Share to:

 

เอเชียใต้

เอเชียใต้
พื้นที่5,134,641 ตารางกิโลเมตร (1,982,496 ตารางไมล์)
ประชากร1.94 พันล้าน (2020)[1]
ความหนาแน่น362.3 ต่อตารางกิโลเมตร (938 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ)15.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (2022)[2]
จีดีพี (ราคาตลาด)4.47 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (2022)[3]
จีดีพีต่อหัว2,350 ดอลลาร์สหรัฐ (เฉลี่ย) (2022)
8,000 ดอลลาร์สหรัฐ (หุ้นส่วนมหาชน-เอกชน) (2022)[4]
เอชดีไอเพิ่มขึ้น 0.641 (2019)(ปานกลาง)[5]
กลุ่มชาติพันธุ์อินโด-อารยัน, อิหร่าน, ทราวิฑ, จีน-ทิเบต, ออสโตรเอเชียติก, เตอร์กิก ฯลฯ
ศาสนาฮินดู, อิสลาม, คริสต์, พุทธ, ซิกข์, เชน, โซโรอัสเตอร์, ไม่มี
ประเทศ
ดินแดน บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี (สหราชอาณาจักร)
ภาษา
เขตเวลา
โดเมนระดับบนสุด.af, .bd, .bt, .in, .io, .lk, .mv, .np, .pk
รหัสโทรศัพท์โซน 8 และ 9
เมืองใหญ่
รหัส UN M49034 – เอเชียใต้
142เอเชีย
001โลก

เอเชียใต้ เป็นอนุภูมิภาคทางตอนใต้ของเอเชีย ซึ่งมีการใช้งานทั้งทางภูมิศาสตร์และชาติพันธุ์-วัฒนธรรม ประเทศที่อยู่ในภูมิภาคนี้ได้แก่ อัฟกานิสถาน,[note 1] บังกลาเทศ, ภูฏาน, อินเดีย, มัลดีฟส์, เนปาล, ปากีสถาน และศรีลังกา[7] ขอบเขตของอนุทวีปทางตอนใต้ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ทางตอนเหนือติดกับเทือกเขาหิมาลัย, การาโกรัม และปามีร์ ขอบเขตทางตะวันตกเฉียงเหนือคือแม่น้ำอามูดาร์ยาที่ไหลไปทางเหนือของเทือกเขาฮินดูกูช ส่วนบนพื้นดิน (ตามเข็มนาฬิกา) ติดกับเอเชียตะวันตก เอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค (SAARC) เป็นองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่จัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1985 และรวม 8 ประเทศในเอเชียใต้[8] เอเชียใต้กินพื้นที่ประมาณ 5.2 ล้าน ตารางกิโลเมตร (2.0 ล้าน ตารางไมล์) ซึ่งเท่ากับ 11.71% ของทวีปเอเชีย หรือ 3.5% ของพื้นผิวโลก[7] ประชากรในเอเชียใต้มีประมาณ 1.9 พันล้านคน[1] หรือประมาณหนึ่งส่วนสี่ของประชากรโลก ทำให้เป็นทั้งภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดและหนาแน่นที่สุดในโลก[9]

ใน ค.ศ. 2010 เอเชียใต้มีประชากรที่เป็นชาวฮินดู, มุสลิม, ชาวซิกข์, เชน และโซโรอัสเตอร์มากที่สุด[10] โดยในเอเชียใต้อย่างเดียวมีชาวฮินดู 98.47%, ซิกข์ 90.5% และมุสลิม 31% จากทั่วโลก เช่นเดียวกันกับชาวคริสต์ 35 ล้านคนกับชาวพุทธ 25 ล้านคน[11][12][13][14]

นิยาม

คำนิยามต่าง ๆ ของเอเชียใต้ เช่น คำนิยามของแผนโลกของสหประชาชาติที่ผลิตเพื่อ "ความสะดวกทางสถิติ และไม่ได้หมายความถึงข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับการเมืองหรือความร่วมมืออื่น ๆ ของประเทศหรือดินแดนใด ๆ "[15]

คำนิยามสมัยใหม่ของเอเชียใต้มีความสอดคล้องกัน ได้แก่ อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย มัลดีฟส์ เนปาล ปากีสถาน และศรีลังกา[16][17][18] อย่างไรก็ตาม มีคำนิยามบางส่วนจัดให้ประเทศอัฟกานิสถานอยู่ในเอเชียกลาง, เอเชียตะวันตก หรือตะวันออกกลาง[19][20][21][22][23][24] ประเทศนี้เคยตกเป็นรัฐในอารักขาของบริติชหลังสงครามอังกฤษ-อัฟกานิสถานครั้งที่สองจนถึง ค.ศ. 1919[25][16][18] ในทางกลับกัน ประเทศพม่าเคยเป็นส่วนหนึ่งของบริติชราชใน ค.ศ. 1886 ถึง 1937[26] และปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฐานะรัฐสมาชิกอาเซียน บางครั้งมีการรวมเข้าในเอเชียใต้ด้วย[20][21][27] แต่อาณานิคมเอเดน, บริติชโซมาลีแลนด์ และสิงคโปร์ ไม่เคยเสนอเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียใต้ แม้ว่าจะเคยอยู่ภายใต้การปกครองของบริติชราชก็ตาม[28] ภูมิภาคนี้อาจรวมดินแดนพิพาทอักไสชิน ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐมหาราชาชัมมูและกัศมีร์ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีน แต่อินเดียก็อ้างสิทธิ์ด้วย[29]

ขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของเอเชียใต้ไม่ชัดเจน เนื่องจากการวางแนวนโยบายที่เป็นระบบและต่างประเทศของประเทศในนั้นค่อนข้างไม่สมมาตร[20] นอกเหนือจากดินแดนหลักของบริติชราชหรือจักรวรรดิบริติชอินเดียแล้ว ยังมีความหลากหลายที่ประเทศอื่นรวมอยู่ในเอเชียใต้ในระดับสูง[30][21][31][32] ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน ทั้งในทางภูมิศาสตร์ การเมือง สังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ หรือประวัติศาสตร์ ระหว่างเอเชียใต้และส่วนอื่น ๆ ของเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขอบเขตตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[33]

คำนิยามทั่วไปของเอเชียสืบทอดมาจากเขตบริหารของบริติชราช[34] โดยมีข้อยกเว้นบางส่วน ดินแดนที่ปัจจุบันคือบังกลาเทศ อินเดีย และปากีสถาน เคยเป็นดินแดนหลักของจักรวรรดิบริติชใน ค.ศ. 1857 ถึง 1947 ก็เป็นดินแดนหลักของเอเชียใต้[35][36][17][18] ประเทศบนภูเขาอย่างเนปาลและภูฏานไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของบริติชราช[37] และประเทศบนเกาะอย่างศรีลังกาและมัลดีฟส์โดยทั่วไป มีการรวมเข้าไปด้วย ส่วนนิยามต่าง ๆ ที่มีเหตุผลต่างกัน ได้รวมบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรีและเขตปกครองตนเองทิเบตด้วย[38][39][40][41][42][43][44] รัฐมหาราชา 562 แห่งที่ได้รับความคุ้มครอง แต่ไม่ได้รับการปกครองจากบริติชราชโดยตรง กลายเป็นเขตบริหารของเอเชียใต้เมื่อเข้าร่วมอินเดียหรือปากีสถาน[45][46]

ประวัติ

ก่อนประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์แกนกลางของเอเชียใต้ที่มีหลักฐานกิจกรรมของมนุษย์ Homo sapiens เริ่มต้นนานสุดที่ 75,000 ปีก่อน หรือถ้ารวมวงศ์ลิงใหญ่อย่าง Homo erectus ก็จะอยู่ที่ประมาณ 500,000 ปีก่อน[47] วัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์แรกสุดมีต้นตอในยุคหินกลาง ดังปรากฏในหลักฐานจากภาพวาดบนหินที่เพิงหินภีมเพฏกามีอายุประมาณ 30,000 ปีก่อน ค.ศ. หรือเก่ากว่านั้น[note 2] เช่นเดียวกันกับช่วงเวลายุคหินใหม่[note 3]

ประเทศและดินแดน

ประเทศ

ประเทศ พื้นที่
(ตร.กม.)
ประชากร (พ.ศ. 2552) ความหนาแน่นของประชากร
(ตร.กม.)
จีดีพี
(2552)
จีดีพีเฉลี่ยต่อประชากร
(2552)
เมืองหลวง สกุลเงิน การปกครอง ภาษาราชการ
 อัฟกานิสถาน 647,500 33,609,937[48] 52 $14,044 ล้าน $486 คาบูล อัฟกานี สาธารณรัฐอิสลาม ภาษาดารีเปอร์เซีย, ภาษาปาทาน[49]
 บังกลาเทศ 147,570 162,221,000[48] 1,099 $94,507 ล้าน $573 ธากา ตากา สาธารณรัฐระบบรัฐสภา ภาษาเบงกอล
 ภูฏาน 38,394 697,000[48] 18 $1,269 ล้าน $1,880 ทิมพู งุลตรัม, รูปีอินเดีย ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ภาษาซองคา
 อินเดีย 3,287,240 1,198,003,000[48] 365 $1,235,975 ล้าน $1,030 นิวเดลี รูปีอินเดีย สหพันธ์สาธารณรัฐ, ระบบรัฐสภา 22 ภาษาราชการ
 มัลดีฟส์ 298 396,334[48] 1,330 $1,357 ล้าน $3,932 มาเล รูฟิยา สาธารณรัฐ ภาษามัลดีฟส์
 เนปาล 147,181 29,331,000[48] 200 $12,615 ล้าน $451 กาฐมาณฑุ รูปีเนปาล สาธารณรัฐ ภาษาเนปาลี
 ปากีสถาน 803,940 180,808,000[48] 225 $166,515 ล้าน $1,016 อิสลามาบาด รูปีปากีสถาน สาธารณรัฐอิสลาม ภาษาอูรดู, ภาษาอังกฤษ, ภาษาบาลูจี, ภาษาปาทาน, ภาษาปัญจาบ, ภาษามุนทานี, ภาษาสินธี[50]
 ศรีลังกา 65,610 20,238,000[48] 309 $41,323 ล้าน $2,041 โคลัมโบ รูปีศรีลังกา สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตย ภาษาสิงหล, ภาษาทมิฬ

ดินแดนที่อาจรวมอยู่ในอนุทวีป

ดินแดน พื้นที่
(ตร.กม.)
ประชากร (พ.ศ. 2552) ความหนาแน่นของประชากร
(ตร.กม.)
จีดีพี
(2552)
จีดีพีเฉลี่ยต่อประชากร
(2552)
เมืองหลวง สกุลเงิน การปกครอง ภาษาราชการ ตราประจำชาติ
บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี 60 3,500 59 ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ดีเอโกการ์ซีอา ดอลลาร์สหรัฐ ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ประเทศพม่า พม่า 676,578 48,137,141[48][51] 71 $27,553 ล้าน $459 เนปยีดอ จัต เผด็จการทหาร ภาษาพม่า; ภาษาจิ่งเผาะ, ภาษาไทใหญ่, ภาษากะเหรี่ยง, ภาษามอญ, (ภาษาราชการในรัฐต่าง ๆ ของพม่า)
 ทิเบต 1,228,400 2,740,000 2 $6,458 ล้าน $2,357 ลาซา เหรินหมินปี้ เขตปกครองตนเองของจีน ภาษาจีน, ภาษาทิเบต

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

  1. บางครั้งมีการจัดอัฟกานิสถานให้อยู่ในเอเชียกลาง โดยทางสาธารณรัฐอิสลามถือว่าอัฟกานิสถานเป้นจุกเชื่อมระหว่างเอเชียกลางและเอเชียใต้[6]
  2. Doniger 2010, p. 66: "Much of what we now call Hinduism may have had roots in cultures that thrived in South Asia long before the creation of textual evidence that we can decipher with any confidence. Remarkable cave paintings have been preserved from Mesolithic sites dating from c. 30,000 BCE in Bhimbetka, near present-day Bhopal, in the Vindhya Mountains in the province of Madhya Pradesh."
  3. Jones & Ryan 2006, p. xvii: "Some practices of Hinduism must have originated in Neolithic times (c. 4000 BCE). The worship of certain plants and animals as sacred, for instance, could very likely have very great antiquity. The worship of goddesses, too, a part of Hinduism today, maybe a feature that originated in the Neolithic."

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Overall total population" (xlsx). United Nations. สืบค้นเมื่อ 16 July 2019.
  2. "GDP, current prices". International Monetary Fund.
  3. "GDP, current prices, Purchasing power parity; billions of international dollars, Billions of U.S. dollars". International Monetary Fund.
  4. "GDP per capita, current prices". International Monetary Fund.
  5. "Human Development Report 2020 – "Human Development Indices and Indicators"" (PDF). HDRO (Human Development Report Office) United Nations Development Programme. p. 346. สืบค้นเมื่อ 16 December 2021.
  6. Saez 2012, p. 35.
  7. 7.0 7.1 "Afghanistan". Regional and Country Profiles South Asia. Institute of Development Studies. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2017. สืบค้นเมื่อ 28 February 2019.;
    "Composition of macro geographical (continental) regions, geographical sub-regions, and selected economic and other groupings: Southern Asia". United Nations Statistics Division. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2010. สืบค้นเมื่อ 31 January 2016.;
    Arnall, A (24 September 2010). "Adaptive Social Protection: Mapping the Evidence and Policy Context in the Agriculture Sector in South Asia". Institute of Development Studies (345). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2016. สืบค้นเมื่อ 31 January 2016.;
    "The World Bank". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2015. สืบค้นเมื่อ 5 November 2015.;
    "Institute of Development Studies: Afghanistan". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2017. สืบค้นเมื่อ 28 February 2019.;
    "Harvard South Asia Institute: "Afghanistan"". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2015. สืบค้นเมื่อ 5 November 2015.;
    "Afghanistan". BBC News. 31 January 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2018. สืบค้นเมื่อ 21 July 2018.;
    "The Brookings Institution". 30 November 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2015. สืบค้นเมื่อ 5 November 2015.;
    "South Asia". The World Factbook. Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 4 March 2015.
  8. SAARC Summit. "SAARC". SAARC Summit. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2013. สืบค้นเมื่อ 17 December 2013.
  9. "South Asia Regional Overview". South Asian Regional Development Gateway. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 November 2008.
  10. Diplomat, Akhilesh Pillalamarri, The. "How South Asia Will Save Global Islam". The Diplomat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 7 February 2017.
  11. "Religion population totals in 2010 by Country". Pew Research Center. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2016.
  12. Pechilis, Karen; Raj, Selva J. (2013). South Asian Religions: Tradition and Today (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 193. ISBN 978-0-415-44851-2.
  13. "Region: Asia-Pacific". Pew Research Center. 27 January 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2017. สืบค้นเมื่อ 13 March 2016.
  14. "10 Countries With the Largest Muslim Populations, 2010 and 2050". Pew Research Center's Religion & Public Life Project. 2 April 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2017. สืบค้นเมื่อ 7 February 2017.
  15. "Standard Country or Area Codes for Statistical Use". Millenniumindicators.un.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2017. สืบค้นเมื่อ 25 August 2012. Quote: "The assignment of countries or areas to specific groupings is for statistical convenience and does not imply any assumption regarding political or other affiliation of countries or territories by the United Nations."
  16. 16.0 16.1 "Afghanistan Country Profile". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2018. สืบค้นเมื่อ 21 July 2018.
  17. 17.0 17.1 "The Brookings Institution". 30 November 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2015. สืบค้นเมื่อ 5 November 2015.
  18. 18.0 18.1 18.2 "CIA "The World Factbook"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 4 March 2015.
  19. "Indian Subcontinent เก็บถาวร 21 มกราคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Encyclopedia of Modern Asia. Macmillan Reference USA (Gale Group), 2006: "The area is divided between five major nation-states, Bangladesh, India, Nepal, Pakistan, and Sri Lanka, and includes as well the two small nations of Bhutan and the Maldives Republic... The total area can be estimated at 4.4 million square kilometres or exactly 10 percent of the land surface of Asia."
  20. 20.0 20.1 20.2 Ghosh, Partha Sarathy (1989). Cooperation and Conflict in South Asia. Technical Publications. pp. 4–5. ISBN 978-81-85054-68-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2016. สืบค้นเมื่อ 12 August 2015.
  21. 21.0 21.1 21.2 Razzaque, Jona (2004). Public Interest Environmental Litigation in India, Pakistan, and Bangladesh. Kluwer Law International. pp. 3 with footnotes 1 and 2. ISBN 978-90-411-2214-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2017. สืบค้นเมื่อ 11 December 2016.
  22. Robbins, Keith (2012). Transforming the World: Global Political History since World War II. Palgrave Macmillan. p. 386. ISBN 978-1-137-29656-6., Quote: "Some thought that Afghanistan was part of the Middle East and not South Asian at all".
  23. Saez 2012, p. 58: "Afghanistan is considered to be part of Central Asia. It regards itself as a link between Central Asia and South Asia."
  24. Margulies, Phillip (2008). Nuclear Nonproliferation. Infobase Publishing. p. 63. ISBN 978-1-4381-0902-2., Quote: "Afghanistan, which lies to the northwest, is not technically a part of South Asia but is an important neighbor with close links and historical ties to Pakistan."
  25. "Harvard South Asia Institute: "Afghanistan"". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2015. สืบค้นเมื่อ 5 November 2015.
  26. Baten, Jörg (2016). A History of the Global Economy. From 1500 to the Present. Cambridge University Press. p. 287. ISBN 978-1-107-50718-0.
  27. Sushil Mittal and Gene Thursby, Religions of South Asia: An Introduction, page 3, Routledge, 2006, ISBN 978-1-134-59322-4
  28. United Nations, Yearbook of the United Nations, pages 297, Office of Public Information, 1947, United Nations
  29. Dale Hoiberg and Indu Ramchandani, Students' Britannica India (vol. 1), page 45, Popular Prakashan, 2000, ISBN 978-0-85229-760-5
  30. Bertram Hughes Farmer, An Introduction to South Asia, pages 1, Routledge, 1993, ISBN 0-415-05695-0
  31. Mann, Michael (2014). South Asia's Modern History: Thematic Perspectives. Taylor & Francis. pp. 13–15. ISBN 978-1-317-62445-5.
  32. Anderson, Ewan W.; Anderson, Liam D. (2013). An Atlas of Middle Eastern Affairs. Routledge. p. 5. ISBN 978-1-136-64862-5., Quote: "To the east, Iran, as a Gulf state, offers a generally accepted limit to the Middle East. However, Afghanistan, also a Muslim state, is then left in isolation. It is not accepted as a part of Central Asia and it is clearly not part of the Indian subcontinent".
  33. Dallen J. Timothy and Gyan P. Nyaupane, Cultural Heritage and Tourism in the Developing World: A Regional Perspective, page 127, Routledge, 2009, ISBN 978-1-134-00228-3
  34. Navnita Chadha Behera, International Relations in South Asia: Search for an Alternative Paradigm, page 129, SAGE Publications India, 2008, ISBN 978-81-7829-870-2
  35. "The World Bank". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2015. สืบค้นเมื่อ 5 November 2015.
  36. "Institute of Development Studies: Afghanistan". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2017. สืบค้นเมื่อ 28 February 2019.
  37. Saul Bernard Cohen (2008). Geopolitics: The Geography of International Relations (2 ed.). Rowman & Littlefield Publishers. p. 329. ISBN 978-0-7425-8154-8.
  38. McLeod, John (2002). The History of India. Greenwood Publishing Group. p. 1. ISBN 978-0-313-31459-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2016. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
  39. Arthur Berriedale Keith, A Constitutional History of India: 1600–1935, pages 440–444, Methuen & Co, 1936
  40. N.D. Arora, Political Science for Civil Services Main Examination, page 42:1, Tata McGraw-Hill Education, 2010, 9780070090941
  41. Stephen Adolphe Wurm, Peter Mühlhäusler & Darrell T. Tryon, Atlas of languages of intercultural communication in the Pacific, Asia, and the Americas, pages 787, International Council for Philosophy and Humanistic Studies, Published by Walter de Gruyter, 1996, ISBN 3-11-013417-9
  42. "Indian subcontinent" > Geology and Geography เก็บถาวร 20 กุมภาพันธ์ 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  43. Haggett, Peter (2001). Encyclopedia of World Geography (Vol. 1). Marshall Cavendish. p. 2710. ISBN 978-0-7614-7289-6.
  44. Territories (British Indian Ocean Territory), Jane's Information Group
  45. Encyclopædia Britannica: A New Survey of Universal Knowledge (volume 4), pages 177, Encyclopædia Britannica Inc., 1947
  46. Ian Copland, The Princes of pre-India in the Endgame of the British Empire: 1917–1947, pages 263, Cambridge University Press, 2002, ISBN 0-521-89436-0
  47. G. Bongard-Levin, A History of India (Progress Publishers: Moscow, 1979) p. 11.
  48. 48.0 48.1 48.2 48.3 48.4 48.5 48.6 48.7 48.8 "USCensusBureau:Countries ranked by population, 2009". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-13. สืบค้นเมื่อ 2017-07-14.
  49. "Afghanistan". The World Factbook. Central Intelligence Agency. December 13, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-09. สืบค้นเมื่อ 2017-07-14.
  50. "Population by Mother Tongue" (PDF). Population Census Organization, Government of Pakistan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-02-17. สืบค้นเมื่อ 2008-05-31.
  51. Burma hasn't had a census in a many decades, figures are mostly guesswork.

ขิอมูล

อ่านเพิ่ม

  • Anthony, David W. (2007), The Horse, the Wheel, and Language: How Bronze-Age Riders from the Eurasian Steppes Shaped the Modern World, Princeton University Press
  • Beckwith, Christopher I. (2009), Empires of the Silk Road, Princeton University Press

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya