Share to:

 

สตาร์ วอร์ส 2

สตาร์ วอร์ส 2
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับเออร์วิน เคิร์ชเนอร์
บทภาพยนตร์
เนื้อเรื่องจอร์จ ลูคัส
อำนวยการสร้างแกรี เคิร์ทซ์
นักแสดงนำ
กำกับภาพปีเตอร์ ซัสชิตสกี
ตัดต่อพอล เฮิร์ช
ดนตรีประกอบจอห์น วิลเลียมส์
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์
วันฉาย

  • 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (1980-05-21) (สหรัฐ)
ความยาว124 นาที[1]
ประเทศสหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]
ทำเงิน548 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3][4]

สตาร์วอร์ส 2 (อังกฤษ: The Empire Strikes Back) หรือรู้จักในชื่อ สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 5 จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ (อังกฤษ: Star Wars: Episode V – The Empire Strikes Back) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวมหากาพย์บันเทิงคดีอวกาศ ฉายเมื่อปี ค.ศ. 1980 กำกับโดย เออร์วิน เคิร์ชเนอร์ เขียนบทโดย ลีห์ แบรคเกตต์และลอว์เรนซ์ แคสแดน จากเนื้อเรื่องโดย จอร์จ ลูคัส สร้างโดยลูคัสฟิล์ม เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สองของแฟรนไชส์และใน สตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิม ภาคต่อของ สตาร์ วอร์ส (1977) และเป็นตอนที่ห้าใน "มหากาพย์สกายวอล์คเกอร์" ดำเนินเรื่องหลังเหตุการณ์ในภาพยนตร์เรื่องแรกสามปี จักรวรรดิกาแลกติก ภายใต้การนำของ ดาร์ธ เวเดอร์และจักรพรรดิ ตามล่า ลุค สกายวอร์คเกอร์ และเหล่าพันธมิตรกบฏที่เหลือ ขณะที่เวเดอร์นั้นกำลังตามล่าเพื่อนของลุค—ฮาน โซโล, เจ้าหญิงเลอา, ชิวแบคคาและซีทรีพีโอ—อย่างไม่ลดละ ลุคได้ศึกษาวิถีแห่งพลังจากอาจารย์เจไดโยดา นักแสดงประกอบด้วย มาร์ค ฮามิลล์, แฮร์ริสัน ฟอร์ด, แคร์รี ฟิชเชอร์, บิลลี ดี วิลเลียมส์, แอนโทนี แดเนียลส์, เดวิด พราวส์, เคนนี เบเกอร์, ปีเตอร์ เมย์ฮิวและแฟรงค์ ออซ

หลังความสำเร็จของ สตาร์ วอร์ส ลูคัสได้จ้างแบรคเกตต์ให้เขียนบทสำหรับภาคต่อ หลังเธอเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1978 ลูคัสได้ร่างเค้าโครงมหากาพย์ สตาร์ วอร์ส โดยรวมและเขียนร่างต่อไปด้วยตัวเขาเอง ก่อนที่เขาจะจ้างแคสแดน ลูคัสเลือกที่จะไม่กำกับภาพยนตร์เนื่องจากมีภาระผูกพันกับอินดัสเทียลไลต์แอนด์แมจิกและการจัดการทางการเงินและได้ส่งต่อหน้าที่ผู้กำกับให้กับเคิร์ชเนอร์ อดีตศาสตราจารย์ของเขา การถ่ายทำเริ่มต้นตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงกันยายน ค.ศ. 1979 สตาร์วอร์ส 2 พบปัญหาในการถ่ายทำหลายอย่าง เช่น นักแสดงบาดเจ็บ, ฉากถูกไฟไหม้และค่าปรับจาก สมาคมนักเขียนและผู้กำกับแห่งอเมริกา ทุนสร้างเริ่มต้นที่ 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็น 33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ ตอนที่ขั้นตอนการสร้างนั้นเสร็จสิ้น ทำให้เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่มีทุนสร้างสูงสุดในเวลานั้น

สตาร์วอร์ส 2 ฉายรอบปฐมทัศน์ที่ ศูนย์เคนเนดี ใน วอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 และฉายในสหรัฐเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 ภาพยนตร์กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในปี ค.ศ. 1980 ถึงแม้ว่าในช่วงแรกจะได้รับคำวิจารณ์ที่หลากหลาย ณ ปัจจุบัน ภาพยนตร์ได้รับการยกย่องว่าภาพยนตร์ที่ดีที่สุดในมหากาพย์ สตาร์ วอร์ส และเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างมา ภาพยนตร์ทำเงินมากกว่า 548 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก จากการฉายครั้งแรกและฉากใหม่หลายครั้ง เมื่อปรับตามอัตราเงินเฟ้อแล้ว ภาพยนตร์กลายเป็นภาพยนตร์ภาคต่อที่เงินสูงสุดอันดับที่สองและภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่สิบสามในอเมริกาเหนือ[5] ในปี ค.ศ. 2010 ภาพยนตร์ถูกเลือกโดยหอสมุดรัฐสภาของสหรัฐให้เก็บรักษาไว้ในหอทะเบียนภาพยนตร์แห่งชาติ ในฐานะที่ภาพยนตร์ "มีวัฒนธรรม, ประวัติศาสตร์, หรือ มีความสุนทรีย์อย่างมีนัยสำคัญ"

สตาร์วอร์ส 2 ได้สร้างผลกระทบสำคัญต่อการสร้างภาพยนตร์และวัฒนธรรมประชานิยม ถูกมองว่าเป็นตัวอย่างที่หายากของภาคต่อที่ประสบความสำเร็จมากกว่าภาคแรก ฉากไคล์แมกซ์ ซึ่งเป็นฉากที่เวเดอร์เปิดเผยว่าเขาคือพ่อของลุค มักจะถูกอ้างถึงว่าเป็นหนึ่งในการหักมุมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ สตาร์วอร์ส 2 ตามมาด้วย สตาร์ วอร์ส 3: ชัยชนะของเจได ในปี ค.ศ. 1983 เมื่อรวมภาพยนตร์สองเรื่องดังกล่าวกับภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส ต้นฉบับ เรียกว่า สตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิม

โครงเรื่อง

สามปีหลังการทำลายดาวมรณะ[a] พันธมิตรกบฏ นำโดย เจ้าหญิงเลอา ได้ตั้งฐานใหม่บนดาวเคราะห์น้ำแข็งชื่อว่า ฮอท กองยานอวกาศของจักรวรรดิกาแลกติก นำโดย ดาร์ธ เวเดอร์ ซึ่งกำลังตามหาฐานของกบฏใหม่ โดยได้ส่งดรอยด์สอดแนมไปทั่วกาแลกซี ลุค สกายวอล์คเกอร์ ถูกจับโดยวามปะขณะที่กำลังตรวจสอบดรอยด์สอดแนม เขาถูกลากเข้าไปในถ้ำ แต่เขาก็หนีออกมาได้โดยการใช้พลังกู้กระบี่แสงของเขา ก่อนที่ลุคกำลังจะเข้าสู่ภาวะตัวเย็นเกิน วิญญาณของ โอบีวัน เคโนบี อดีตอาจารย์ของเขาก็ปรากฏตัวขึ้น และบอกเขาให้ไปยังดาวเคราะห์บึงที่ชื่อว่า เดโกบาห์ เพื่อที่เขาจะได้รับการฝึกฝนจากอาจารย์เจได โยดา ฮาน โซโล ตามหาลุคจนพบและให้ลุคเข้าไปอยู่ในท้องของตัวทอนทอนที่ตายแล้วของฮาน เพื่อให้ลุครอดชีวิต ทั้งสองคนได้รับการช่วยเหลือจากกลุ่มค้นหาในเช้าวันถัดมา

ดรอยด์สอดแนมแจ้งเตือนกองยานจักรวรรดิถึงสถานที่ตั้งของกบฏ จักรวรรดิจึงได้ส่งกองกำลังขนาดใหญ่ลงไปโจมตี โดยใช้ แอต-แอต วอร์กเกอร์ส เพื่อยึดฐาน ทำให้เหล่ากบฏต้องอพยพ ฮาน, เลอา, ซีทรีพีโอและชิวแบคคา ขึ้นยาน มิลเลนเนียม ฟอลคอน ได้สำเร็จ แต่เครื่องไฮเปอร์ไดร์ฟของยานนั้นไม่ทำงาน พวกเขาหลบซ่อนในแถบดาวเคราะห์น้อย ที่ซึ่งฮานและเลอาใกล้ชิดกันมากขึ้นท่ามกลางความตึงเครียด นักล่าค่าหัวหลายคนถูกเรียกตัวโดยเวเดอร์ ให้ช่วยเหลือในการค้นหายาน ฟอลคอน ในขณะเดียวกันลุคกับอาร์ทูดีทูในยานเอ็กซ์วิงไฟต์เตอร์ของเขา เดินทางไปเดโกบาห์ ซึ่งเขาได้ลงจอดลงไปในบึง เขาได้พบกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งต่อมาเปิดเผยว่าเป็นโยดาและยอมรับลุคเป็นศิษย์อย่างไม่เต็มใจ หลังจากหารือกับวิญญาณของโอบีวัน ลุคเรียนรู้เกี่ยวกับพลังมากขึ้นจากโยดา หลังยกยานเอ็กซ์วิงของเขาออกจากบึงด้วยพลัง

หลังหลบหนีจากกองยานจักรวรรดิได้แล้ว กลุ่มของฮานเดินทางไป นครเมฆา บนดาวเคราะห์ เบสพิน ซึ่งดูแลโดยเพื่อนเก่าของฮาน แลนโด คาลริสเซียน นักล่าค่าหัว โบบา เฟตต์ ติดตาม ฟอลคอน พร้อมกับเวเดอร์ โดยบังคับให้แลนโดส่งมอบกลุ่มของฮานให้กับจักรวรรดิ เวเดอร์วางแผนใช้กลุ่มของฮานเป็นเหยื่อล่อให้ลุคมาติดกับ โดยตั้งใจจับลุคและชักชวนเขาให้เข้าสู่ด้านมืดของพลัง ลุคเห็นภาพนิมิตของฮานและเลอากำลังทรมานและได้ละทิ้งการฝึกฝนของเขา เพื่อไปช่วยพวกเขา ถึงแม้ว่าจะขัดความต้องการของโยดาและโอบีวัน

เวเดอร์ตั้งใจจะขังลุคด้วยการแช่แข็งโดยคาร์บอนไนต์ เวเดอร์เลือกฮานมาแช่แข็งเพื่อเป็นการทดสอบ ฮานรอดชีวิตและส่งตัวเขาให้กับเฟตต์ เพื่อเก็บค่าหัวจาก แจบบา เดอะ ฮัทท์ แลนโด ซึ่งยังจงรักภักดีกับฮาน ปล่อยเลอาและชิวแบคคา แต่พวกเขาไปช่วยฮานจากเฟตต์ช้าเกินไป พวกเขาต่อสู้กับสตอร์มทรูปเปอร์เพื่อหาหนทางไปยัง ฟอลคอน ในขณะเดียวกัน ลุคเดินทางมาถึงและเผชิญหน้ากับเวเดอร์ในการดวลกระบี่แสง ซึ่งพาพวกเขาไปที่เพลากลางอากาศของเมือง เวเดอร์ตัดมือขวาของลุค ปลดอาวุธเขาและล่อลวงให้เขายอมรับความโกรธและเข้าสู่ด้านมืด ลุคกล่าวหาว่าเวเดอร์ฆ่าพ่อของเขา แต่เวเดอร์เปิดเผยว่า เขา คือพ่อของลุค ลุคตกลงไปในเพลาอากาศและถูกขับออกไปใต้เมืองลอยอากาศ ขณะที่เขาเกาะอยู่กับเสาอากาศ เขาได้ใช้โทรจิตติดต่อกับเลอา ซึ่งเลอารู้สึกถึงเขาและบอกแลนโดและชิวแบคคาให้ย้อนกลับไป หลังนำลุคเข้ามาในยานแล้ว พวกเขาถูกไล่ล่าโดยยานทายไฟต์เตอร์ เข้าไปยังยานพิฆาตดาราของเวเดอร์ และพบว่าไฮเปอร์ไดร์ฟของยาน ฟอลคอน นั้นถูกดัดแปลง แต่อาร์ทูดีทูได้เปิดการใช้งานไฮเปอร์ไดร์ฟ ทำให้พวกเขาหลบหนีได้สำเร็จ

ลุคเข้าร่วมกับกองยานกบฏอีกครั้งและมือที่ขาดของเขาก็ถูกแทนที่ด้วยมือหุ่นยนต์เทียม แลนโดและชิวแบคคาเริ่มภารกิจเพื่อช่วยเหลือฮาน ขณะที่ลุค, เลอา, ซีทรีพีโอและอาร์ทูดีทู มองยาน ฟอลคอน เดินทางออกไป

นักแสดง

ในขณะที่พราวส์แสดงเป็นดาร์ธ เวเดอร์, เจมส์ เอิร์ล โจนส์ เป็นคนให้เสียงพูดของตัวละคร ออซให้เสียงเป็นโยดาพร้อมกับเป็นคนเชิดหุ่นโยดา ด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนนักเชิดหุ่น ได้แก่ แคทริน มอลเลน, เดวิด บาร์กลีย์, เวนดี ฟราวและดีป รอย[6] อเล็ก กินเนสส์ เป็น โอบีวัน เคโนบี, หลังถูกเวเดอร์ฆ่า เขาก็กลายวิญญาณของพลัง

เดนิส ลอว์สัน กลับมารับบทเดิมเป็น เวดจ์ แอนทิลลีส จากภาพยนตร์เรื่องแรก, จอห์น ฮอลลิส เป็น โลบ็อต, ผู้ช่วยส่วนตัวของแลนโด, จูเลียน โกลเวอร์ เป็น นายพลเวียร์ส นายพลฝ่ายจักรวรรดิ ผู้นำการต่อสู้ที่ฮอท, เคนเนท คอลลีย์ เป็น พลเรือเอกเพียตต์ พลเรือเอกระดับสูงของจักรวรรดิ, ไมเคิล เชิร์ด เป็น พลเรือเอกออซเซล พลเรือเอกก่อนหน้านี้ของเวเดอร์, ไมเคิล คัลเวอร์ เป็น กัปตันนีดา หนึ่งในกัปตันของจักรวรรดิ ที่ล้มเหลวในการจับยานมิลเลนเนียม ฟอลคอน, จอห์น แรทเซนเบอร์เกอร์ เป็น พันตรีเดอร์ลิน[7] หนึ่งในเจ้าหน้าที่ฝ่ายกบฏ ผู้นำการต่อสู้ที่ฮอท[8], บรูซ โบอา เป็น นายพลรีกัน[9] ที่ปรึกษาทางทหารของเจ้าหญิงเลอาบนฮอท[10], คริสโตเฟอร์ มัลคอล์ม เป็น เซฟ เซเนสกา นักบินยานบินหิมะของกบฏ[11] คนที่ตามหาลุคและฮานจนพบบนฮอท[12] และ จอห์น มอร์ตัน เป็น แด็ก รอลเทอร์[13] คนยิงปืนของลุคในการต่อสู้ที่ฮอท เขาถูกฆ่าโดย แอต-แอต[14] ริชาร์ด โอลด์ฟิลด์ เป็น ฮอบบี คลิเวียน นักบินฝ่ายกบฏ[15] มอร์ริส บุช เป็น เดนเจอร์ นักล่าค่าหัว, แอลัน แฮร์ริส เป็น บอสส์ก นักล่าค่าหัว และ คริส พาร์สันส์ หุ่นยนต์นักล่าค่าหัว โฟร์-แอลโอเอ็ม

การสร้าง

การเตรียมการ

ภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส ของจอร์จ ลูคัส ที่ออกฉายเมื่อ ค.ศ. 1977 ประสบความสำเร็จทางรายได้อย่างไม่คาดฝัน จนกลายเป็นปรากฎการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในวัฒนธรรมสมัยนิยม เกิดเป็นความกดดันอย่างใหญ่หลวงต่อจอร์จ ลูคัส จนต้องงดให้สัมภาษณ์กับสื่อและไปพักผ่อนที่ฮาวายกับเพื่อนคือสตีเวน สปิลเบิร์ก ซึ่งระหว่างนั้นทั้งสองได้ร่วมกันร่างแนวคิดที่จะนำไปสู่ภาพยนตร์แฟรนไชส์ยิ่งใหญ่อีกชุดคืออินเดียนา โจนส์ ความสำเร็จของ สตาร์ วอร์ส และโอกาสทางลิขสิทธิ์ที่พ่วงมาทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องสร้างภาคต่อ ในยุคนั้นภาพยนตร์ภาคต่อมักไม่ได้รับคำชื่นชมเท่าไรนัก และลูคัสเองก็ยังไม่พร้อมที่จะทุ่มเทเวลาให้กับการเตรียมสร้างภาพยนตร์ ลูคัสมองว่าประสบการณ์การสร้างภาพยนตร์ภาคแรกนั้น "เป็นสี่ปีแห่งประสบการณ์การด้นสดสุดสยอง" ซึ่งเขาไม่อยากจะประสบซ้ำอีก อย่างไรก็ดีลูคัสยังมองว่าภาพยนตร์ภาคแรกยังไม่ตรงกับสิ่งที่เขาจินตนาการไว้ การสร้างภาคต่อจะเป็นโอกาสให้เขาเติมเต็มเรื่องราวได้ นอกจากนี้แล้วลูคัสยังได้สร้างจักรวาลของสตาร์ วอร์ส เอาไว้ การสร้างภาคต่อก็จะเป็นโอกาสให้เขาได้ปลดปล่อยแนวคิดใหม่ๆ และการผจญภัยต่างๆ ของตัวละครเพิ่มเติม โดยกล่าวว่า "ผมคิดอยู่เสมอว่าถ้าได้กลับไปทำงานกับสิ่งแวดล้อมเดิมโดยใช้ตัวละครเดิม ผมน่าจะสร้างภาพยนตร์ที่เจ๋งกว่าเดิมได้" ลูคัสเคยว่าจ้างอลัน ดีน ฟอสเตอร์ นักเขียนผีที่เขียนสตาร์ วอร์สฉบับนวนิยายให้ในชื่อของเขา มาเขียนนิยายภาคต่อเรื่อง สปลินเตอร์ ออฟ เดอะ ไมนด์ อาย เพื่อให้สามารถนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ทุนต่ำได้ ในกรณีที่สตาร์ วอร์สไม่ประสบความสำเร็จทางรายได้ แต่ตราบจนถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1977 สตาร์ วอร์ส ก็ยังเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้อันดับหนึ่ง เป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้ลูคัสลงมือทำภาพยนตร์ภาคต่อ

การตอบรับ

รางวัล

ภาพยนตร์ได้รับรางวัลออสการ์ ใน 2 รางวัล ได้แก่ สาขาบันทึกเสียงยอดเยี่ยม และรางวัลเกียรติยศออสการ์ จากสาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม (รางวัลเกียรติยศจะมีการมอบต่อเมื่อมีภาพยนตร์ที่ดีที่สุดจริงๆ เท่านั้น ไม่ใช่มอบทุกปีเหมือนรางวัลสาขาอื่นๆ ปีใดไม่มีภาพยนตร์เรื่องใดที่คุณภาพถึง จะไม่มีการมอบรางวัลนี้)

อ้างอิง

เชิงอรรถ

  1. ตามที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง สตาร์ วอร์ส เมื่อปี 1977

อ้างอิง

  1. "THE EMPIRE STRIKES BACK". British Board of Film Classification. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2014. สืบค้นเมื่อ December 20, 2014.
  2. "The Empire Strikes Back Created The Modern Fillm Franchise". Escapist Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 26, 2020. สืบค้นเมื่อ February 4, 2020.
  3. "Star Wars: Episode V - The Empire Strikes Back (1980)". Box office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 26, 2020. สืบค้นเมื่อ March 14, 2020.
  4. "Star Wars Ep. V: The Empire Strikes Back – Box Office Data, DVD and Blu-ray Sales, Movie News, Cast and Crew Information". The Numbers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 8, 2015. สืบค้นเมื่อ May 13, 2013.
  5. "Films adjusted for inflation". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 4, 2009. สืบค้นเมื่อ June 21, 2012.
  6. "Those Yoda Guys". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 29, 2014. สืบค้นเมื่อ August 6, 2014.
  7. White, Brett (May 24, 2018). "'Solo' Is Just the Latest Sci-Fi Event to Put a 'Cheers' Star in Space". Decider. NYP Holdings, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2018. สืบค้นเมื่อ October 25, 2018.
  8. "Interview: John Ratzenberger - Major Bren Derlin, Master of the Improv". StarWars.com. Lucasfilm Ltd. February 11, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2018. สืบค้นเมื่อ October 25, 2018.
  9. "The 10 Most Important Star Wars Characters You Don't Know By Name". Newsweek. November 26, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 25, 2018. สืบค้นเมื่อ October 25, 2018.
  10. Murphy, Mike (October 23, 2015). "We should think of Leia from "Star Wars" as a politician as much as a princess". Quartz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 25, 2018. สืบค้นเมื่อ October 25, 2018.
  11. Page, Lewis (February 19, 2014). "Actor who played Rogue Two in Star Wars dies aged 67". The Register. Situation Publishing. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2018. สืบค้นเมื่อ October 25, 2018.
  12. Hutchinson, Lee (December 3, 2015). "First Star Wars spin-off movie gets name and a date: Rogue One, next December". Ars Technica. Condé Nast. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2018. สืบค้นเมื่อ October 25, 2018.
  13. Newbold, Mark (June 8, 2018). "Two Fantha Trackers were a part of Solo: A Star Wars Story". Fantha Tracks. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 25, 2018. สืบค้นเมื่อ October 25, 2018.
  14. Wittmer, Carrie (May 4, 2018). "38 major deaths in the 'Star Wars' movies, ranked from saddest to completely deserved". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2018. สืบค้นเมื่อ October 25, 2018.
  15. Franch, Darren (March 12, 2015). "'Star Wars' spinoff 'Rogue One' explained: A brief history of Rogue Squadron". Entertainment Weekly. Meredith Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 25, 2018. สืบค้นเมื่อ October 25, 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya