ณเณร ตาละลักษณ์
ร้อยโท ณ เณร ตาละลักษมณ์ (ณ เณร อ่านว่า นอ-เนน) เป็นบุตรชายของพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) อดีตนายทหาร, นักการเมือง และนักหนังสือพิมพ์ชาวไทย ผู้ถูกตัดสินประหารชีวิตในปี พ.ศ. 2482 ประวัติร.ท. ณ เณร เป็นนายทหารกองหนุน ที่ลาออกราชการเพื่อเป็นผู้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่หนึ่ง ในเขต 2 จังหวัดพระนคร จากการเลือกตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2476 ไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ได้คะแนนเสียงมาเป็นลำดับที่สี่ จากทั้งหมดสามอันดับ และการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2481 ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นลำดับแรก อีกทั้งยังเป็นบรรณาธิการและเจ้าของหนังสือพิมพ์ "ชุมชน" ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่ลงบทความวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในขณะนั้นในเรื่อง พิจารณาพระราชบัญญัติงบประมาณ ที่มี พระยาพหลพลหยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างรุนแรง ซึ่งต่อมาพระยาพหลฯได้ตัดสินใจยุบสภาฯ และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมกับยุติทุกบทบาททางการเมือง ร่วมก่อการกบฏร.ท. ณ เณร ถูกจับในข้อหากบฏร่วมกับผู้ต้องหาอีกหลายคนในกรณีกบฏพระยาทรงสุรเดช เมื่อ พันเอก หลวงพิบูลสงคราม ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อ ด้วยข้อหาว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รื้อค้นบ้านพักแล้วพบขวดหมึกสีแดง 3 ขวด สันนิษฐานว่าเป็นยาพิษที่ใช้ลอบวางยาสังหาร พ.อ.หลวงพิบูลฯ ซึ่งผู้ต้องหาหลายคนถูกพยานอ้างว่า ได้วางแผนกันเพื่อลอบสังหารตัว พ.อ.หลวงพิบูลฯ และบุคคลชั้นสูง ทั้ง ๆ ที่ในบรรดาผู้ต้องหานั้นหลายคนไม่ได้รู้จักหรือเคยพบปะกันมาก่อนเลย ซึ่งตัวของ ร.ท. ณ เณร ได้ถูกศาลพิเศษที่ถูกจัดตั้งขึ้นพิพากษาให้ประหารชีวิตในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 ร.ท. ณ เณร ถูกจับเมื่อกลับมาจากต่างจังหวัด และถูกควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจบางกอกน้อย ต่อมาก็ถูกย้ายไปจำคุก ณ เรือนจำกองมหันตโทษ จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2482 และถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในเวลา 05.55 น. ของวันที่ 3 ธันวาคม ปีเดียวกัน ซึ่งถือเป็นนักโทษประหารชุดสุดท้าย พร้อมกับนายลี บุญตา คนรับใช้ของ พ.อ.หลวงพิบูลฯ ที่ใช้ปืนไล่ยิง พ.อ.หลวงพิบูลฯ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 การเสียชีวิตตลอดระยะเวลาที่ดำเนินคดี และติดคุก ตลอดจนถึงการประหารชีวิต ร.ท. ณ เณร ไม่ได้มีอาการประหวั่นหวาดกลัวใด ๆ หนำซ้ำยังมีอารมณ์ร่าเริง มักจะร้องเพลงที่ดัดแปลงเสมือนประชดชะตากรรมตัวเอง และเล่าเรื่องราวตลกโปกฮาต่าง ๆ แก่เพื่อนนักโทษคนอื่น ๆ เมื่อถูกยิงแล้วแต่ยังไม่ตาย ยังได้ร้องตะโกนให้เพชฌฆาตยิงซ้ำอีกจนกระทั่งถึงแก่ความตาย[1] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ดูเพิ่มอ้างอิง
|