ความแป้นความแป้น (อังกฤษ: flattening หรือ oblateness) เป็นค่าที่บ่งบอกว่าวงรีหรือทรงคล้ายทรงกลมมีรัศมีตามแนวตั้งกับแนวนอนต่างกันมากแค่ไหนเมื่อเทียบกับวงกลมหรือทรงกลม สำหรับวงกลมหรือทรงกลมจะมีค่าความแป้นเป็น 0 ในขณะที่ถ้าวงรีหรือทรงคล้ายทรงกลมนั้นแบนแต๊ดแต๋ค่าก็จะเข้าใกล้ 1 ถ้าแกนหลักของวงรีหรือทรงกลมเป็น และแกนรองเป็น ความแป้น จะคำนวณได้เป็น โดยอาจเขียนในรูปอัตราส่วน ส่วนค่าความรี จะเป็น ในกรณีของวัตถุที่หมุน แรงหนีศูนย์กลางจะทำให้ทรงกลมมีความแป้น โดยรัศมีตามแนวเส้นศูนย์สูตรจะมากกว่ารัศมีตามแนวแกนหมุน ดังนั้นในที่นี้ คือรัศมีเส้นศูนย์สูตร และ คือรัศมีตามแนวแกนหมุน ความสัมพันธ์กับความเยื้องศูนย์กลางความแป้น มีความสัมพันธ์กับค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงรี เป็นดังนี้ ตัวอย่างเช่น วงรีที่มีความแบนแป้น 0.1 มีความเยื้องศูนย์กลางประมาณ 0.43 สำหรับวงกลมสมบูรณ์แล้ว ค่าความเยื้องศูนย์กลางก็จะเป็น 0 เช่นเดียวกับค่าความแป้น และจะมีค่าเข้าใกล้ 1 เมื่อแบนแต๊ดแต๋ ข้อแตกต่างคือความเยื้องศูนย์กลางเป็นแนวคิดสำหรับภาคตัดกรวยทั่วไป ความแป้นของโลกสำหรับค่าความแป้นของโลกในทางภูมิมาตรศาสตร์ ค่าตัวแปรเสริมของ GRS80 ถูกใช้เป็นมาตรฐาน ดังนี้[1] รัศมีเส้นศูนย์สูตร (=แกนหลัก) a = 6 378 137 m ความแป้น: จากนิยามนี้ ได้ว่ารัศมีขั้ว b = 6 356 752.314 140 356 m อ้างอิง
|