Share to:

 

ขวานไทยใจหนึ่งเดียว

"ขวานไทยใจหนึ่งเดียว"
เพลงโดยยืนยง โอภากุล
วางจำหน่ายธันวาคม พ.ศ. 2547
บันทึกเสียงเจนเอ็กซ์ อคาเดมี สตูดิโอ (1)
เซ็นเตอร์สเตจ เรคคอร์ดิ้ง สตูดิโอ (2)
แนวเพลงเพลงพิเศษ,ป็อปร็อก,ร็อค,ลูกทุ่ง
ความยาว7 นาทีครึ่ง
ค่ายเพลงไม่มีสังกัด
ผู้ประพันธ์เพลงยืนยง โอภากุล

ขวานไทยใจหนึ่งเดียว เป็นเพลงของยืนยง โอภากุล (แอ๊ด คาราบาว) ขับร้องบันทึกเสียงนำทีมศิลปินนักร้องชาวไทยกว่า 40 ชีวิต โดยเป็นซิงเกิลการกุศลในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งมีเนื้อหาปลุกจิตสำนึกให้คนไทยมีความรักสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จากความต้องการที่จะแสดงออกถึงความห่วงใยต่อสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

เบื้องหลัง

เพลง ขวานไทยใจหนึ่งเดียว เกิดจากแนวคิดของคุณวินิจ เลิศรัตนชัย ผู้ริเริ่มโครงการ "สานใจไทย สู่ใจใต้" โดยต้องการให้เพลงนี้ถูกบรรจุด้วยนักร้องและบุคคลในวงการบันเทิงจำนวนมากที่จะมารวมกันปลุกจิตสำนึกและแสดงความห่วงใย โดยไม่มีเรื่องค่ายหรือธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยกำหนดแนวทางเพลงให้มีดนตรีไทยพื้นบ้านกับดนตรีสากล และเนื้อร้องที่สมบูรณ์แบบซึ่งทำงานสอดคล้องกับความเร่งด่วนของสถานการณ์ โดยมอบหมายให้ พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และ เทียรี่ เมฆวัฒนา ทำหน้าที่เรียบเรียงเสียงประสาน ร่วมด้วย ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี มาเป่าขลุ่ยในช่วงอินโทรของเพลง รวมทั้งได้รับพระกรุณาจาก ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จร่วมขับร้องเพลงนี้ด้วย[1]

การเผยแพร่

"ขวานไทยใจหนึ่งเดียว" ถูกเผยแพร่เป็นซิงเกิ้ลวิทยุตามสถานีวิทยุทั่วประเทศ และมิวสิกวิดีโอทางสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง เบิร์ด ธงไชย และแอ๊ด คาราบาว นำทีมศิลปิน นักร้อง นักแสดง ชาววงการบันเทิงกว่า 300 ชีวิตมาร้องเพลงร่วมกัน ณ โรงละครอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คาราบาว ได้นำเพลงนี้มาขับร้องและบรรเลงอีกครั้ง ในอัลบั้ม สามัคคีประเทศไทย กลางปี พ.ศ. 2548 โดยเปลี่ยนให้ แอ๊ด คาราบาว ร้องนำเพียงคนเดียว และสมาชิกวงร้องประสานเสียง ส่วนภาคดนตรีได้เพิ่มสีสันด้วยทีม Light Orchestra ซึ่งมีนักดนตรีเครื่องสายและเครื่องเป่าจริง และได้หยิบเอาทำนองบรรทัดสุดท้ายของเพลงชาติไทย มาใส่ไว้ท้ายเพลง[2]

ผู้ขับร้อง

ร้องเดี่ยว

ร้องประสาน

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "'ขวานไทยใจหนึ่งเดียว'คือภาษาใจในภาษาเพลง จากเนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 653 วันที่ 6 - 12 ธ.ค. 2547". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-15. สืบค้นเมื่อ 2010-05-25.
  2. "ขวานไทยใจหนึ่งเดียว-สามัคคีประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-25. สืบค้นเมื่อ 2010-06-03.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya