Share to:

 

ดินประสิว

โพแทสเซียมไนเตรต[1]
Potassium nitrate
ชื่อ
IUPAC name
Potassium nitrate
ชื่ออื่น
Saltpeter
Saltpetre
Nitrate of potash[2]
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
ChEMBL
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.028.926 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
EC Number
  • 231-818-8
เลขอี E252 (preservatives)
KEGG
RTECS number
  • TT3700000
UNII
UN number 1486
  • InChI=1S/K.NO3/c;2-1(3)4/q+1;-1 checkY
    Key: FGIUAXJPYTZDNR-UHFFFAOYSA-N checkY
  • InChI=1/K.NO3/c;2-1(3)4/q+1;-1
    Key: FGIUAXJPYTZDNR-UHFFFAOYAM
  • [K+].[O-][N+]([O-])=O
คุณสมบัติ
KNO3
มวลโมเลกุล 101.1032 กรัม/โมล
ลักษณะทางกายภาพ ของแข็งสีขาว
กลิ่น ไม่มีกลิ่น
ความหนาแน่น 2.109 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร (16 °C)
จุดหลอมเหลว 334 องศาเซลเซียส (633 องศาฟาเรนไฮต์; 607 เคลวิน)
จุดเดือด 400 องศาเซลเซียส (752 องศาฟาเรนไฮต์; 673 เคลวิน) (เน่าเปื่อย)
133 กรัม/น้ำ 1000 กรัม (0 °C)
316 กรัม/น้ำ 1000 กรัม (20 °C)
383 กรัม/น้ำ 1000 กรัม (25 °C)
2439 กรัม/น้ำ 1000 กรัม (100 °C)[3]
ความสามารถละลายได้ ค่อนข้างละลายน้ำในเอธานอล
ละลายน้ำในกลีเซอรอล, แอมโมเนีย
Basicity (pKb) 15.3[4]
−33.7·10−6 ลูกบาศก์เซนติเมตร/โมล
1.335, 1.5056, 1.5604
โครงสร้าง
Orthorhombic, Aragonite
อุณหเคมี
95.06 จูล/โมล K
-494.00 กิโลจูล/โมล
ความอันตราย
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS/OSH):
อันตรายหลัก
ตัวออกซิไดซ์ เป็นอันตรายถ้ากลืน หายใจเข้า หรือดูดซึมเข้าผิวหนัง สร้างความระคายเคืองบนผิวหนังและตา
GHS labelling:
GHS03: Oxidizing The exclamation-mark pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)
H272, H315, H319, H335
P102, P210, P220, P221, P280
NFPA 704 (fire diamond)
จุดวาบไฟ ไม่ติดไฟ (ออกซิไดซ์)
ปริมาณหรือความเข้มข้น (LD, LC):
1901 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ปาก, กระต่าย)
3750 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ปาก, หนู)[5]
เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS) ICSC 0184
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
แอนไอออนอื่น ๆ
โพแทสเซียมไนไตรต์
แคทไอออนอื่น ๆ
ลิเทียมไนไตรต์
โซเดียมไนไตรต์
รูบิเดียมไนไตรต์
ซีเซียมไนไตรต์
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง
โพแทสเซียมซัลเฟต
โพแทสเซียมคลอไรด์
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

ดินประสิว หรือ โพแทสเซียมไนเตรต (อังกฤษ: potassium nitrate) เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมีเป็น KNO
3
มีจำนวนอะตอมอยู่ 5 อะตอม เป็นดินที่เป็นกรดเกิดจากมูลของค้างคาว โดยการที่นำเอามูลค้างคาวมาต้มเคี่ยว แล้วทิ้งไว้ให้เย็น จะมีเกล็ดสีขาวเกาะอยู่ เรียกว่า “ดินประสิวขาว” ส่วนดินประสิวตามร้านสมุนไพรทั่ว ๆ ไปนั้นจะมีจุดสีเหลือง ๆ สีดำ ๆ แสดงว่าทำยังไม่สะอาดดี การกลั่นกรองยังใช้ไม่ดี

ประโยชน์

ดินประสิวที่ทางภาคเหนือนั้นจะขาว นำมาเป็นส่วนผสมของดอกไม้เพลิง ใช้ทำดินปืน ทำดอกไม้เพลิง หรือใช้ใส่อาหารหมักดอง เช่น พวกปลาร้า ปลาเจ่า หมูแหนม ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ผสมในอาหารได้ในปริมาณที่กำหนด คือ ใช้ไนเตรทได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม และไนไตรท์ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารบูดเน่า ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อคลอสตริเดียม โบทูไลนัม หรือ เพื่อรักษาสีของเนื้อสัตว์ให้ดูใหม่สด [6]

ในธุรกิจอาหารจะใช้ดินประสิวเป็นสารกันบูดและสารถนอมสีเนื้อสัตว์ให้ดูสดอยู่เสมอ ความจริงแล้วผลของการกันบูดกันเสียนั้น สำคัญอยู่ที่อนุพันธ์ไนเตรต ดังนั้นในการถนอมอาหาร จึงสามารถใช้ไนเตรตในรูปอื่นด้วย คือ โซเดียมไนเตรต และนอกจากไนเตรตแล้ว ยังมีสารอีกชนิดหนึ่งที่คนชอบใช้เป็นสารกันบูดก็คือไนไตรต์ แต่ด้วยคุณสมบัติของไนเตรตและไนไตรต์ที่สามารถรักษาสีของเนื้อสัตว์ให้ดูสดอยู่ เสมอได้ โดยการทำปฏิกิริยากับสีของเม็ดเลือดแดง ทำให้สีคงทนอยู่ได้นานนี้ เป็นสาเหตุให้พ่อค้าแม่ค้าที่ไม่รู้ถึงอันตราย ที่อาจจะเกิดขึ้น หรืออาจจะด้วยความเห็นแก่ตัว เห็นแก่เงินต้องการขายสินค้าของตัวเองให้ได้มาก ๆ จึงใส่ดินประสิวหรือไนเตรตและสารไนไตรต์ในปริมาณสูงลงในอาหารเพื่อปกปิดสภาพ ที่แท้จริงของอาหารให้อาหารอย่างพวกเนื้อเค็ม ปลาเค็ม กุนเชียง ไส้กรอก เบคอน แหนมเป็นสีแดงสวยแม้จะค้างนานวันก็ตาม จากการสุ่มตัวอย่าง เคยตรวจพบ เนื้อเค็ม เนื้อสวรรค์ ไส้กรอก ไตปลาดิบ มีสารไนเตรตและไนไตรต์ในปริมาณที่สูงมากเกินปริมาณที่กระทรวงสาธารณสุขของไทยกำหนดให้ใช้ จุดประสงค์ที่ทางคณะกรรมการอาหารและยาอนุญาตให้ใช้สารในกลุ่มนี้ได้ เนื่องจากสารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติใน การป้องกันการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด โดยเฉพาะป้องกันการเจริญของเชื้อคลอสตริเดียมโบทูลินัม ซึ่งเชื้อนี้สามารถสร้างสารพิษโบทูลิน ที่มีอันตรายร้ายแรงมาก เชื้อโรคชนิดนี้มักเจริญเติบโตในอาหารที่เก็บในภาชนะปิดสนิทอากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ เช่น อาหารกระป๋อง[7]

ในตำรายาโบราณเรียกเกลือสุรจระ ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศอินเดีย โดยนำดินที่มีโพแทสเซียมไนเตรตปนอยู่มาต้ม กรอง แล้วเคี่ยวให้แห้ง ใช้เป็นยาขับลม ถอนพิษ ถ้านำมาจากมูลค้างคาวเรียกดินประสิว[8]

โทษ

ดินประสิวเป็นสารก่อมะเร็ง[ต้องการอ้างอิง] สามารถทำปฏิกิริยากับสารเอมีน (amine) ในปลาหรือในร่างกายของมนุษย์ โดยมีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเป็นตัวช่วยทำให้เกิดสารประกอบหลายชนิดที่มีโครงสร้างคล้ายกัน เรียกว่า "ไนโตรซามีน" สารเหล่านี้บางชนิดไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ แต่บางชนิดจะร้ายแรงมากทำให้เป็นมะเร็งได้ ถ้ารับประทานไนเตรตเข้าไปมาก ๆ อาจทำให้เกิดอาการท้องร่วงรุนแรงมาก อาจเกิดอาการตัวเขียว หายใจไม่ออกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก ๆ จะยิ่งไวต่อสารเคมีชนิดนี้มากกว่าผู้ใหญ่

ปัจจุบัน ยังพบว่าสารไนไตรต์สามารถจะทำปฏิกิริยากับสารประกอบบางอย่างในอาหาร และสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป แล้วเกิดเป็นสารประกอบชนิดใหม่ขึ้น เรียกว่าสารไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารเคมีกลุ่มที่อาจทำให้เกิดเป็นมะเร็งใน อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้ การเกิดไนโตรซามีนนั้นอาจเกิดมาจากไนเตรต เปลี่ยนเป็นไนไตรต์ โดยเชื้อแบคทีเรียบางชนิด แล้วไนไตรต์ก็จะทำปฏิกิริยากับอามีนที่มีอยู่ในเนื้อสัตว์บางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่เป็นกรด จะเกิดปฏิกิริยาได้ไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารที่ก่อมะเร็งได้อย่างรวดเร็วในระยะหลังพบว่าไนโตรซามีนสามารถ เกิดขึ้นได้ในร่างกาย โดยเฉพาะในกระเพาะอาหารที่มีสภาวะเป็นกรด เมื่อเราได้รับไนเตรตเข้าไปในร่างกายแล้ว ภายใน 1-2 ชม. ร่างกายขับไนเตรตและบางส่วนเปลี่ยนเป็นไนไตรต์ออกมาทางน้ำลายสูง เมื่อเรากลืนน้ำลายผสมกับอาหารที่มีอามีนสูงก็จะเกิดปฏิกิริยาในกระเพาะอาหาร ได้ ดังนั้นถ้าเรากินอาหาร ที่มีดินประสิวหรือไนเตรตและสารไนไตรต์สูง แล้วกินอาหารที่มีอามีนในมื้อถัดไปก็จะได้รับ ไนโตรซามีนที่เกิดขึ้นในกระเพาะอาหารได้

อ้างอิง

  1. Record of Potassium nitrate in the GESTIS Substance Database of the Institute for Occupational Safety and Health, accessed on 2007-03-09.
  2. Gustafson, A. F. (1949). Handbook of Fertilizers - Their Sources, Make-Up, Effects, And Use. p. 25. ISBN 9781473384521. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-17.
  3. B. J. Kosanke; B. Sturman; K. Kosanke; I. von Maltitz; T. Shimizu; M. A. Wilson; N. Kubota; C. Jennings-White; D. Chapman (2004). "2". Pyrotechnic Chemistry. Journal of Pyrotechnics. pp. 5–6. ISBN 978-1-889526-15-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-05.
  4. Kolthoff, Treatise on Analytical Chemistry, New York, Interscience Encyclopedia, Inc., 1959.
  5. chem.sis.nlm.nih.gov เก็บถาวร 2014-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. "ไนเตรทและไนไตรท์". กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-14. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "อาหารที่มีดินประสิว". Healthy Canpus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-11. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 4 เครื่องยาธาตุวัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2556. หน้า 58 - 60

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya