เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ (อังกฤษ: The Most Admirable Order of the Direkgunabhorn) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 เพื่อพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน แบ่งออกเป็น 7 ชั้น พระราชทานแก่บุรุษและสตรีตามที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควร หรือผ่านการเสนอชื่อผู้ที่สมควรได้รับจากรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐเพื่อขอพระราชทานต่อไป[1] ประวัติแต่เดิมนั้นรัฐบาลจะขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับบุคคลซึ่งกระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน 2 ตระกูล ได้แก่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย แต่เนื่องจากบุคคลซึ่งกระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชนนั้นมากขึ้นเป็นลำดับ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลใหม่ขึ้น เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 นามว่า "เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์" สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความดีความชอบแก่บุคคลที่ทำประโยชน์ดังกล่าวเป็นการเฉพาะ โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงเป็นองค์ประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะพระราชทานและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ได้[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้อนุญาตให้หน่วยงานรัฐหรือรัฐบาลเสนอชื่อบุคคลที่สมควรเพื่อขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ได้[1]เช่นเดียวกันกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประเภท ลำดับชั้น และ ลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 7 ชั้น ได้แก่[2]
ลักษณะชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ มีอักษรย่อว่า ป.ภ. มีลำดับเกียรติอยู่ในลำดับที่ 12 จาก 36 ลำดับ[4] ประกอบด้วยดวงตรา ดารา และสายสะพาย สำหรับสตรีนั้นดวงตรา ดารา และสายสะพาย จะมีลักษณะเหมือนที่พระราชทานแก่บุรุษทุกประการ แต่จะมีขนาดย่อมกว่า โดยมีลักษณะ ดังนี้
ใช้สำหรับประดับห้อยกับสายสะพาย ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร สีเขียว ริมสีแดงชาด มีริ้วสีขาวและสีเหลืองขนาดเล็กควบคั่นทั้งสองข้าง สะพายบ่าขวาเฉียงลงทางซ้าย
ชั้นที่ 2 ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ มีอักษรย่อว่า ท.ภ. มีลำดับเกียรติอยู่ในลำดับที่ 17 จาก 36 ลำดับ[4] ประกอบด้วยดวงตรา ดารา และแพรแถบ สำหรับสตรีนั้นดวงตราและดารา จะมีลักษณะเหมือนที่พระราชทานแก่บุรุษทุกประการ แต่จะมีขนาดย่อมกว่า โดยมีลักษณะ ดังนี้
ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ตติยดิเรกคุณาภรณ์ มีอักษรย่อว่า ต.ภ. มีลำดับเกียรติอยู่ในลำดับที่ 25 จาก 36 ลำดับ[4] ประกอบด้วย ดวงตรา มีลักษณะอย่างทุติยดิเรกคุณาภรณ์
ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ มีอักษรย่อว่า จ.ภ. มีลำดับเกียรติอยู่ในลำดับที่ 30 จาก 36 ลำดับ[4] ประกอบด้วย ดวงตรา มีลักษณะอย่างตติยดิเรกคุณาภรณ์ แต่ขนาดย่อมกว่า
ชั้นที่ 5 เบญจมดิเรกคุณาภรณ์เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ มีอักษรย่อว่า บ.ภ. มีลำดับเกียรติอยู่ในลำดับที่ 35 จาก 36 ลำดับ[4] ประกอบด้วย ดวงตรา มีลักษณะอย่างจตุตถดิเรกคุณาภรณ์
ชั้นที่ 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ มีอักษรย่อว่า ร.ท.ภ. เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติอยู่ในลำดับที่ 6 ในหมู่เหรียญบำเหน็จในราชการ[4] ประกอบด้วย
ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ มีอักษรย่อว่า ร.ง.ภ. เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติอยู่ในลำดับที่ 9 ในหมู่เหรียญบำเหน็จในราชการ[4] ประกอบด้วย ดวงตรา เป็นเหรียญรูปกลมสีเงิน มีลักษณะและวิธีการประดับอย่างเดียวกับเหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์
|