสิบเอ็ดและเดือนสิบสอง ชาวบ้านเว้นว่างจากการทำไร่ทำนา เป็นโอกาสที่หนุ่มสาวได้พบปะเกี้ยวพาราสีกัน ได้เห็นฝีไม้ลายมือของชายอกสามศอก ได้เห็นความสามัคคีพร้อมเพรียงของเหล่าหนุ่มฝีพาย การแข่งเรือมักมีการเล่นเพลงเรือ เพลงปรบไก่ เพลงครึ่งท่อน และสักวาโต้ตอบกันระหว่างหนุ่มสาวหลังการแข่งเรือ เป็นการใช้ฝีปากไหวพริบและความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน โต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน ได้แสดงความสามารถทั้งหญิงและชาย ผู้ดูมีทั้งอยู่บนตลิ่ง และที่พายเรือกันไปเป็นหมู่ ต่างสนุกสนานกันทั่วหน้า
เรือแข่งที่แถบชาวบ้านลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาใช้แข่งซึ่งทำจากท่อนซุงทั้งต้น การต่อเรือยาวต้องใช้ความรู้ ความชำนาญมาก จึงจะได้เรือที่สวยและแล่นได้เร็วเวลาพาย
ปัจจุบันประเพณีการแข่งเรือยังมีเหลืออยู่บ้างไม่มากเหมือนสมัยก่อน เพราะวิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่เราไม่ค่อยจะได้ยินเสียงเพลงเห่เรือของฝีพายและของชาวบ้าน กลับได้ยินเพลงลูกทุ่งแทน เพราะขาดผู้รู้คุณค่าและความสนใจที่จะรักษาไว้ จึงไม่ได้สนับสนุนผู้มีความรู้ความสามารถในการเห่เรือ ให้สืบทอดประเพณีนี้ต่อมา เป็นที่น่ายินดีที่หน่วยงานราชการ และเอกชนบางแห่ง เล็งเห็นคุณค่าของประเพณีแข่งเรือ จึงได้จัดให้มีการแข่งเรือขึ้นในหลายๆท้องถิ่นที่อยู่ริมน้ำ ซึ่งประสบผลสำเร็จ ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติมากมาย
จุดประสงค์การแข่งขันเรือยาว
- ฉลองเทศการออกพรรษาของชาวไทยพุทธเพราะจะจัดขึ้นหลังจากออกพรรษาแล้ว
- เป็นการสร้างความสามัคคี ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน
- ในอดีตนั้นจะใช้เรือยาวในการแห่กฐินหรือผ้าป่าไปวัด และเพื่อความสนุกสนานและความเพลิดเพลิน จึงได้จัดแข่งขันเรือยาวขึ้นด้วย
- เป็นโอกาสดีของหนุ่มสาว ต่างหมู่บ้านที่จะได้รู้จักพบปะสังสรรค์กัน
ในต่างประเทศ
การแข่งเรือยาว พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ เช่น ประเทศอินเดีย พม่า กัมพูชา และลาว[1] ชื่อของการแข่งเรือเรียกในภาษาต่าง ๆ ได้แก่
- อินเดีย ในรัฐเกรละ เรียกพิธีก่อนการแข่งเรือว่า "จุนทัน วาลลัม" และการแข่งเรือยาวเรียก "วาลลัม กาลี" (Vallam Kali)[2][3] ในช่วงสิงหาคมถึงกันยายนของทุกปี
- บังกลาเทศ การแข่งเรือยาวเรียกว่า "นอคา เบส" (เบงกอล: নৌকা বাইচ หรือ Nouka Baich) [4] ในช่วงมิถุนายน ถึงตุลาคมของทุกปี ซึ่งการแข่งนี้ยังแพร่ไปตามชุมชนชาวยะไข่ในพม่าด้วยซึ่งเรียก "Pailong Poye"[5][6]
- กัมพูชา จัดการแข่งเรือยาวในช่วงเทศกาลน้ำที่เรียกว่า "พิธีบุญอมตูก" (ពិធីបុណ្យអុំទូក)[7] ในแม่น้ำโขงช่วงต่อกับตนเลสาบในช่วงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งมีทั้งแบบนั่งและยืนพาย[8][9] และมีการแข่งเรือยาวแบบนี้ในชุมชนชาวเขมรในเวียดนามตอนใต้ในบริเวณปากแม่น้ำโขงด้วย[10] ซึ่งเรียกเทศกาล"ออกอมบก" (Ok-om-bok)[11]
-
การแข่งเรือยาว "นอคา เบส" (Nouka Baich) ในบังกลาเทศ
-
การแข่งเรือยาว นอคา เบส
-
การเตรียมเรือยาวพิธีก่อนการแข่งเรือในเกรละ ฝีพายนุ่งขาวล้วน
-
เรือพิธี ในเกรละ
-
การแข่งเรือยาว "วาลลัม กาลี" ในเกรละ
-
การแข่งเรือในกัมพูชา ภาพถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2478
-
การแข่งเรือยาวในยะไข่ พม่า
อ้างอิง
- ↑ สยามรัฐ. ผลการแข่งขันเรือยาวประเพณีไทยลาวเวียดนาม ครั้งที่ 21 13 กันยายน 2563.
- ↑ Vallam Kali Movie. VALLAM KALI Snake Boat Games เก็บถาวร 2021-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2564.
- ↑ Incredible India. Vallam Kali (Boat Race) สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2564.
- ↑ Mahfuz Alam. Month-long boat race under way in Pabna. NewAge Entertainment. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2564.
- ↑ Ataul Karim Patwary, Biplab Roy, Rajidul Hoque, Shariful Alam Khandakar. Process of Developing a Community Based Tourism and Identifying its Economic and Social Impacts: An Empirical Study on Cox's Bazar, Bangladesh. Pakistan Journal of Humanities and Social Sciences January – March 2019, Volume 7, No. 1, Pages 1 – 13.
- ↑ ဓါတ်လယ်ဆရာတော် - ပရိတ်ကြီး (၁၁) သုတ် The Rakhine of Awagyun. 19 พฤศจิกายน 2563.
- ↑ អង្គរវត្ត (Nokorwat News) រាជរដ្ឋាភិបាល សម្រេចផ្អាកការប្រារព្ធព្រះរាជពិធីបុណ្យអុំទូក បណ្ដែតប្រទីប និងសំពះព្រះខែ អកអំបុក ឆ្នាំ២០២០ ភ្នំពេញ (พนมเปญ) สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2564.
- ↑ Alamy. Water festival takes place every year in Cambodia in November when the Tonle Sap river changes direction. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2564.
- ↑ Alamy. Soc Trang, Vietnam - November 13, 2016: Traditional khmer boat racing named Doi Ghe Ngo held in Soc Trang, November 13, Vietnam. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2564.
- ↑ VOVWorld. Ngo boat race of the Khmer 2 พฤศจิกายน 2563.
- ↑ Sinh Cafe Travel. Traditional festival of Khmer people in Mekong Delta[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2564.
|
---|
ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว | |
---|
กีฬาพื้นบ้าน | |
---|
การเล่นพื้นบ้าน | |
---|
|