พรรคไทยสร้างไทยพรรคไทยสร้างไทย (ย่อ: ทสท.) พรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งเป็นลำดับที่ 3/2564 เมื่อวันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 โดยมีนาย สอิสร์ โบราณ และนาย วัลลภ ไชยไธสง เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก มีที่ทำการพรรคอยู่ที่ 132/2 หมู่ 16 ถนนเจนจบทิศ ตำบลหนองสองห้อง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น[4] ต่อมาได้ย้ายที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ 54/1 ซอยลาดปลาเค้า 60 ถนนลาดปลาเค้า แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร[5] กระทั่งวันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 9 นาฬิกา 19 นาที จึงได้ทำการยกเสาเอกเพื่อก่อสร้างที่ทำการสำนักงานใหญ่ของพรรคไทยสร้างไทย ย่านถนนเทิดราชัน แขวงสีกัน เขตดอนเมือง[6][7] ประวัติพรรคไทยสร้างไทยเป็นพรรคการเมืองที่พัฒนามาจาก กลุ่มไทยสร้างไทย กลุ่มการเมืองที่มี คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์เป็นแกนนำ ได้ส่งผู้สมัครลงรับสมัครเลือกตั้งครั้งแรกใน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565[8] อย่างไรก็ตาม สมาชิกพรรคบางส่วนได้ย้ายกลับไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[9][10] ในวันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2565 พรรคไทยสร้างไทยได้เตรียมจัดประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2565 ที่ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญคือการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 50 คนแทนชุดเก่าจำนวน 8 คนที่พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะเนื่องจากนายสอิสร์ โบราณ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคกลางที่ประชุม พร้อมกับแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค โดยยกเลิกฉบับปี 2564 ทั้งฉบับและใช้ฉบับปี 2565 แทนโดยทำการเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พรรค ย้ายที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ทำการพรรคในปัจจุบันคือ 54/1 ซอยลาดปลาเค้า 60 ถนนลาดปลาเค้า แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร รวมถึงอุดมการณ์และนโยบายพรรค โดยมีกระแสข่าวว่า คุณหญิงสุดารัตน์ ซึ่งเป็นประธานพรรคจะเป็นหัวหน้าพรรค นาวาอากาศตรีศิธา ทิวารี จะเป็นเลขาธิการพรรค[11] ซึ่งที่ประชุมมติเลือก คุณหญิงสุดารัตน์ เป็นหัวหน้าพรรค และ นาวาอากาศตรีศิธา เป็นเลขาธิการพรรคตามกระแสข่าว[12][13] วันที่ 24 มกราคม 2566 พ.ต.ท กุลธน ประจวบเหมาะ รองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย เปิดตัว ส.ส.เขตภาคตะวันตก ราชบุรี-กาญจนบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-สุพรรณบุรี ซึ่งบางส่วนย้ายมาจากพรรคเพื่อไทย[14][15] ต่อมาในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 พรรคไทยสร้างไทยได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคแทนตำแหน่งที่ว่างพร้อมกับยกเลิกข้อบังคับพรรคฉบับปี 2565 ทั้งฉบับและประกาศใช้ข้อบังคับพรรคฉบับปี 2566 แทน ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกฐากร ตัณฑสิทธิ์ อดีตเลขาธิการกสทช. เป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่แทนนาวาอากาศตรีศิธาที่ลาออกจากตำแหน่งเพื่อไปลงสมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในนามของพรรค นอกจากนี้ยังมีมติเลือกนายดล เหตระกูล อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้าที่ย้ายมาสังกัดพรรคไทยสร้างไทยเป็นรองหัวหน้าพรรค[16][17] ในวันที่ 20 เมษายน 2567 พรรคไทยสร้างไทยได้จัดประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก คุณหญิงสุดารัตน์ ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อไป ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคเป็นของ ชัชวาล แพทยาไทย ส.ส. ร้อยเอ็ด[18] บุคลากรภายในพรรคหัวหน้าพรรค
เลขาธิการพรรค
คณะกรรมการบริหารพรรค
บทบาททางการเมืองพรรคไทยสร้างไทย เริ่มดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2564 โดยจัดกิจกรรมปล่อยขบวนคาราวาน “สร้างไทย 77 จังหวัด” เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564[19] รวมถึงการเปิดตัวนโยบายต่างๆ อาทิ นโยบายบำนาญประชาชน[20] กระทั่งวันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2565 ได้มีรายงานข่าวว่าทางพรรคไทยสร้างไทยตัดสินใจส่งนาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี ลงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมกับเปิดตัวผู้สมัคร ส.ก. ทั้ง 50 เขตในวันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565[21] ในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 พรรคไทยสร้างไทยได้เปิดตัว นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี เป็นว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ทั้ง 50 คน[8] จากการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว พรรคไทยสร้างไทยได้ที่นั่ง ส.ก. 2 ที่นั่ง[22] ในเดือนกรกฎาคม 2565 หลังมีข่าวสมาชิกพรรคหลายคนย้ายกลับไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[9][10] คุณหญิงสุดารัตน์แถลงว่า ไม่เป็นปัญหา และจะเดินหน้าผลักดันร่างพระราชบัญญัติบำนาญประชาชนต่อไป[23] 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ได้มีกระแสข่าวว่าพรรคสร้างอนาคตไทยและพรรคไทยสร้างไทย นัดแถลงข่าวเพื่อประกาศการรวมพรรคในวันถัดมา[24] การแถลงข่าวในวันนั้นมีผลสรุปคือ ทั้งสองพรรคตกลงร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองระหว่างกัน แต่ยังไม่มีการควบรวมพรรคแต่ประการใด[25]โดยเหตุผลหลักคือเงื่อนไขทางกฎหมาย จึงไม่สามารถควบรวมพรรคได้ในขณะนั้น รวมไปถึงการตกลงเรื่องตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคที่ยังไม่ลงตัว[26] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 มีการประกาศชื่อสมาชิกเพื่อไทยบางส่วนย้ายมาพรรคไทยสร้างไทย ได้แก่ พันธ์ศักดิ์ เพชรพิทักษ์ชน อดีตผู้สมัคร สส.พรรคเสรีรวมไทย[27] ประจวบคีรีขันธ์ [28] อนุดิษฐ์ นาครทรรพ อดีต สส. เพื่อไทย เขตสายไหม [29] [30][31] การุณ โหสกุล อดีต สส. เพื่อไทย เขตดอนเมือง [32] 21 กรกฎาคม พรรคก้าวไกลประกาศให้สิทธิ์การเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแก่พรรคเพื่อไทย หลังจากไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่ก็ได้มีการยุติบันทึกความเข้าใจของ 8 พรรคร่วม พรรคไทยสร้างไทยจึงประกาศจุดยืนว่า จะไม่มีการสลับขั้ว ไม่ย้ายฝั่ง และไม่เป็นที่เหยียบยืนให้กับเผด็จการอย่างเด็ดขาด เพื่อที่จะยุติการสืบทอดอำนาจของระบบเผด็จการ และจะเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญคืนอำนาจให้ประชาชน จากการเลือกตั้ง ส.ส.ร. ซึ่งพรรคได้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่สภาแล้ว โดยจะไม่แก้ไขหมวด 1 และหมวด 2[33] 5 ตุลาคม 2566 คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวขอบคุณพรรคก้าวไกล กรณีที่มอบประธานกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเดิมเป็นโควตาของพรรคก้าวไกลให้กับพรรคไทยสร้างไทยเป็นเวลา 2 ปี โดยให้ฐากร ตัณฑสิทธิ์ ทำหน้าที่เป็นประธาน เพื่อมุ่งหวังให้พรรคร่วมฝ่ายค้าน ซึ่งมีพรรคก้าวไกลเป็นแกนหลัก ร่วมกันทำงาน ด้วยบรรยากาศที่เป็นไปได้ด้วยดีนั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน ในคณะกรรมาธิการที่ดี และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในมิติต่าง ๆ[34] การเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคไทยสร้างไทยได้ส่งผู้สมัครทั้งแบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ ได้จำนวน สส.แบบแบ่งเขต 5 คน และบัญชีรายชื่อ 1 คน นั่นคือคุณหญิงสุดารัตน์ ต่อมาพรรคไทยสร้างไทยประกาศร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคก้าวไกล[35] 11 กรกฎาคม 2566 คุณหญิงสุดารัตน์ประกาศลาออกจาก สส.บัญชีรายชื่อ ทำให้ฐากรขยับมาเป็น สส.บัญชีรายชื่อแทน [36] ผลการเลือกตั้งทั่วไป
ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ข้อวิจารณ์คำร้องคัดค้านการเป็น สส.15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 มีเอกสารที่นำเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ประกาศผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ครั้งที่ 1 ปรากฎว่ามี ว่าที่ ส.ส. ที่ประกาศผลรับรอง 329 คน ขณะที่มี 71 เขต ที่มีเรื่องร้องคัดค้าน มีรายงานว่า เอกสารดังกล่าวอาจเป็นเอกสารสรุปของฝ่ายปฏิบัติการ แจ้งเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ที่ยังไม่ได้นำเสนอต่อที่ประชุม กกต.[37] โดยพรรคไทยสร้างไทยถูกร้องคัดค้านทั้งสิ้น 2 คน ดังนี้
แต่ถึงกระนั้น กกต. ก็ประกาศรับรอง สส. ทั้ง 500 คนก่อน โดยได้ชี้แจงว่าจะดำเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2567 เพื่อลงมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มี สส. ของพรรคไทยสร้างไทยจำนวน 3 คน ลงมติ "รับหลักการ" ร่างพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งสวนกับมติของพรรคร่วมฝ่ายค้านที่ให้ลงมติ "ไม่รับหลักการ" ดังนี้[38]
ส่งผลให้ในวันถัดมา (6 มกราคม) นายฐากรได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคเพื่อรับผิดชอบ โดยมีผลทันที[39] อย่างไรก็ตาม ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี แทนเศรษฐา ทวีสิน ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถอดถอน ผลปรากฏว่า สส. พรรคไทยสร้างไทยทั้งหมดซึ่งมี 6 คน ลงมติ "เห็นชอบ" ให้แพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสวนกับมติของพรรคร่วมฝ่ายค้านที่ให้ลงมติ "งดออกเสียง" หรือ "ไม่เห็นชอบ" ในเวลาต่อมา ฐากร ตัณฑสิทธิ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่าตัวเองและ ส.ส. อีก 5 คนที่โหวตให้แพทองธารนั้นไม่ใช่งูเห่าแต่ที่โหวตให้ก็เพราะประเทศต้องมีนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศ พร้อมกับประกาศว่าพรรคไทยสร้างไทยยังเป็นพรรคร่วมฝ่ายค้านเหมือนเดิม[40] แต่ในเวลาต่อมา คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทยได้ทำการเรียกประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค เพื่อพิจารณาการกระทำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าว[41] และเมื่อเวลา 16:30 น. คุณหญิงสุดารัตน์ได้แถลงข่าวขอโทษประชาชนและพรรคร่วมฝ่ายค้าน รวมถึงแถลงมติของกรรมการบริหารพรรค โดยให้คณะกรรมการจริยธรรมของพรรคสอบสวนการกระทำของทั้ง 6 คน และมีข้อสรุปในเบื้องต้นว่าจะไม่ให้ดำรงตำแหน่งในสัดส่วนของพรรคในสภาผู้แทนราษฎร จนกว่าผลสอบสวนจะแล้วเสร็จ ต่อมาเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2567 คณะกรรมการวินัยและจริยธรรมของพรรคไทยสร้างไทยมีมติให้ขับ สุภาพร สลับศรี สส.ยโสธร ออกจากการเป็นสมาชิกพรรค เนื่องจากโหวตสวนมติพรรคและฝ่าฝืนอุดมการณ์พรรคหลายครั้ง[42] อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อลงมติขับออกจากพรรคอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด อ้างอิง
แหล่งข้อมูล |