คณะรักกางเขน
คณะรักกางเขน (ฝรั่งเศส: Amantes de la Croix; อังกฤษ: Lovers of the Holy Cross) เป็นกลุ่มคณะนักบวชคาทอลิกหญิงประจำมุขมณฑล ก่อตั้งโดยมุขนายกปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต เมื่อมาปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี ค.ศ. 1670 [2] คณะรักกางเขนที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและยังมีสมาชิกอยู่คือคณะรักกางเขน แห่ง จันทบุรี ปัจจุบันมีคุณแม่เทเรซา อุบล ผังรักษ์ เป็นมหาธิการิณี[3] ประวัติก่อตั้งสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 7 ให้สมณะกระทรวงการเผยแพร่ความเชื่อส่งมิชชันนารีคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ซึ่งประกอบด้วยมุขนายกชาวฝรั่งเศส 3 องค์และบาทหลวงผู้ติดตามอีกจำนวนหนึ่งไปทำการประกาศข่าวดีและตั้งสำนักมิสซังคาทอลิกต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกไกล โดยหนึ่งนั้นคือมุขนายกปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนพระสันตะปาปาประจำมิสซังโคชินไชนา มุขนายกปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1662 ที่หมู่บ้านโปรตุเกส เพื่อรอเวลาเดินทางไปสู่ประเทศจีนและเวียดนามตามที่ท่านได้รับมอบหมายมาในระหว่างที่พำนักรออยู่ที่อยุธยา ท่านได้รับการดลใจให้ตั้งกลุ่มผู้รักไม้กางเขนทั้งมวลคือ รักกางเขนชาย สตรีรักกางเขน และฆารวาสรักไม้กางเขน เพื่อรวมงานเผยแผ่ศาสนากับท่าน [4] จนกระทั่งปี ค.ศ. 1670 มุขนายกล็องแบร์จึงเดินทางถึงตังเกี๋ยหรือทางภาคเหนือของทางเวียดนาม และบวชกลุ่มสตรีคาทอลิกราว 30 คนตั้งเป็น "คณะรักกางเขนแห่งตังเกี๋ย" ขึ้นเป็นคณะรักกางเขนคณะแรก[5] จากนั้นในปี ค.ศ. 1671 จึงตั้ง "คณะรักกางเขนแห่งโคชินจีน" ต่อมาท่านกลับมาพำนักที่สยามและรวมกลุ่มสตรีได้ 5 คนบวชเป็นภคินี "คณะรักกางเขนแห่งสยาม" ขึ้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1672[6] วันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1679 สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 ทรงประกาศรับรองสถานะของคณะรักกางเขนทุกคณะที่มุขนายกหรืออุปมุขนายกได้ตั้งขึ้นในทวีปเอเชีย แม้มุขนายกล็องแบร์จะถึงแก่กรรมลงในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน แต่บาทหลวงคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสยังคงสืบสานเจตนารมณ์ของท่านโดยการตั้งอารามนักบวชหญิงคณะรักกางเขนขึ้นตามที่ต่าง ๆ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2011 มีคณะรักกางเขนอยู่ถึง 24 คณะในประเทศเวียดนาม[7] 3 คณะในประเทศไทย และ 1 คณะในประเทศลาว จันทบุรีเมื่อกรุงศรีอยุธยาทำสงครามกับพม่าและเสียกรุงครั้งที่สอง ซึ่งมีบันทึกอยู่ในพงศาวดารไทยว่า บรรดาภคิณีรักกางเขนที่อยุธยาได้หนีภัยสงครามในการเดินทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ไปเมืองจันทบุรี ระหว่างเดินทางภคิณีรักกางเขนได้ช่วยพยาบาลทหารและชาวบ้าน รวมทั้งเด็ก ๆ ที่เจ็บป่วย และได้ช่วยดูแลพยาบาลกรมพระเทพามาตย์ หรือพระราชชนนีในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ให้ทุเลาจากความป่วยไข้ได้ ในขณะที่แพทย์หลวงไม่สามารถรักษาได้ เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบ ก็ได้เรียกภคิณีเข้าเฝ้าและพระราชทานหมากพลูให้เป็นรางวัล และคณะภคิณีรักกางเขนก็ได้เริ่มลงหลักปักฐาน ณ จันทบุรีนับแต่นั้นเป็นต้นมา บันทึกพงศาวดารไทยอีกฉบับกล่าวว่า บ้านเมืองรวมทั้งวัดวาอารามและโรงเรียนถูกเผาไปด้วย ในขณะที่บ้านเมืองกำลังระส่ำระส่ายนั้น มีแต่อารามภคิณีคณะรักไม้กางเขนที่จันทบุรีเท่านั้นที่ดำรงอยู่ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1[8] ปัจจุบันคณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี มีศูนย์กลางคณะรักกางเขน แห่ง จันทบุรี อยู่ที่จังหวัดจันทบุรี พื้นที่ติดกับอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล โดยมีอารามบ้านแม่ชื่อ อารามแม่พระฟาติมา มีสมาชิกภคิณีในคณะอยู่ทั้งหมด 124 ท่าน[9] โดยมีคุณแม่เทเราซา อุบล ผังรักษ์ เป็นมหาธิการิณีประจำคณะรักกางเขน แห่ง จัทบุรี แห่งนี้ ในประเทศไทยและลาวคณะรักกางเขนในประเทศไทยมีอยู่ 3 คณะ ได้แก่
ในประเทศลาวมี 1 คณะ คือ คณะรักกางเขนแห่งเชียงหวาง ทั้งได้รวมกันเป็นสหพันธ์คณะภคินีรักกางเขน แห่ง ประเทศไทยและลาว[10] อ้างอิง
บรรณานุกรม |