ชัชวาลล์ คงอุดม หรือที่รู้จักกันในชื่อ ชัช เตาปูน (นามเดิม ; ชัชวาลย์ คงอุดม ; 12 พฤศจิกายน 2486 - ) เป็นนักการเมืองและนักธุรกิจชาวไทย ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและอดีตหัวหน้าพรรคพลังท้องถิ่นไท
เขาทำหน้าที่เป็นสมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับการเลือกตั้งจากกรุงเทพในปี พ.ศ. 2543 ถึง 2549 และเคยเป็นบรรณาธิการบริหาร โดยได้รับความไว้วางใจจาก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ให้สืบสานกิจการหนังสือพิมพ์สยามรัฐ โดยทั้งสองได้นับถือกันเป็นพ่อ-ลูก สมัยที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตดุสิต และได้รับการช่วยเหลือจาก ชัช เตาปูน[1]
ชัชวาลล์ คงอุดม ก่อตั้ง พรรคพลังท้องถิ่นไท ในปี พ.ศ. 2555[2] การเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2562 ปัจจุบันมี ส.ส.จำนวน 5 ที่นั่ง[3][4][5]
จนในที่สุดพรรคของเขาได้รับเลือกตั้งจำนวน 3 ที่นั่ง และตัดสินใจเข้าร่วมรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และในปี พ.ศ. 2563 พรรคของเขาได้รับสมาชิกใหม่เพิ่มอีก 2 คน ซึ่งถูกขับให้ออกจากพรรคอนาคตใหม่ กระทั่งในวันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2565 นายชัชวาลล์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส. และสมาชิกพรรคพลังท้องถิ่นไท[6] โดยในวันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2565 นายชัชวาลล์ได้เดินทางมาสมัครสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมกับนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี และนายชุมพล กาญจนะ[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ คิง เคนนี่ (30 October 2017). "ใครบอกเป็นเจ้าพ่อผมไม่โกรธนะ อย่ามาว่าผมเป็นมาเฟีย". COP'S Magazine. สืบค้นเมื่อ 30 March 2019.
- ↑ ""ชัช เตาปูน" กับการฝืนคำสั่ง"พ่อ"". Kom Chad Luek. 2 November 2018. สืบค้นเมื่อ 30 March 2019.
- ↑ Thaitrakulpanich, Asaree (5 February 2019). "Election Gets Epic With Cinematic Campaign Posters". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 30 March 2019.
- ↑ "14 พรรคกวาด ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 'อนาคตใหม่' คว้ามากสุด 57 ที่นั่ง". VoiceTV. 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 30 March 2019.
- ↑ "ล่าสุด! เปิดโฉม 27 พรรค ยึด ส.ส.เขต-บัญชีรายชื่อจากฐานคะแนน 100%". Matichon Online. 28 March 2019. สืบค้นเมื่อ 30 March 2019.
- ↑ 'ชัช เตาปูน' ลาออกส.ส.พลังท้องถิ่นไท จ่อซบรวมไทยสร้างชาติ
- ↑ ‘ไตรรงค์-ชุมพล-ชัช เตาปูน’ เปิดตัวซบรวมไทยสร้างชาติยก ‘บิ๊กตู่’ ผู้มากบารมี!
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘