กูเกิล เอิร์ธ
กูเกิลเอิร์ธ (อังกฤษ: Google Earth) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยบริษัทกูเกิล สำหรับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือในโทรศัพท์มือถือ ดูภาพถ่ายทางอากาศพร้อมทั้งแผนที่ เส้นทาง และผังเมืองซ้อนทับลงในแผนที่ รวมทั้งระบบจีไอเอสในรูปแบบ 3 มิติ กูเกิลเอิร์ธใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศของ U.S. public domain และ ภาพถ่ายดาวเทียมของคีย์โฮล มาดัดแปลงร่วมกับระบบแผนที่ของกูเกิล จากกูเกิลแมพ รวมทั้งการทำงานร่วมกับกูเกิลโลคอล เพื่อค้นหารายชื่อร้าน เช่น ร้านขายของ ธนาคาร และปั๊มน้ำมันในแผนที่ได้ โดยนำแผนที่มาซ้อนทับลงบนตำแหน่งที่ต้องการ ตำแหน่งที่ต้องการค้นหา สามารถหาได้จาก บ้านเลขที่ ลองจิจูด ละติจูด ทั้งยังทำงานผ่านรูปแบบภาษาของ KML (Keyhole Markup Language) ภาพตึกจำลอง 3 มิติ ที่มีลักษณะเป็นสีเทาในกูเกิล เอิร์ธ ได้รับลิขสิทธิ์ส่วนหนึ่งมาจาก ซอฟต์แวร์ของ แซนบอร์น (Sanborn) ในชื่อ ซิตีเซ็ทส์ (CitySets) โดยรูปตึก 3 มิติในรูปแบบที่สมบูรณ์สามารถเรียกดูได้ผ่านทางซิตีเซ็ทส์ กูเกิล เอิร์ธ เวอร์ชัน 7.1 ทางกูเกิลทำภาษาออกมาทั้งหมด 45 ภาษา ความสามารถจำลองการบินใน กูเกิล เอิร์ธ เวอร์ชัน 4.2 ถูกเพิ่มไว้เป็นความสามรถที่ถูกซ่อนไว้ และ ถูกเปิดเผยในเวอร์ชัน 4.3 เป็นต้นมา โดยมีเครื่องบินให้เลือกเพียง 2 รุ่น คือ F-16 Fighting Falcon และ Cirrus SR-22 และมีสนามบินให้เลือกไม่มากนัก ในการควบคุมในโหมดนี้ สามารถเลือกใช้เมาส์ หรือ ใช้จอยสติ๊ก ก็ได้ มุมมองถนนถูกเปิดตัว ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ด้วย 5 เมืองใหญ่ในสหรัฐ และในปัจจุบัน เมืองใหญ่ๆและเมืองที่เป็นเมืองสำคัญๆส่วนใหญ่ของโลก ได้ถูกเพิ่มเข้าไว้ในรูปแบบของ มุมมองถนน เรียบร้อยแล้ว กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองแรกในเอเชียอาคเนย์ ที่มีการบันทึกสู่รูปแบบ มุมมองถนน กูเกิลได้เพิ่มมุมมองถนนให้กับ กูเกิล เอิร์ธ เวอร์ชัน 4.3 ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2551 และ ถูกเพิ่มให้สมบูรณ์ ในเวอร์ชัน 6.0 ที่สามารถทำงานร่วมกับ ระบบ GPS ได้ วิกิพีเดีย และ พาโนรามีโอในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 กูเกิล เอิร์ธ ได้เพิ่มเลเยอร์ใหมีที่เรียกว่า "จีโอกราฟิกเว็บ" ที่มีการทำงานร่วมกับ วิกิพีเดีย(wikipedia) และ พาโนรามีโอ(panoramio) ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 กูเกิลได้ทำการประกาศว่า ได้เข้าซื้อกิจการของ พาโนรามีโอ และในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2553 กูเกิล ได้ทำการลบ จีโอกราฟิกเว็บ และเพิ่ม พาโนรามีโอเข้ามาไว้เป็นส่วนหนึ่งของเลเยอร์หลักในกูเกิลเอิร์ธ ภาพประวัติศาสตร์ในเวอร์ชัน 5.0 ผู้ใช้สามารถเปิดแถบเวลา เพื่อนเลื่อนดูรูปถ่ายดาวเทียม ของสถานที่นั้นๆในช่วงเวลาที่ต่างกัน แต่การทำงานนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่ด้วยเช่นกัน น้ำและมหาสมุทรในเวอร์ชัน 5.0 (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552) ผู้ใช้สามารถดูพื้นที่ภายใต้มหาสมุทรแบบ 3 มิติ โดยข้อมูลที่ได้ นำมาจาก นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ และ นักมหาสมุทรศาสตร์ ในปัจจุบันพื้นที่ใต้มหาสมุทรที่มีความละเอียดสูงนั้นคิดเป็น ร้อยละ5ของพื้นน้ำทั้งหมด ซึ้งมีขนาดใหญ่กว่า ทวีปอเมริกาเหนือเสียอีก รุ่นต่างๆ และ พัฒนาการพัฒนาการ
กูเกิล เอิร์ธ พลัสกูเกิ้ล เอิร์ธพลัส (Google Earth Plus) ได้เพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกับ GPS โดยได้รับการสนับสนุนโดยตรงจาก Gamin และ Magellan ซึ้มเป็นค่ายยักษ์ใหญ่ในธุรกิจ GPS กูเกิล เอิร์ธ พลัส ถูกยกเลิก เดือนธันวาคม ปี 2551 และรวบรวมความสามารถของ กูเกิล เอร์ธพลัส ไว้ในกูเกิล เอิร์ธ เวอร์ชันฟรี รุ่น4.0.2416 กูเกิล เอิร์ธ โปรกูเกิล เอิร์ธโปร (Google Earth Pro) ต้องจ่ายเงินในราคา 399 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี กูเกิลเอิร์ธโปร เป็นเวอร์ชันที่มุ่งเน้นให้มีความสามรถมากว่า กูเกิลเอิร์ธพลัส เช่น
กูเกิล เอิร์ธ เอนเตอร์ไพรส์กูเกิล เอิร์ธ เอนเตอร์ไพรส์ (Google Earth Enterprise) เป็นรุ่นที่ได้รับการออกแบบสำหรับการออกแบบใช้งานให้เหมาะกับองค์กรที่มีธุรกิจที่สามารถจะใช้ประโยชน์จากตัวโปรแกรมได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เวอร์ชัน แอนดรอยต์ในเวอร์ชัน แอนดรอยด์ ได้มีการเปิดตัวครั้งแรก เมื่อ วันจันทร์ ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 เวอร์ชัน ไอโอเอสสำหรับเวอร์ชันของ iOS ที่สามรถใช้ได้ ทั้งบน iPhone iPodtouch iPad iPadmini ได้มีการเปิดตัว วันที่ 27 ตุลาคม 2551 เวอร์ชัน รถยนต์เวอร์ชันรถยนต์ของ กูเกิล เอิร์ธ ให้บริการในปี 2010 โดยติดตั้งในรถยนต์ ออดี้ เอ8 (Audi A8) กูเกิล เอิร์ธ ปลั๊ก-อินGoogle Earth API เป็นรุ่นเบต้าของบริการฟรีสำหรับเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อเป็นPlug-in และ JavaScript API ที่ช่วยให้สามารถวาง Google Earth ในหน้าเว็บนั้นๆได้ API ยังช่วยให้การใช้งานที่มีความซับซ้อนอย่างเช่นแผนที่ 3 มิติได้อีกด้วย และแผนที่ 3 มิติ ของ Google Earth Plug-in พร้อมใช้งานแล้วสำหรับเว็บเบราว์เซอร์และระบบปฏิบัติการต่อไปนี้: Microsoft Windows (2000, XP, Vista, และ 7)
แอปเปิ้ล Mac OS X 10.4 และสูงกว่า (Intel และ PowerPC)
ในปัจจุบันปลั๊กอินสามารถสนับสนุนความสามารถที่มากขึ้ของ กูเกิล เอิร์ธ ได้ดังต่อไปนี้:
อ้างอิงดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
|