คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (อังกฤษ : prefrontal cortex , ตัวย่อ PFC) เป็นส่วนหน้าของสมองกลีบหน้าผาก อยู่ข้างหน้าของคอร์เทกซ์สั่งการปฐม (primary motor cortex[ 2] ) และ คอร์เทกซ์ก่อนคอร์เทกซ์สั่งการปฐม (premotor cortex[ 3] )
สมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการวางแผนหรือโปรแกรมพฤติกรรมเกี่ยวกับการรับรู้ที่ซับซ้อน บุคลิก การตัดสินใจ และเกี่ยวข้องกับการควบคุมความประพฤติที่เกี่ยวข้องกับสังคม[ 4] ภารกิจหลักในสมองส่วนนี้ก็คือการควบคุมความคิดและการกระทำให้สอดคล้องกันไปตามเป้าหมายที่อยู่ภายในใจ[ 5]
ในศาสตร์ของจิตวิทยา กิจที่ PFC ทำเรียกว่ากิจบริหาร (executive function) กิจบริหารมีความเกี่ยวข้องกับความสามารถในการจำแนกความคิดที่ขัดแย้งกัน กับการตัดสินความมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ ความดีและความดีที่สุด ความเหมือนกันและความต่างกัน ผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเนื่องจากการกระทำปัจจุบัน การทำการเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ การพยากรณ์ผลที่จะเกิดขึ้น ความมุ่งหวังในการกระทำ และการควบคุมตนในสังคม (คือสมรรถภาพในการระงับความอยากตามสัญชาตญาณที่ถ้าไม่ระงับแล้ว ก็อาจจะนำไปสู่ผลเกี่ยวกับสังคมที่ไม่เป็นที่น่าชอบใจ)
นักวิชาการหลายท่านได้แสดงถึงความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างบุคลลิกของคนๆหนึ่ง และหน้าที่ของ PFC[ 6]
งานวิจัยเกี่ยวกับหน้าที่
กรณีที่ใช้ในการวิจัยถึงหน้าที่ของ PFC ที่มีอิทธิพลมากที่สุดอาจจะเป็นกรณีของนายฟิเนียส์ เกจ (อังกฤษ : Phineas Gage ) ผู้มีสมองกลีบหน้า ด้านซ้ายเสียหาย เนื่องจากแท่งเหล็กที่แทงทะลุศีรษะของเขาในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1848 อาการที่ปรากฏ[ 7] ก็คือ แม้ว่านายเกจจะมีความจำ การพูดจา และการเคลื่อนไหวที่ปกติ บุคลิกของเขานั้นเปลี่ยนไปอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ เขากลายเป็นคนที่ฉุนเฉียว โกรธง่าย และขาดความอดทน ล้วนแต่เป็นบุคลิกภาพที่เขาไม่ได้มีมาแต่เดิม จนกระทั่งว่า เพื่อนของเขากล่าวถึงเขาว่า "ไม่ใช่นายเกจอีกต่อไป" และเมื่อเทียบกับเมื่อก่อนที่เป็นคนงานที่มีความสามารถและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายเหลังเขากลายเป็นผู้ที่จับจดทำงานอะไรๆ ก็ไม่เสร็จ
แต่น่าสนใจว่า มีงานวิเคราะห์หลักฐานชั้นต้นอย่างละเอียดที่แสดงว่า คำพรรณนาถึงความเปลี่ยนแปลงทางจิตของนายเกจมักจะเกินเลยไป เมื่อเทียบกับคำพรรณนาของแพทย์ของนายเกจ และที่สำคัญก็คือ ความเปลี่ยนแปลงที่มีผู้พรรณนาหลังการสิ้นชีวิตของนายเกจ น่าทึ่งใจมากกว่าความเปลี่ยนแปลงที่มีผู้พรรณนาก่อนนายเกจสิ้นชีวิต[ 8] [ 9]
งานวิจัยต่อๆ มาในคนไข้ที่มีความเสียหายใน PFC แสดงว่า คนไข้สามารถพูดถึงพฤติกรรมที่เหมาะสมทางสังคมในสถานการณ์หนึ่งๆ แต่ว่า เวลาทำจริงๆ คนไข้กลับมีพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการระยะสั้น ทั้งๆ ที่รู้ว่าผลระยะยาวของพฤติกรรมที่ทำนั้นจะไม่เกื้อกูลแก่ตน
การตีความหมายของข้อมูลนี้อย่างหนึ่งก็คือ PFC ไม่ใช่มีหน้าที่เพียงแค่เปรียบเทียบและเข้าใจถึงผลในอนาคตของการกระทำเท่านั้น แต่ยังควบคุมการเลือกเฟ้นเป้าหมายภายในใจ ที่มีผลในการระงับความต้องการระยะสั้น เพื่อจะได้ผลที่สนองความต้องการระยะยาวที่ดีกว่าและให้ประโยชน์มากกว่า สมรรถภาพในการรอผลเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่แสดงความยอดเยี่ยมของกิจบริหาร ในสมองมนุษย์
มีงานวิจัยจำนวนมากที่มุ่งเพื่อเข้าใจบทบาทของ PFC ในความผิดปกติทางประสาท ความปกติหลายๆ อย่าง เช่นโรคจิตเภท โรคประสาทสองขั้ว (bipolar disorder[ 10] ) และ โรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder) มีความสัมพันธ์กับการทำงานผิดปกติของ PFC เพราะฉะนั้น การค้นพบการรักษาเยียวยาความผิดปกติเหล่านั้น จะมีได้ก็เพราะสมองส่วนนี้
ความผิดปกติหรือโรค
ที่ผ่านมาหลายทศวรรษ เทคนิคการสร้างภาพสมอง (neuroimaging) ได้ถูกใช้เพื่อวัดปริมาตร ของส่วนต่างๆ ในสมองและการเชื่อมต่อกันของเซลล์ประสาท หลายๆ งานวิจัยแสดงว่า ภาวะที่ปริมาตรของสมองหรือการเชื่อมต่อกันของสมองที่ลดลงไปมีอยู่ในบุคคลดังต่อไปนี้
เชื่อกันว่าการที่มนุษย์มีความรู้สึกผิด (guilt) หรือความสำนึกผิด (remoarse) และความสามารถในการเข้าใจความเป็นจริง ทั้งหมดขึ้นอยู่กับ PFC ที่ทำงานได้ดี[ 16] และเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า ทั้งขนาดและจำนวนการเชื่อมต่อกันของ PFC กับสมองส่วนอื่นๆ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการรับรู้ความรู้สึก (sentience[ 17] ) เพราะว่า PFC ในมนุษย์ ใช้พื้นที่ในสมอง เทียบโดยเปอร์เซ็นต์ มากกว่าสัตว์อื่นๆ ยิ่งกว่านั้น ยังมีทฤษฎีอีกด้วยว่า ในขณะที่สมองทั้งหมดมีขนาดเพิ่มขึ้นเพียง 3 เท่าในระยะเวลา 5 ล้านปีในวิวัฒนาการของมนุษย์ [ 18] PFC กลับมีขนาดเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า[ 19]
ภาพต่างๆ
ภาพต่างๆ เหล่านี้แสดงตำแหน่งของส่วนย่อยส่วนหนึ่งของ PFC (เขตบร็อดแมนน์ 10) แม้ว่าจะไม่ได้รวมส่วนของสมองที่เรียกว่า PFC ทั้งหมด
ดูเพิ่ม
อ้างอิงและหมายเหตุ
↑ Murray E, Wise S, Grahatle K (2016). "Chapter 1: The History of Memory Systems" . The Evolution of Memory Systems: Ancestors, Anatomy, and Adaptations (1st ed.). Oxford University Press. pp. 22–24. ISBN 978-0-19-150995-7 . สืบค้นเมื่อ 12 March 2017 .
↑ primary motor cortex เป็นเขตในสมองซึ่งในมนุษย์อยู่ทางด้านหลังของสมองกลีบหน้าผาก มันทำงานร่วมกับสมองเขตอื่นๆเป็นต้นว่า คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าและเขตใต้เปลือกสมองอื่นๆ เพื่อที่จะวางแผน (โปรแกรม) พฤติกรรม และก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว
↑ premotor cortex เป็นเขตใน motor cortex อยู่ในสมองกลีบหน้าผาก ด้านหน้าของ primary motor cortex เป็นเขตเดียวกันกับที่เรียกว่า เขตบร็อดแมนน์ 6 มีงานวิจัยในเขตนี้ในไพรเมต และมนุษย์ หน้าที่ของเขตสมองนี้มีมากมาย เพราะฉะนั้นจึงยังไม่มีความเข้าใจที่บริบูรณ์
↑ Yang Y, Raine A (November 2009). "Prefrontal structural and functional brain imaging findings in antisocial, violent, and psychopathic individuals: a meta-analysis" . Psychiatry Research . 174 (2): 81–88. doi :10.1016/j.pscychresns.2009.03.012 . PMC 2784035 . PMID 19833485 .
↑ Miller EK, Freedman DJ, Wallis JD (August 2002). "The prefrontal cortex: categories, concepts and cognition" . Philosophical Transactions of the Royal Society of London. Series B, Biological Sciences . 357 (1424): 1123–1136. doi :10.1098/rstb.2002.1099 . PMC 1693009 . PMID 12217179 .
↑ DeYoung CG, Hirsh JB, Shane MS, Papademetris X, Rajeevan N, Gray JR (June 2010). "Testing predictions from personality neuroscience. Brain structure and the big five" . Psychological Science . 21 (6): 820–828. doi :10.1177/0956797610370159 . PMC 3049165 . PMID 20435951 .
↑ Antonio Damasio, Descartes' Error . Penguin Putman Pub., 1994
↑ Malcolm Macmillan, An Odd Kind of Fame: Stories of Phineas Gage (MIT Press, 2000), pp.116-119, 307-333, esp. pp.11,333.
↑ Macmillan, M. (2008). "Phineas Gage – Unravelling the myth" (PDF) . The Psychologist . British Psychological Society . 21 (9): 828–831.
↑ bipolar disorder เป็นความผิดปกติของพื้นอารมณ์ (mood) คนไข้ประสบอารมณ์ที่สลับกันระหว่างอาการฟุ้งพล่าน (mania) และภาวะซึมเศร้า
↑ ตัวกระตุ้นความเครียด (stressor) คือสารเคมี สารชีวภาพ ภาวะสิ่งแวดล้อม ตัวกระตุ้นภายนอก หรือเหตุการณ์ภายนอก ที่ก่อให้เกิดความเครียด (ความเค้น) ในสิ่งมีชีวิต
↑ Liston C, Miller MM, Goldwater DS, Radley JJ, Rocher AB, Hof PR, และคณะ (July 2006). "Stress-induced alterations in prefrontal cortical dendritic morphology predict selective impairments in perceptual attentional set-shifting" . The Journal of Neuroscience . 26 (30): 7870–7874. doi :10.1523/JNEUROSCI.1184-06.2006 . PMC 6674229 . PMID 16870732 .
↑ Rajkowska G (December 1997). "Morphometric methods for studying the prefrontal cortex in suicide victims and psychiatric patients". Annals of the New York Academy of Sciences . 836 (1): 253–268. Bibcode :1997NYASA.836..253R . doi :10.1111/j.1749-6632.1997.tb52364.x . PMID 9616803 . S2CID 32947726 .
↑ sociopath คือผู้ที่มีโรคบุคลิกต่อต้านสังคม (antisocial personality disorder) มีอาการคือมีแบบอย่างทางพฤติกรรมที่ขาดความใส่ใจหรือเข้าไปทำลายสิทธิของผู้อื่น เริ่มตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยรุ่นระยะต้นๆ และดำเนินต่อไปจนถึงความเป็นผู้ใหญ่ มีความบกพร่องในความรู้ผิดรู้ชอบ คือบกพร่องในศีลธรรม และอาจจะมีประวัติทางอาชญากรรม ปัญหาเกี่ยวกับกฎหมาย และพฤติกรรมที่หุนหันพลันแล่นและก้าวร้าว
↑ Cecil KM, Brubaker CJ, Adler CM, Dietrich KN, Altaye M, Egelhoff JC, และคณะ (May 2008). Balmes J (บ.ก.). "Decreased brain volume in adults with childhood lead exposure" . PLOS Medicine . 5 (5): e112. doi :10.1371/journal.pmed.0050112 . PMC 2689675 . PMID 18507499 .
↑ Anderson SW; Bechara, A; Damasio, H; Tranel, D; Damasio, AR (1999). "Impairment of social and moral behavior related to early damage in human prefrontal cortex". Nature Neuroscience . 2 (11): 1032–7. doi :10.1038/14833 . PMID 10526345 .
↑ sentience เป็นความสามารถที่จะรู้สึก รับรู้ หรือมีสติสัมปชัญญะ หรือรับรู้อารมณ์ นักปรัชญาในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้ใช้คำนี้เพื่อทำความแตกต่างกันระหว่างความสามารถในการคิดโดยเหตุผล (reason) และความสามารถในการรับรู้ความรู้สึก (sentience)
↑ Schoenemann PT, Budinger TF, Sarich VM, Wang WS (April 2000). "Brain size does not predict general cognitive ability within families" . Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America . 97 (9): 4932–4937. Bibcode :2000PNAS...97.4932S . doi :10.1073/pnas.97.9.4932 . PMC 18335 . PMID 10781101 .
↑ Ted Cascio, Dr Ted Cascio. "Ph.D. in Hollywood Ph.D." Ted Cascio is co-editor of House & Psychology . Psychology Today. สืบค้นเมื่อ 2011-11-15 .
แหล่งข้อมูลอื่น