พหุคูณของไบต์
|
|
อุปสรรคฐานสอง
|
ค่า
|
ไออีซี
|
|
1024
|
KiB |
กิบิไบต์
|
KB |
กิโลไบต์
|
10242
|
MiB |
เมบิไบต์
|
MB |
เมกะไบต์
|
10243
|
GiB |
จิบิไบต์
|
GB |
จิกะไบต์
|
10244
|
TiB |
เทบิไบต์
|
TB |
เทระไบต์
|
10245
|
PiB |
เพบิไบต์
|
–
|
10246
|
EiB |
เอกซ์บิไบต์
|
–
|
10247
|
ZiB |
เซบิไบต์
|
–
|
10248
|
YiB |
ยอบิไบต์
|
–
|
–
|
–
|
|
อันดับของขนาดของข้อมูล
|
กิกะไบต์[1][2] หรือ จิกะไบต์[1][2] (gigabyte) ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์
จิกะไบต์ มีขนาดอ้างอิงหลัก ๆ ได้สองอย่างคือ
เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างสองความหมายข้างต้น หน่วยงานมาตรฐาน IEC แนะนำให้เรียกปริมาณ 1,073,741,824 ไบต์เป็นชื่อใหม่ว่า จิบิไบต์ หรือ กิบิไบต์ (gibibyte) และใช้ตัวย่อว่า GiB แทน ในขณะที่ปริมาณ 1,000,000,000 ไบต์ยังคงใช้ จิกะไบต์ตามเดิม
การใช้งานทั่วไป
- ฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบันมักระบุความจุในหน่วยจิกะไบต์ ความจุที่แท้จริงอาจสูงหรือต่ำกว่าที่ระบุเล็กน้อย หน่วยความจุจิกะไบต์ที่ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ใช้ คือ 1,000,000,000 ไบต์ ในขณะที่ระบบปฏิบัติการหลายตัวแสดงค่าความจุของดิสก์โดยใช้ค่า 1,073,741,824 ไบต์ ซึ่งอาจสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้
- อ้างอิงจากปี พ.ศ. 2548 ราคาต่อหน่วยความจุของฮาร์ดดิสก์ อยู่ที่ระหว่าง 25 ถึง 50 บาท ต่อ จิกะไบต์ โดยประมาณ[ต้องการอ้างอิง]
- คำว่า จิกะไบต์ หรือ จิกะไบต์ มักพูดย่อ ๆ ว่า จิ๊ก หรือ กิ๊ก
- หน่วย กิกะบิต หรือ จิกะบิต มีค่าเท่ากับ 1/8 ของจิกะไบต์ เป็นหน่วยหนึ่งที่ใช้ในการระบุความเร็วการส่งของระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- รหัสยูนิโคดมีตัวอักษรพิเศษสำหรับจิกะไบต์ (㎇) ใช้รหัส ㎇ เว็บเบราว์เซอร์บางตัวอาจไม่สามารถแสดงตัวอักษรนี้ได้
อ้างอิง