ตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส
ตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส (เกิด 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2533) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท นิว เอ็นเนอร์จี พลัส โซลูชั่นส์ จำกัด หรือ NEPS อดีตรองเลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 13 ในนามพรรคเพื่อไทย อดีตเลขาธิการกลุ่มเพื่อไทยพลัส[1] อดีตโฆษกคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย[1][2] นอกจากนี้ ตรีรัตน์ เคยเป็นอดีตนักแต่งเพลงค่ายกามิกาเซ่ และเคยเป็นอดีตศิลปินวง เอพริลฟูลส์เดย์ [3] สังกัด อาร์เอส ประวัติตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส หรือ ปุ๊น เกิดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2533 ที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยมีพี่ชายซึ่งเป็นผู้พิการทางสมองตั้งแต่เกิด ทำให้ ตรีรัตน์ได้ใช้ชีวิตดูแลพี่ชายผู้พิการตั้งแต่เด็ก สู่แรงบันดาลใจมาทำงานอาสาด้านสังคม และการเมือง[4] ตรีรัตน์ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนนานาชาติเอกมัย และได้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาธุรกิจดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล[5] และสำเร็จการศึกษาปริญญาโทด้านการเมืองการปกครอง รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[6] การทำงานตรีรัตน์เคยทำงานในวงการบันเทิงมาก่อนตั้งแต่อายุ 15 ปี ผ่านการชักชวนโดย เอฟู ณรงค์ศักดิ์ ศรีบรรฎาศักดิ์วัชรากรณ์ โปรดิวเซอร์ชื่อดัง และผู้ร่วมก่อตั้งค่ายกามิกาเซ่ จนได้เป็นศิลปินวง เอพริลฟูลส์เดย์ [3] สังกัด อาร์เอส และเคยเป็นนักแต่งเพลง รวมถึงผลิตคอนเสริต์ให้ศิลปินชั้นนำในเมืองไทย เช่น วงเค-โอติก [7] วงเฟย์ ฟาง แก้ว[8] วงเซเวนเดส์ และเคยเป็น Co-Music Director ให้กับหลายคอนเสริต์ของอาร์เอส และ เคยมีผลงานทำเพลงประกอบละครให้ช่อง ไทยพีบีเอส ช่อง 3 และ ช่อง 5 มาก่อน หลังออกจากวงการบันเทิง ตรีรัตน์ ได้กลับมาช่วยงานธุรกิจกระดาษของที่บ้าน โดยได้ก่อตั้งบริษัท เปเปอร์กรีน ขึ้นมาเป็นผู้นำเข้ากระดาษถนอมสายตารักษาสิ่งแวดล้อม เข้ามาในตลาดแบบเรียนและสื่อการพิมพ์ในประเทศไทย จนทำยอดขายทะลุ 100 ล้าน ได้เพียง 2 ปี จากวันก่อตั้ง ตั้งแต่ขณะอายุเพียง 25 เท่านั้น[9] และต่อมาภายหลังได้ขยายกิจการ สู่ธุรกิจพลังงานทางเลือกด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ได้ร่วมก่อตั้งบริษัท นิว เอ็นเนอร์จี พลัส โซลูชั่นส์ (NEPS) ด้วยความคล่องแคล่ว และความสามารถในการสื่อสารของนายตรีรัตน์ ทำให้ได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารของบริษัทฯ[10] และสามารถชนะงานประมูลติดตั้งจนได้รับความไว้วางใจจากบริษัทชั้นนำจำนวนมาก อาทิเช่น บมจ.แอสเซทไวส์ บมจ.พีเออี (ประเทศไทย) บมจ.เอส.เค.ฟู๊ดส์ โรงแรมแชเทรียม ริเวอร์ไซด์ โรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี่ สนามกอล์ฟปัญญาอินทรา เป็นต้น ภายใต้สโลแกน "เปลี่ยนพลังงานทางเลือก สู่พลังงานหลัก"[11][12] การเมืองนายตรีรัตน์ เคยเข้าวงการเมือง ผ่านการชักชวนโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[1] โดยเริ่มงานการเมืองด้วยการเป็นทีมนโยบายของพรรคเพื่อไทย กรรมการสื่อสารการเมืองพรรคเพื่อไทย และได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 13 (เขตบางกะปิ) ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของคุณหญิงสุดารัตน์ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 24 มีนาคม 2562 นายตรีรัตน์ แพ้การเลือกตั้งด้วยคะแนน 23,912 ขณะที่ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐชนะไปได้อย่างฉิวเฉียดด้วยคะแนน 27,489 ซึ่งหลังจากทราบผลการเลือกตั้งแบบไม่เป็นทางการ 5 วัน นายตรีรัตน์ได้ยื่นร้องเรียน กกต.ถึงความผิดปกติในการเลือกตั้ง โดยได้นำหลักฐานข้อเท็จจริงถึงคะแนนที่ไม่ตรงกันตามประกาศของกกต.[13] และคะแนนที่ปรากฏอยู่หน้าหน่วย [14] เป็นเหตุให้กกต.ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2562 ให้จัดการเลือกตั้งใหม่ แต่ในแถลงการณ์นั้นให้จัดการเลือกตั้งใหม่เพียงแค่จำนวน 1 หน่วยเท่านั้น[15] ด้วยเหตุผลว่ามีบัตรเขย่ง[16] หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 นายตรีรัตน์ได้รับแต่งตั้งเป็น โฆษกคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย [1] และได้ร่วมก่อตั้งกลุ่มคนรุ่นใหม่พรรคเพื่อไทยในนาม "เพื่อไทยพลัส" โดยได้รับเลือกจากสมาชิกให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการกลุ่ม [1] ซึ่งต่อมาภายหลัง ได้ประกาศลาออกจากพรรคเพื่อไทยหลังการปรับโครงสร้างพรรค [17] และย้ายไปร่วมงานกับพรรคไทยสร้างไทยในเวลาต่อมา 22 มกราคม พ.ศ. 2567 ตรีรัตน์ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยสร้างไทย[18] ในทางการเมืองนายตรีรัตน์ดำรงตำแหน่ง เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ ป.ป.ช.[19] โฆษกกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ[20] โดยเป็นผู้เสนอให้ต่อคณะกรรมาธิการฯให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาให้หนังโป๊และเซ็กซ์ทอยถูกกฎหมาย [21] และเคยดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการงบประมาณครุภัณฑ์ ไอซีที รัฐวิสาหกิจ และทุนหมุนเวียน ในพรบ.งบประมาณปี 2564 และ 2565 สภาผู้แทนราษฎร [22] ตำแหน่งทางธุรกิจ
ทางการเมือง
วงการบันเทิงอัลบั้ม BRAY (ปี 2007) สังกัด Salmon Record
อัลบั้ม April Fools' Day (ปี 2009) สังกัด อาร์เอส ผลงานเบื้องหลัง
รางวัลที่ได้รับ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |