ดิอิมพีเรียลมาร์ช (อังกฤษ: The Imperial March) หรือ ดาร์ธ เวเดอร์ธีม (อังกฤษ: Darth Vader's Theme) [1] บางครั้งอาจเรียกว่า "อิมพีเรียลเดธมาร์ช (Imperial Death March)" [2] เป็นเพลงธีมจากภาพยนตร์ชุดสตาร์ วอร์ส (Star Wars) ผลงานประพันธ์ของจอห์น วิลเลียมส์สำหรับภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 5: จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ (Star Wars Episode 5: The Empire Strike Back) ดิอิมพีเรียลมาร์ชได้รับการออกแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1980 สามสัปดาห์ก่อนภาพยนตร์ออกฉาย ในการแสดงคอนเสิร์ตครั้งแรกของจอห์น วิลเลียมส์ ในฐานะผู้อำนวยเพลงประจำของวงบอสตันป็อปส์ออเคสตรา [3] ผลงานนี้เป็นหนึ่งในเพลงธีมที่มีชื่อเสียง เป็นตัวอย่างที่ดีของลีทโมทีฟ (leitmotif) หรือทำนองซ้ำๆ ที่ใช้แทนตัวละคร หรือเหตุการณ์ในงานดราม่า [4]
ผลงานเพลงดิอิมพีเรียลมาร์ช มีท่วงทำนองที่ได้รับอิทธิพลจาก "มาร์ส เดอะบริงเกอร์ออฟวอร์" มูฟเมนต์ที่หนึ่งจาก เดอะพลาเนตส์ โอปุสที่ 32 ผลงานประพันธ์ของกุสตาฟ โฮลส์ในปี 1918-20 และมูฟเมนต์ที่สามจาก เปียโนโซนาตาหมายเลข 2 (เดอะฟิวเนอรัลมาร์ช) ผลงานของเฟรเดริก โชแปงในปี 1837-39
ในภาพยนตร์ชุดสตาร์ วอร์ส ดิอิมพีเรียลมาร์ช มักใช้บรรเลงพร้อมกับการปรากฏตัวของดาร์ธ เวเดอร์ สื่อแทนความชั่วร้ายของจักรวรรดิกาแลกติก [5] บางครั้งอาจใช้พร้อมกับการปรากฏตัวของจักรพรรดิพัลพาทีน ส่วนในสตาร์ วอร์ส ไตรภาคต้น ใช้กับตัวละครอนาคิน สกายวอล์คเกอร์หลายครั้ง เพื่อสื่อว่าตัวละครนี้จะถูกชักนำเข้าสู่ด้านมืดจนกลายเป็นซิธลอร์ด "ดาร์ธ เวเดอร์" ในอนาคต
อ้างอิง
- ↑ Michael Matessino, booklet for original soundtrack recording for Empire Strikes Back, Special Edition, page 17. RCA ASIN B000003G8G. "The Imperial March (Darth Vader's Theme) is the now famous signature theme for Darth Vader."
- ↑ "Welsh Guard plays Imperial Death March for Saudi King". dayinthe.net. สืบค้นเมื่อ 2012-02-18.
- ↑ Michael Matessino, booklet for original soundtrack recording for Empire Strikes Back, Special Edition, page 6. RCA ASIN B000003G8G.
- ↑ Irena Paulus, "Williams versus Wagner or an Attempt at Linking Musical Epics" International Review of the Aesthetics and Sociology of Music 31 2 (2000): 153. "John Williams used leitmotifs in the genuine sense of the word. He has come very close to the practice of Wagner in the various procedures in which he varies and transforms his themes, and in using the idea of the thematic image (the arch-theme that is the unifying element of the musical material). However, the similarity of Williams's and Wagner's leitmotifs is greatest in the area of kinship of themes (a series of new themes or motifs derive from a single motif or theme) on the basis of which both of them create a web of mutually related leitmotifs. The closeness of the procedures of the two can also be found in the area of melody, rhythm, form, harmony, instrumentation, and even in the domain of the ratio of the old and the new in their music. The ultimate objective of Richard Wagner was to create the music drama, music for the stage based on the old roots of opera, in which all the musical elements were subordinated to the drama. The ultimate aim of John Williams was to take part in the creation of a film in which his music would serve to define the film's substance and help all the other elements of it to function property."
- ↑ Larsen & Irons (2007), p.171.