Share to:

 

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
Faculty of Law,
Saint John's University
คติพจน์ผดุงคุณธรรม เลิศลำวิชาการ สรรค์สร้างสังคม
สถาปนาพ.ศ. 2535
คณบดีรองศาสตราจารย์ คณาธิป ทองรวีวงศ์ 2554-2560
ที่อยู่
1110/5 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
สีสีขาว
เว็บไซต์www.stjohn.ac.th

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น เป็นหน่วยงานระดับคณะ สังกัดมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต ภาคปกติ มีการจัดการเรียนการสอนกลุ่มเรียนวันธรรมดา กลุ่มเรียนค่ำ กลุ่มเรียนเสาร์อาทิตย์ นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรปริญญาที่สองสำหรับผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาอื่นอีกด้วย


ประวัติ

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น เป็นหน่วยงานระดับคณะ สังกัดมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยมีรองศาสตราจารย์วิมลศิริ ชำนาญเวช เป็นคณบดีคนแรก และอาจารย์ปราการ วยาจุต เป็นผู้ดำเนินการร่างหลักสูตรสาขานิติศาสตร์ (ภาคค่ำ) เสนอทบวงมหาวิทยาลัย เปิดทำการเรียนการสอนในปี พ.ศ. 2536 ต่อมาได้เปิดรับนักศึกษาเข้าศึกษา "ปริญญาที่สอง" ในปี พ.ศ. 2543 และ "ภาคปกติ" ในปี พ.ศ. 2544 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ได้รับการรับรองจากเนติบัณฑิตยสภา โดยบัณฑิตจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น สามารถสมัครศึกษาต่อเนติบัณฑิต [1] ตั้งแต่สิงหาคม 2560 คณะนิติศาสตร์ แปรสภาพจากคณะวิชาเป็นสาขาวิชา สังกัด วิทยาลัยศิลปวิทยาและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น โดยยังจัดการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต รับผิดชอบโดยประธานหลักสูตร

จุดเด่นทางวิชาการของคณะ

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น เริ่มพัฒนาจุดเด่นทางวิชาการในสาขากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ สิทธิส่วนบุคคล และข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้เริ่มตั้งแต่ รองศาสตราจารย์ คณาธิป ทองรวีวงศ์ ได้เริ่มทำงานเป็นอาจารย์ประจำคณะใน ปี พ.ศ. 2546 และได้ทำการศึกษาวิจัยกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ สิทธิส่วนบุคคลและข้อมูลข่าวสาร โดยมีผลงานวิจัย บทความวิจัย บทความวิชาการ การนำเสนอในที่ประชุมวิชาการต่างๆ เกี่ยวกับกฎหมายในด้านดังกล่าวมาโดยตลอด

ต่อมาเมื่อ รองศาสตราจารย์ คณาธิป ทองรวีวงศ์ ได้ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรโดยริเริ่มจุดเน้นที่แตกต่างในสาขาวิชาเฉพาะ อันประกอบด้วย วิชาเอก 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มกฎหมายเกี่ยวกับโลจิสติกส์ กลุ่มกฎหมายการท่องเที่ยว กลุ่มกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะกลุ่มกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ปรับปรุงหลักสูตรขึ้นจากพื้นฐานงานวิจัยของ รองศาสตราจารย์ คณาธิป ทองรวีวงศ์ ผู้เป็นนักวิจัยด้านกฎหมายสิทธิส่วนบุคคลและสังคมออนไลน์ และเป็นผู้ก่อตั้งไทยไพรเวซี่ลอว์ดอตคอม[2]

ผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการ ของ รองศาสตราจารย์ คณาธิป ทองรวีวงศ์ ซึ่งเป็นการวางรากฐานทางวิชาการและหลักสูตรกฎหมายสิทธิส่วนบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น มีเช่น

ผลงานวิชาการด้านกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ/สิทธิส่วนบุคคลและสังคมออนไลน์

คณาธิป ทองรวีวงศ์ , มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกถ่ายภาพโดยมิได้รับรู้และยินยอม (2551)

คณาธิป ทองรวีวงศ์ ,มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว : ศึกษากรณีการรบกวนสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวโดยธุรกิจขายตรง (2552) [3]

คณาธิป ทองรวีวงศ์ ,มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการติดตามคุกคามทางอินเทอร์เน็ต (Cyberstalking) : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายสหรัฐอเมริกา (2554)

คณาธิป ทองรวีวงศ์ ,มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว: ศึกษากรณีการรบกวนสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวจากการใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคม (2555) [4]

คณาธิป ทองรวีวงศ์ ,มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ถูกสอดส่องการสื่อสารข้อมูล (2556)

มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการการใช้เว็บไซต์เฟสบุค, อัครเดช มณีภาค และ คณาธิป ทองรวีวงศ์, 2555 (ทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม)

มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของผู้ถูกรบกวนจากการติดต่อทาง โทรศัพท์เคลื่อนที่, ตุลญา โรจน์ทังคำ และ คณาธิป ทองรวีวงศ์ , 2554 (ทุนวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม) [5]

คณาธิป ทองรวีวงศ์ ,การนำกฎหมายเกี่ยวกับการดักฟังมาปรับใช้เพื่อคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ถูกถ่ายและเผยแพร่วีดิทัศน์ทางเว็บไซต์เครือข่ายสังคม , บทบัณฑิตย์เล่มที่ 69 ตอน 1 มีนาคม 2556

คณาธิป ทองรวีวงศ์ ,มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของเจ้าพนักงานจากการถูกถ่ายวีดิทัศน์โดยมิได้ยินยอม, วารสารกระบวนการยุติธรรม, ปีที่ 7 เล่มที่ 1 มกราคม-เมษายน 2557 หน้า 35-54 [6]

คณาธิป ทองรวีวงศ์ ,การนำหลักกฎหมายลักษณะละเมิดความเป็นอยู่ส่วนตัว (Privacy Tort) กรณีการเปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวต่อสาธารณะมาปรับใช้เพื่อคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ถูกเผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์เครือข่ายสังคม , บทบัณฑิตย์ เล่มที่ 69 ตอน 2 มิถุนายน 2556 [7]

คณาธิป ทองรวีวงศ์ ,มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว : ศึกษากรณีการรบกวนสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวจากการใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคม . วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย, ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พฤษภาคม 2555, หน้า 39-51

คณาธิป ทองรวีวงศ์ ,มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ถูกดักฟังการสื่อสารข้อมูล , วารสารกระบวนการยุติธรรม, ปีที่ 6 เล่มที่ 1 มกราคม-เมษายน, 2556 [8]

ตำรา : คณาธิป ทองรวีวงศ์, กฎหมายเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน, กรุงเทพ: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2555 [9]


ผลงานวิชาการด้านกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ/สิทธิส่วนบุคคลและสังคมออนไลน์ : การนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการนานาชาติ โดย รศ คณาธิป ทองรวีวงศ์ มีตัวอย่างเช่น

Kanathip Thongraweewong, “State Telecommunication Surveillance : A Comparative Study of the US and Thai Telecommunication Privacy Laws” : The Forth International Conference on Digital Information and Communication Technology and its applications (DICTAP 2014) , The Society of Digital Information and Wireless Communication (SDIWC), IEEE (Thailand section) , held at University of the Thai Chamber of Commerce 6-8 May, 2014 ( paper accepted in IEEE database)

Kanathip Thongraweewong, The legal protection of right to privacy in case of “Google street view”: A comparative study of Thai and E.U. Laws. : Burapha University International Conference 2014 (BUU2014) , July 3-4, 2014

Kanathip Thongraweewong, The legal protection of right to privacy in case of “Google street view”: A comparative study of Thai and US. Laws, : Burapha University International Conference 2014 (BUU2014) , July 3-4, 2014

Kanathip Thongraweewong,Data Breach Notification Laws as a preventive approach to Identity related Crimes: Lessons from the US to Thailand’s data privacy laws.  : ‘International Conference on Financial Criminology (ICFC) 2014 ,June 5-7, 2014.Rangsit University (RSU), Thailand collaborating with Universiti Teknologi MARA (UiTM) and Accounting Research Institute (ARI), Malaysia

Kanathip Thongraweewong,The protection of right to privacy in case of unsolicited advertisement through social network website : A comparative analysis of Thai and U.S. laws. The 7th International Forum on Public Relations and Advertising, Mahidol Univeristy , International College. 13-15 August, 2014

Kanathip Thongraweewong,Legal measures relating to the protection of privacy in case of Self-discloser trend on Social Network Websites and Identity-related crimes. A comparative study of Thai and U.S. laws. The 7th International Forum on Public Relations and Advertising, Mahidol Univeristy , International College. 13-15 August, 2014

Kanathip Thongraweewong,Legal measures relating to data protection A Case of disseminating personal data through social media as a consequence of conflict, International conference on Peace & Conflict Resolution, Institute for Dispute Resolution, KKU, Thailand, December 2014


ผลงานวิชาการด้านกฎหมายการท่องเที่ยวและโรงแรม โดย รศ คณาธิป ทองรีวงศ์ (Tourism and Hotel laws)

ตำรา : คณาธิป ทองรวีวงศ์, กฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยว, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2558 [10]


บทความวิชาการ

ปัญหาของกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมที่พักเพื่อการท่องเที่ยว, วารสารกระบวนการยุติธรรม, เล่มที่ 3 ปีที่ 4 กรกฎาคม-กันยายน, 2554.

ผลกระทบของพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 ต่อการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์”, วารสารวิชาการเซนต์จอห์น ปีที่ 11 ฉบับที่ 11 มกราคม – ธันวาคม 2551

ปัญหาทางกฎหมายของพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ในการควบคุมซิตติ้งไกด์, วารสารเซนต์จอห์น, ปีที่ 10 ฉบับที่ 10 มกราคม-ธันวาคม 2550

ปัญหาทางกฎหมายในการนิยามความหมายและการจัดประเภทของโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547, วารสารเซนต์จอห์น, ปีที่ 9 ฉบับที่ 9 มกราคม-ธันวาคม 2549

มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการวัตถุอันตรายและของเสียจากโรงแรม, วารสารเซนต์จอห์น, ปีที่ 9 ฉบับที่ 9 มกราคม-ธันวาคม 2549

Corporate Social Responsibility in Tourism Industry : Understanding the Synergy between good business and good environmental practice, Saint John’s Journal, Vol. 8, No 8, January-December 2006

Managing Multicultural Workforce and Marketplace in Hospitality Industry, Saint John’s Journal, Vol.6, No3, January-December 2003



หลักสูตร

  • นิติศาสตรบัณฑิต (ภาคปกติ)
  • นิติศาสตรบัณฑิต (ภาคเสาร์-อาทิตย์)
  • นิติศาสตรบัณฑิต (ปริญญาที่ 2 เสาร์-อาทิตย์

กลุ่มวิชาเลือกในหลักสูตร

  • กลุ่มวิชา กฎหมายเกี่ยวกับโลจิสติกส์(logistic laws)
  • กลุ่มวิชา กฎหมายการท่องเที่ยวและการบิน(Tourism and aviation laws)
  • กลุ่มวิชา กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information technology laws)


ทำเนียบคณบดี

ลำดับ
(สมัย)
รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 รองศาสตราจารย์วิมลศิริ ชำนาญเวช. พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2554
2 รองศาสตราจารย์คณาธิป ทองรวีวงศ์ พ.ศ. 2554 สิงหาคม 2560
3 ประธานหลักสูตรนิติศาสตร์ สิงหาคม 2560 ปัจจุบัน

ทำเนียบประธานหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต

ลำดับ
(สมัย)
รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 อ กัณฑิมา ช่างทำ. สิงหาคม 2560 ปัจจุบัน


การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบริหาร

     ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2560  มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารโดยรวมคณะวิชา 5 คณะเดิม  เข้าเป็นสาขาวิชาหนึ่งใน   วิทยาลัยศิลปวิทยาและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทำให้คณะนิติศาสตร์แปรสภาพเป็น  "สาขาวิชานิติศาสตร์"  ผลิตบัณฑิตตาม "หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต" และ รับผิดชอบโดย "ประธานหลักสูตร"  ท้งนี้ รองศาสตราจารย์คณาธิป ทองรวีวงศ์  อดีตคณบดี ได้ลาออกจากมหาวิทยาลัยในเดือนกรกฎาคม 2560 

ความร่วมมือทางวิชาการ

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น มีการตกลงร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานต่างๆ เช่น ความตกลงร่วมมือทางวิชาการกับสำนักงานศาลยุติธรรม [11] ความตกลงร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม [12] ความตกลงร่วมมือทางวิชาการกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลอลงกรณ์ [13]


อ้างอิง

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-12-22. สืบค้นเมื่อ 2014-10-18.
  2. http://www.thaiprivacylaw.com
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-10-18.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-05. สืบค้นเมื่อ 2014-10-18.
  5. http://www.copag.msu.ac.th/copag/index.php?BL=aboutcopag/abstract[ลิงก์เสีย]
  6. .http://www.ncjad.go.th/index.php/flipbook/index/all_magazine
  7. http://library.nhrc.or.th/Ser/dublin.php?ID=640
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-10-18.
  9. http://www.chulabook.com/description.asp?barcode=9789742035570
  10. http://www.chulabook.com/description.asp?barcode=9789742036096
  11. http://www.coj.go.th/jti/system/news_cms/group_policies/54-12-21/3.stjohn.pdf[ลิงก์เสีย]
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-12. สืบค้นเมื่อ 2014-10-18.
  13. http://law.husovru.com/activities_desc.php?acID=33[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya