ดับเบิลยูเอเอสพี-104บี
ดับเบิลยูเอเอสพี-104บี (อังกฤษ: WASP-104b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบจำพวกดาวพฤหัสบดีร้อนที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดับเบิลยูเอเอสพี-104 ดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ที่ดำที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ[2][3] ดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกพบใน พ.ศ. 2557 ในการค้นพบครั้งแรกมันถูกคิดว่าผิวของมันสามารถดูดซับแสงได้ 60% แต่จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยคีลใน พ.ศ. 2561 แสดงให้เห็นว่าผิวของมันดูดซับแสงได้มากกว่า 97% เนื่องบรรยากาศของมันมีโซเดียมและโพแทสเซียมอยู่อย่างหนาแน่น[2] ความดำดับเบิลยูเอเอสพี-104บีได้รับการยอมรับจากนักวิจัยว่ามันเป็นหนึ่งหนึ่งในดาวเคราะห์นอกระบบที่ดำที่สุดเท่าที่ค้นพบ[2][4] พ.ศ. 2561 นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคีลได้กล่าวว่าผิวของมันดูดซับแสงได้มากกว่า 97% เพราะมีโซเดียมและโพแทสเซียมจำนวนมากบนชั้นบรรยากาศ[2] หนังสือพิมพ์หกหน้าที่แผยแพร่ในหอสมุดมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์อธิบายเกี่ยวกับดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้ว่า "ดำกว่าถ่าน" และเห็นด้วยกับคำที่ว่า "หนึ่งในดาวเคราะห์ที่สะท้อนแสงน้อยที่สุดเท่าที่พบในปัจจุบัน"[2][5] มีการพิจารณาว่ามีดาวเคราะห์อีกสองดวงที่ดำกว่าดับเบิลยูเอเอสพี-104บี คือทีอาร์อีเอส-2บีและดับเบิลยูเอเอสพี-12บี[2] แสงดาวของมันถูกนำไปเปรียบเทียบกับดับเบิลยูเอเอสพี-12บีเพราะดับเบิลยูเอเอสพี-12บีสามารถดูดซับแสงได้ 94%[6] ลักษณะขนาด รัศมีและอุณหภูมิดับเบิลยูเอเอสพี-104บีมีขนาดใกล้เคียงกับดาวพฤหัสบดีโดยมีมวลมากกว่า 1.272 เท่าและมีรัศมีมากกว่า 1.137 เท่า[1] มีความหนาแน่นต่ำเนื่องจากส่วนมากประกอบด้วยก๊าซ[1] วงโคจรและดาวฤกษ์ดับเบิลยูเอเอสพี-104บีเป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่รู้จักเพียงดวงเดียวที่หมุนรอบดาวฤกษ์ดับเบิลยูเอเอสพี-104 ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่มีอายุ 3 พันล้านปีและเป็นดาวฤกษ์ประเภทG8 ดับเบิลยูเอเอสพี-104บีใช้เวลา 2 วันในการโคจรรอบดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างจากมัน 2.6 ล้านไมล์ มีรัศมีวงโคจรที่ 0.02918 AU[7][1] มันอยู่ในกลุ่มดาวสิงโตและห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 466 ปีแสง[1] [2] [7] อ้างอิง
|