ช้างบอร์เนียว (E. m. borneensis) มีขนาดตัวเล็กที่สุด จนถูกเรียกว่าเป็น "ช้างแคระ" พบในตอนเหนือของเกาะบอร์เนียวใกล้กับรัฐซาบะฮ์และกาลีมันตันของมาเลเซีย ผลการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมจากไมโทคอนเดรียระบุว่า บรรพบุรุษของช้างบอร์เนียวได้แยกออกจากประชากรแผ่นดินใหญ่เมื่อประมาณ 300,000 ปีก่อน[8]
ช้างเอเชียต่อไปนี้ก่อนหน้าถูกเสนอให้เป็นชนิดย่อยที่สูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ปัจจุบันได้รับการพิจารณาว่าเป็นชนิดย่อย (ชื่อพ้อง) ของช้างอินเดีย (E. m. indicus)[9] ทั้งสามได้รับการเสนอโดยเฏรานิยกรา (Deraniyagala) (1950) นักบรรพชีวินวิทยาและนักสัตววิทยาชาวศรีลังกา[10]
ช้างซีเรีย (E. m. asurus) มีขนาดใหญ่ที่สุดมีความสูงจากไหล่ถึง 11 ฟุตซึ่งใหญ่กว่าชนิดแรกพบในพบทางตอนใต้ของตุรกีจนถึงอิหร่านของปัจจุบันนี้แต่ในปัจจุบันช้างเหล่านี้ได้สูญพันธุ์ตั้งแต่ 100 ปีก่อนคริสต์ศักราช [11][10]
ช้างจีน (E. m. rubridens) เป็นช้างที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งซึงมีสายพันธุ์ใกล้เคียงกับพาลีโอโลโซดอนซึ่งช้างดึกดำบรรพ์ชนิดหนึ่งช้างจีนมีลักษณะมีลำตัวสีชมพูอ่อนๆเล็กน้อยไปตามตัวพบในทางตะวันออกของจีน แต่ปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ ศตวรรษที่ 14 แล้ว[10]
ช้างชวา (E. m. sondaicus) ปรากฏเป็นภาพแกะสลักบนพุทธศาสนาสถานโบโรบูดูร์[10][12] และบันทึกบางฉบับสันนิษฐานว่าช้างอาจนำเข้ามาจากอินเดียในช่วงที่ศาสนาฮินดูรุ่งเรืองในชวา[13]
↑ 2.02.1Choudhury, A., Lahiri Choudhury, D.K., Desai, A., Duckworth, J.W., Easa, P.S., Johnsingh, A.J.T., Fernando, P., Hedges, S., Gunawardena, M., Kurt, F., Karanth, U., Lister, A., Menon, V., Riddle, H., Rübel, A., Wikramanayake, E. (2008). "Elephas maximus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2010.4.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
↑ 10.010.110.210.3Deraniyagala, P.E.P. (1955). Some Extinct Elephants, Their Relatives and the Two Living Species. Colombo: Ceylon Natural History Museum.