Share to:

 

ดาราจักรแอนดรอเมดา

ดาราจักรแอนดรอเมดา
A visible light image of the Andromeda Galaxy. Messier 32 is to the left of the galactic nucleus and Messier 110 is at the bottom right.
ข้อมูลสังเกตการณ์ (ต้นยุคอ้างอิง J2000)
อ่านว่า/ænˈdrɒmɪdə/
กลุ่มดาวAndromeda
ไรต์แอสเซนชัน00h 42m 44.3s[1]
เดคลิเนชัน+41° 16′ 9″[1]
การเคลื่อนไปทางแดงz = −0.001004 (minus sign indicates blueshift)[1]
ความเร็วรัศมีเฮลิโอ−301 ± 1 km/s[2]
ระยะทาง765 kpc (2.50 Mly)[3]
ความส่องสว่างปรากฏ (V)3.44[4][5]
ความส่องสว่างสัมบูรณ์ (V)−21.5[a][6]
ลักษณะเฉพาะ
ประเภทSA(s)b[1]
มวล(1.5±0.5)×1012[7] M
จำนวนดวงดาว~1 trillion (1012)[10]
ขนาด46.56 kpc (152,000 ly)
(diameter; 25.0 mag/arcsec2 B-band isophote)[1][8][b]
ขนาดที่ชัดเจน (V)3.167° × 1°[1]
ชื่ออื่น
M31, NGC 224, UGC 454, PGC 2557, 2C 56 (Core),[1] CGCG 535-17, MCG +07-02-016, IRAS 00400+4059, 2MASX J00424433+4116074, GC 116, h 50, Bode 3, Flamsteed 58, Hevelius 32, Ha 3.3, IRC +40013

ดาราจักรแอนดรอเมดา (อังกฤษ: Andromeda Galaxy; หรือที่รู้จักในชื่ออื่นคือ เมซีเย 31 เอ็ม 31 หรือ เอ็นจีซี 224 บางครั้งในตำราเก่า ๆ จะเรียกว่า เนบิวลาแอนดรอเมดาใหญ่) เป็นดาราจักรชนิดก้นหอย ที่อยู่ห่างจากเราประมาณ 2.5 ล้านปีแสง[11] อยู่ในกลุ่มดาวแอนดรอเมดา ถือเป็นดาราจักรแบบกังหันที่อยู่ใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือกของเรามากที่สุด สามารถมองเห็นเป็นรอยจาง ๆ บนท้องฟ้าคืนที่ไร้จันทร์ได้แม้มองด้วยตาเปล่า

ดาราจักรแอนดรอเมดาเป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มดาราจักรท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยดาราจักรแอนดรอเมดา ดาราจักรทางช้างเผือก ดาราจักรสามเหลี่ยม และดาราจักรขนาดเล็กอื่น ๆ อีกกว่า 30 แห่ง แม้ดาราจักรแอนดรอเมดาจะเป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ดาราจักรที่มีมวลมากที่สุด จากการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้บ่งชี้ว่า ดาราจักรทางช้างเผือกมีสสารมืดมากกว่าและน่าจะเป็นดาราจักรที่มีมวลมากที่สุดในกลุ่ม[12] ถึงกระนั้น จากการสังเกตการณ์โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์เมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า ดาราจักร M31 มีดาวฤกษ์อยู่ราว 1 ล้านล้านดวง ซึ่งมีจำนวนมากกว่าดาวฤกษ์ในดาราจักรของเรา[13] ผลการคำนวณเมื่อปี 2006 ประมาณการว่า มวลของดาราจักรทางช้างเผือกน่าจะมีประมาณ 80% ของดาราจักรแอนดรอเมดา คือประมาณ 7.1×1011 เท่าของมวลดวงอาทิตย์[14]

ดาราจักรแอนดรอเมดามีระดับความสว่างที่ 4.4 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัตถุเมซีเยที่สว่างที่สุดวัตถุหนึ่ง[15] และสามารถมองเห็นได้โดยง่ายด้วยตาเปล่า แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะในอากาศอยู่บ้าง หากไม่ใช้กล้องโทรทรรศน์ช่วย อาจมองเห็นดาราจักรเป็นดวงเล็ก ๆ เพราะสามารถมองเห็นได้เพียงส่วนสว่างที่สุดซึ่งเป็นศูนย์กลาง แต่เส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุมทั้งหมดของดาราจักรกินอาณาบริเวณกว้างถึง 7 เท่าของดวงจันทร์เต็มดวงทีเดียว

ทั้งนี้ ดาราจักรแอนดรอเมดาและดาราจักรทางช้างเผือกคาดว่าจะปะทะและรวมกันเป็นดาราจักรรี (elliptical galaxy) ขนาดใหญ่ ในอีก 3.75 พันล้านปีข้างหน้า [16]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ned
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Karachentsevetal2006
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ adam
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ SIMBAD-M31
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ GAXEL
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Ribas2005
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ GalaxyMass
  8. De Vaucouleurs, Gerard; De Vaucouleurs, Antoinette; Corwin, Herold G.; Buta, Ronald J.; Paturel, Georges; Fouque, Pascal (1991). Third Reference Catalogue of Bright Galaxies. Bibcode:1991rc3..book.....D.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Chapman et al 2006
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ trillion-stars
  11. I. Ribas, C. Jordi, F. Vilardell, E.L. Fitzpatrick, R.W. Hilditch, F. Edward (2005). "First Determination of the Distance and Fundamental Properties of an Eclipsing Binary in the Andromeda Galaxy". Astrophysical Journal 635: L37-L40. doi:10.1086/499161.
  12. "Dark matter comes out of the cold", BBC News, 5 กุมภาพันธ์ 2006.
  13. Young, Kelly (2006-06-06). Andromeda galaxy hosts a trillion stars (English). NewScientistSpace.
  14. Karachentsev, I. D.; Kashibadze, O. G. (2006). "Masses of the local group and of the M81 group estimated from distortions in the local velocity field". Astrophysics 49 (1) : 3–18. doi:10.1007/s10511-006-0002-6.
  15. Frommert, H.; Kronberg, C. (22 สิงหาคม 2007). Messier Object Data, sorted by Apparent Visual Magnitude. SEDS.
  16. Junko Ueda; และคณะ. "Cold molecular gas in merger remnants. I. Formation of molecular gas disks". The Astrophysical Journal Supplement Series. 214 (1). arXiv:1407.6873. Bibcode:2014ApJS..214....1U. doi:10.1088/0067-0049/214/1/1.



อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน

Kembali kehalaman sebelumnya