Share to:

 

ค้างคาว

ค้างคาว
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยอีโอซีนปัจจุบัน
ค้างคาวแวมไพร์ธรรมดาค้างคาวมงกุฎใหญ่ค้างคาวผลไม้จมูกสั้นใหญ่ค้างคาวผลไม้อียิปต์ค้างคาวหางอิสระเม็กซิโกค้างคาวหูหนูใหญ่
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
เคลด: Scrotifera
อันดับ: ค้างคาว

Blumenbach, 1779
อันดับย่อย

(ดั้งเดิม):

(ใหม่):

การกระจายตัวของชนิดค้างคาว

ค้างคาวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในอันดับ Chiroptera[a] ค้างคาวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดเดียวที่บินได้จริงและต่อเนื่องด้วยขาหน้าที่ปรับตัวกลายเป็นปีก ค้างคาวบินได้คล่องตัวกว่านก เนื่องด้วยขาที่ยื่นยาวออกมาและคลุมไปด้วยเยื่อบุผิวบาง ๆ หรือพาทาเจียม ค้างคาวขนาดเล็กที่สุด คือ ค้างคาวคุณกิตติ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็กที่สุดด้วย ลำตัวยาว 29–34 มิลลิเมตร เมื่อกางปีกออกมีความยาว 15 เซนติเมตร และหนัก 2–2.9 กรัม ค้างคาวขนาดใหญ่ที่สุด คือ ค้างคาวในสกุล Pteropus และ Acerodon jubatus ซึ่งหนักได้ถึง 1.6 กิโลกรัม และมีความยาวตลอดปีกที่ 1.7 เมตร

ค้างคาวเป็นอันดับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองรองจากอันดับสัตว์ฟันแทะ ค้าวคาวคิดเป็น20%ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทั้งหมด โดยมีชนิดมากกว่า 1,400 ชนิด ค้างคาวได้รับการจำแนกออกเป็นสองอันดับย่อยโดยดั้งเดิม ได้แก่ ค้างคาวผลไม้ที่เป็นส่วนใหญ่ และค้างคาวกินแมลงที่สามารถใช้เสียงสะท้อนระบุตำแหน่งที่ตั้งได้ แต่หลักฐานใหม่เมื่อไม่นานมานี้สนับสนุนการจำแนกอันดับออกเป็นอันดับย่อย Yinpterochiroptera และ Yangochiroptera โดยจัดค้างคาวผลไม้บางกลุ่มรวมกับค้างคาวกินแมลงหลายชนิดในอันดับย่อยแรก ค้างคาวจำนวนมากบริโภคแมลง และส่วนใหญ่ของค้างคาวที่เหลือบริโภคผลไม้ มีค้างคาวบางชนิดที่บริโภคสัตว์อื่นเป็นอาหารแทนแมลง เช่น ค้างคาวแวมไพร์ที่บริโภคเลือด ค้างคาวส่วนใหญ่เป็นสัตว์ออกหากินตอนกลางคืน และส่วนใหญ่ในจำนวนนี้ก็เกาะอาศัยอยู่ในถ้ำหรือที่พักอื่น ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าค้างคาวมีพฤติกรรมเช่นนี้เพื่อหลีกเลี่ยงจากผู้ล่าเหยื่อ ค้างคาวพบได้ทั่วโลกยกเว้นในบางบริเวณที่หนาวจัด ค้างคาวเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศในการผสมเกสรดอกไม้และกระจายเมล็ดของดอกไม้ไปตามที่ต่าง ๆ พืชเขตร้อนจำนวนมากต้องพึ่งพาค้างคาวเหล่านี้ในการผสมเกสรและการกระจายเมล็ด

ค้างคาวให้ประโยชน์บางอย่างแก่มนุษย์ แต่แลกมากับภัยคุกคามบางอย่าง มูลค้างคาวสามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยขี้นกได้ ค้างคาวยังบริโภคแมลงศัตรูพืช ลดความต้องการในสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ บางครั้งค้างคาวก็มีจำนวนมากพอที่จะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว และใช้บริโภคเป็นอาหารในทวีปเอเชียและขอบแปซิฟิก ค้างคาวยังเป็นพาหะธรรมชาติของจุลชีพก่อโรคหลายชนิด เช่น โรคพิษสุนัขบ้า และ ไวรัสโคโรนาเนื่องจากค้างคาวเคลื่อนไหวได้ง่ายมาก ชอบสมาคม และมีอายุยืน ค้างคาวจึงแพร่โรคได้อย่างรวดเร็ว ในวัฒนธรรมจำนวนมาก ค้างคาวมักมีความเกี่ยวข้องกับความมืด ความประสงค์ร้าย เวทมนตร์ แวมไพร์ และความตาย

ข้อมูลทั่วไป

มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดนอกจากค้างคาวที่ใช้ชีวิตเหินหาวกลางอากาศได้ เช่นชูการ์ไกลเดอร์ บ่าง และ กระรอกบิน แต่การเคลื่อนที่ของสัตว์เหล่านั้นเป็นการร่อน ส่วนการเคลื่อนที่ของค้างคาวเป็นการบิน นับเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเพียงชนิดเดียวที่บินได้อย่างแท้จริง ปีกของค้างคาวคือพังผืดที่เชื่อมระหว่างนิ้ว กระดูกนิ้วที่ยืดยาวทำหน้าที่เป็นโครงปีก ค้างคาวมีเขตกระจายพันธุ์กว้างขวางไปทั่วโลก พบได้ในทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา

ประเภทค้างคาว

  1. ค้างคาวกินแมลง มักจะมีเยื่อพังผืดบางๆ เชื่อมกันระหว่างขาหลังทั้งสอง และตาจะมีขนาดเล็กมาก จมูกจะตั้ง หูตั้งสูง และมีแผ่นหนังพิเศษช่วยในการรับเสียงอาศัยอยู่ในถ้ำ
  2. ค้างคาวกินผลไม้ จะมีดวงตาที่ใหญ่ ทำให้มองเห็นได้ดีในที่มืด มีจมูกที่ไวในการรับกลิ่นดอกไม้และผลไม้ และจมูกมักมีขอบยื่นออกมาไม่มีพังผืดระหว่างขาหลัง บริเวณปีกด้านหน้ามีเล็บยื่นออกมาเพื่อช่วยในการปีนป่าย

ในประเทศไทย

ในประเทศไทยมีจำนวนชนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมประมาณ 310 ชนิดโดยมีจำนวนชนิดของค้างคาว เป็นจำนวนประมาณ 120 ชนิดและคิดเป็น 11 เปอร์เซ็นต์ของทั้งโลก โดยแบ่งเป็นค้างคาวกินผลไม้ 20 ชนิด ค้างคาวกินแมลง 99 ชนิด ส่วนอีก 1 ชนิด เป็นค้างคาวที่กิน สัตว์อื่นเป็นอาหาร โดยมีค้างคาวที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน (Pteopus vampyrus) เป็นค้างคาวกินผลไม้ ที่มีน้ำหนักตัว 1 กก. เมื่อกางปีกออกทั้งสองข้างจะ กว้างถึง 2 เมตร และมีค้างคาวที่เล็กที่สุดในโลก คือ ค้างคาวคุณกิตติ (Craseonycteris thonglongyai) เป็นค้างคาวกินแมลง มีน้ำหนักเพียง 2 กรัม ช่วงปีกกว้างเพียง 16 เซนติเมตร

ค้างคาวในวัฒนธรรมร่วมสมัย

ค้างคาว เป็นสัญลักษณ์ ของการมีชีวิตหรือ ออกหากินช่วงกลางคืน มีการสื่อถึง ผีดูดเลือด ที่แปลงร่างเป็นค้างคาว และมีการนำมาสร้างเป็นสัญลักษณ์อื่นๆ เช่น มนุษย์ค้างคาว

เชิงอรรถ

  1. อ่านว่า ไค-รอป-เทอ-เรอ; จากกรีกโบราณ: χείρcheir "มือ" และ πτερόν – pteron "ปีก"[1]

อ้างอิง

  1.  "Chiroptera" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 6 (11 ed.). 1911. pp. 239–247.
บรรณานุกรม
  • Greenhall, Arthur H. 1961. Bats in Agriculture. A Ministry of Agriculture Publication. Trinidad and Tobago.
  • Nowak, Ronald M. 1994. " Walker's BATS of the World". The Johns Hopikins University Press, Baltimore and London.
  • John D. Pettigrew's summary on Flying Primate Hypothesis
  • Altringham, J.D. 1998. Bats: Biology and Behaviour. Oxford: Oxford University Press.
  • Dobat, K.; Holle, T.P. 1985. Blüten und Fledermäuse: Bestäubung durch Fledermäuse und Flughunde (Chiropterophilie). Frankfurt am Main: W. Kramer & Co. Druckerei.
  • Fenton, M.B. 1985. Communication in the Chiroptera. Bloomington: Indiana University Press.
  • Findley, J.S. 1995. Bats: a Community Perspective. Cambridge: Press Syndicate of the University of Cambridge.
  • Fleming, T.H. 1988. The Short-Tailed Fruit Bat: a Study in Plant-Animal Interactions. Chicago: The University of Chicago Press.
  • Kunz, T.H. 1982. Ecology of Bats. New York: Plenum Press.
  • Kunz, T.H.; Racey, P.A. 1999. Bat Biology and Conservation. Washington: Smithsonian Institution Press.
  • Kunz, T.H.; Fenton, M.B. 2003. Bat Ecology. Chicago: The University of Chicago Press.
  • Neuweiler, G. 1993. Biologie der Fledermäuse. Stuttgart: Georg Thieme Verlag.
  • Nowak, R.M. 1994. Walker's Bats of the World. Baltimore: The Johns Hopkins University Press.
  • Richarz, K. & Limbruner, A. 1993. The World of Bats. Neptune City: TFH ublications.
  • Teeling, E.C. 2009. Chiroptera. Oxford University Press.
  • Twilton, B. 1999. My Life as The Bat. Liverpool Hope University press

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya