Share to:

 

ค่ายมวยแฟร์เท็กซ์

แฟร์เท็กซ์
ประเภทเอกชน
อุตสาหกรรมมวยไทย, คิกบอกซิง, บราซิลเลียนยิวยิตสู, ศิลปะการต่อสู้แบบผสม
ก่อตั้งพ.ศ. 2518
ผู้ก่อตั้งบรรจง บุษราคัมวงษ์
สำนักงานใหญ่เมืองพัทยา, ,
พื้นที่ให้บริการหลายประเทศทั่วโลก
ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ศิลปะการต่อสู้, อุปกรณ์กีฬา, เสื้อผ้ากีฬา
บริการผลิต, จัดการนักต่อสู้
เว็บไซต์fairtex.com

ค่ายมวยแฟร์เท็กซ์ หรือ แฟร์เท็กซ์ยิม (อังกฤษ: Fairtex Gym) เป็นชื่อของค่ายมวยไทยที่มีอยู่หลายแห่งทั่วโลก ซึ่งค่ายมวยแฟร์เท็กซ์ดั้งเดิมได้รับการก่อตั้งขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ใน พ.ศ. 2518 โดยมีบรรจง บุษราคัมวงษ์ ผู้เป็นพ่อของเปรม บุษราคัมวงษ์ เป็นผู้ก่อตั้ง[1]

ประวัติ

โรงงานผลิตอุปกรณ์และเสื้อผ้ากีฬาแฟร์เท็กซ์ ได้รับการก่อตั้งขึ้นโดย บรรจง บุษราคัมวงษ์ ใน พ.ศ. 2514 ที่ได้ทำการจัดจำหน่ายอุปกรณ์ฝึกซ้อมมวยไทยรวมถึงเสื้อยืดตราแฟร์เท็กซ์ ซึ่งได้ทำการจัดจำหน่ายนอกประเทศไทย ก่อนที่จะมีการจัดตั้งค่ายมวยแฟร์เท็กซ์แห่งแรกที่กรุงเทพใน พ.ศ. 2518 แต่ภายหลัง ได้ย้ายไปยังอำเภอบางพลี จากนั้น บรรจงก็ได้จัดรายการแข่งขันศึกแฟร์เท็กซ์ขึ้นใน พ.ศ. 2521 เมื่อเขาได้กลายมาเป็นโปรโมเตอร์มวยที่สนามมวยเวทีลุมพินี[1]

ใน พ.ศ. 2536 ได้มีการเปิดค่ายมวยแฟร์เท็กซ์ใน เมืองแชนด์เลอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ภายหลังได้ย้ายไปยัง ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ใน พ.ศ. 2509 และได้ปิดตัวลงใน พ.ศ. 2554 จากนั้น ได้มีการเปิดค่ายมวยสี่แห่งในเขตโตเกียวใน พ.ศ. 2547 และอีกแห่งที่เมืองพัทยาในปีถัดมา[2]

จวบจนปัจจุบัน ได้มีการจัดตั้งมีค่ายมวยแฟร์​เท็กซ์ขึ้นที่ อำเภอบางพลี, เมืองพัทยา (ที่ประเทศไทย), เมาน์เทนวิว, นิววอร์ค, ซานฟรานซิสโก ซึ่งได้ปิดทำการ (ที่สหรัฐอเมริกา), อะระกะวะ, ชิบะ, ไทโต และวะระบิ (ที่ประเทศญี่ปุ่น)[3]

นักมวยที่มีชื่อเสียง

นักมวยไทย

นักมวยสากล

นักศิลปะการต่อสู้แบบผสม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ‘เจ้าบ่าว 100 ล้าน’ (ไทย)
  2. "History at official site". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-02. สืบค้นเมื่อ 2012-07-11.
  3. List of facilities on official site
  4. 4.0 4.1 "ทำเนียบยอดมวยดัง - ดาวรุ่งของศึกเพชรยินดี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-09. สืบค้นเมื่อ 2012-07-11.
  5. น็อกเอาต์ฉบับมวยสยาม. ปีที่ 23 ฉบับที่ 1941. ISSN 15135438. หน้า 32
  6. 1.18 代々木 ムエタイ強豪8人の相手求む เก็บถาวร 2009-01-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ญี่ปุ่น)
  7. [全日本キック] 10.16 後楽園:ムエタイに全敗も日本健闘 BoutReview 2005年10月17日
  8. "น้องตุ้มคืนเวทีตะบันนักชกยุ่น ที่พัทยา 26 นี้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-07-11.
  9. “แสตมป์” เด็กสร้างแห่งแฟร์เท็กซ์ ฉีกทุกขีดจำกัดสู่มวยหญิงยุคใหม่
  10. Omar El Halabi (Lebanon) vs Sangtiennoi Sitsontidech (Thailand), สืบค้นเมื่อ 2021-08-06
  11. "Swedish Fighter Smilla Sundell Set For Huge Fight At Muay Thai Super Champ This Weekend". Fight Record (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-09-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-06. สืบค้นเมื่อ 2021-08-06.
  12. "2016 & 2019 World Martial Arts Masterships Champion sets sights on mixed martial arts world". Benzinga (ภาษาอังกฤษ).
  13. "Mark "Tyson" Abelardo". ONE Championship – The Home Of Martial Arts (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  14. "Arash Mardani". ONE Championship – The Home Of Martial Arts (ภาษาอังกฤษ).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya