Share to:

 

ตำบลท่าแร่

ตำบลท่าแร่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Tha Rae
คำขวัญ: 
ภูมิทัศน์เพลิดเพลินตา เสน่หาธรรมชาติหนองหาร โบราณสถานบ้านร้อยปี สืบสานประเพณีแห่ดาวและจุดเทียน ศูนย์รวมคริสต์ศาสนา งามล้ำค่าสถาปัตยกรรม สวยเลิศล้ำผังเมืองดี สามัคคีเป็นศักดิ์ศรีของชุมชน
ประเทศไทย
จังหวัดสกลนคร
อำเภอเมืองสกลนคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด2,193 ตร.กม. (847 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2562)
 • ทั้งหมด6,961 คน
รหัสไปรษณีย์ 47230
รหัสภูมิศาสตร์470107
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ท่าแร่ เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เป็นที่ตั้งของ ชุมชนบ้านท่าแร่ เป็นชุมชนสำคัญในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ในสกลนคร ถือเป็นศูนย์กลางของคาทอลิกระดับเขตที่เรียกว่า มิสซังท่าแร่ - หนองแสง ครอบคลุมเขตการปกครองถึงจังหวัดนครพนมด้วย นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ศาสนาไปยังหมู่บ้านต่างๆ ในจังหวัดสกลนคร โดยมีโบสถ์อยู่ 1 แห่ง คือ อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลท่าแร่ ที่ใช้ในการประพิธีกรรมทางศาสนา

ประวัติ

บริเวณที่เป็นบ้านท่าแร่ในปัจจุบันแต่เดิมเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ใหญ่น้อยตามลักษณะป่าไม้เขตร้อนชื้น ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านติดกับหนองหาร ซึ่งก่อน พ.ศ. 2482 ยังไม่มีประตูน้ำกั้นน้ำหนองหาร ในฤดูแล้งบ้านท่าแร่จะอยู่ลึกจากริมฝั่งหนองหารประมาณ 3 กิโลเมตร สภาพที่เป็นป่าใกล้ลำน้ำ จึงมีสัตว์ป่านานาชนิดตลอดจนมีปลาชุกชุม นับเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของบริเวณริมหนองหาร การตั้งชุมชนครั้งแรกที่บ้านท่าแร่ เป็นชุมชนชาวคริสตัง ซึ่งอพยพมาจากตัวเมืองสกลนคร ซึ่งเป็นทั้งชาวญวนและชาวไทญ้อ ซึ่งไม่พอใจการกีดกันการนับถือศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิก ของกลุ่มผู้ปกครองเมืองสกลนครในสมัยนั้น (สมัย รัชกาลที่ 5) ทั้งนี้ด้วยเหตุที่กลุ่มผู้นับถือศาสนาคริสตัง จะมีการปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาแตกต่างจากพุทธศาสนิกชน เช่น การทำพิธีมิสซา การรับศีลล้างบาป โดยมีบาทหลวงเป็นผู้ประกอบพิธีซึ่งเป็นชาวต่างชาติ ประกอบกับนโยบายของราชสำนักที่กรุงเทพฯ ต้องการให้บ้านเมืองบำรุงพุทธศาสนามิให้มีการทำลายพุทธศาสนา และถือเป็นนโยบายหลักของเจ้าเมืองด้วย กลุ่มชาวญวนคริสตังจึงถูกกลั่นแกล้งอยู่เสมอ

ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2424 ได้มีคณะบาทหลวง ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ เข้าสู่ภาคอีสาน เพื่อเยี่ยมเยียนกลุ่ม ชาวคริสตังตามเมืองชนบทต่างๆ เช่น โคราช ขอนแก่น กาฬสินธุ์ กมลาไสย ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี สกลนคร และนครพนม เมื่อคณะของบาทหลวงซึ่งประกอบด้วยบาทหลวงเกโกและครูทัน(ชาวญวน) มาถึงเมืองสกลนคร ทราบปัญหาดังกล่าว จึงวางแผนย้ายกลุ่มชาวญวน และสถานที่เผยแพร่ศาสนาไปอยู่แห่งใหม่ โดยต่อแพไม้ไผ่ขนาดใหญ่บรรทุกผู้คนและเครื่องใช้ที่จำเป็นขึ้นแพไม้ไผ่ อธิษฐานเทวดามีคาแอล ให้พบแผ่นดินที่เหมาะแก่การเผยแพร่คริสต์ศาสนา กระแสลมได้พัดใบเรือซึ่ง ทำจากผ้าห่มกั้นลมไปถึงชายฝั่งอีกแห่งหนึ่งของหนองหาร พื้นดินส่วนใหญ่เต็มไปด้วยดินลูกรังที่เรียกว่า "หินแฮ่" จึงพากันตั้งชุมชนใหม่ขึ้นและเรียกว่า "ท่าแฮ่" และมาใช้เป็น “ท่าแร่” ในปัจจุบัน

ผู้คนที่อพยพมาอยู่บ้านท่าแร่รุ่นแรกมีจำนวน 20 ครอบครัว นับคนได้ประมาณ 150 คน มีทั้งชาวญวน ชาวไทญ้อสกลนคร ซึ่งเป็นคริสตัง และในเวลาต่อมาได้ มีชาวภูไทจากที่ต่างๆ อพยพเข้ามา อยู่ในชุมชนแห่งนี้ด้วย ภายใต้การนำ ของบาทหลวงยอแซฟ กอมบูริเออ ซึ่งได้พัฒนาชุมชนให้เป็นตารางยุโรป ได้จัดผังเมืองเป็นระบบเป็นล็อคๆ เช่นเดียวกับเมืองในประเทศยุโรป ซึ่งหาดูได้ยากในชุมชนอื่นๆ ของจังหวัดสกลนคร การอยู่อาศัยเกิดจากการผสมผสานกันระหว่างชนเผ่าต่างๆ คือ เผ่าผู้ไทย ไทลาว ไทญ้อ เวียดนาม ทำให้เกิดการปลูกสร้างบ้านพักอาศัยที่มีรูปแบบชนิดต่างๆ เช่น บ้านไม้เสาสูงชนิดเรือนเกย บ้านไม้เสาเตี้ยพื้นเกือบติดดิน บ้านไม้ชนิดเรือนแถวชั้นเดียว เรือนแถวสองชั้นซึ่งเป็นแบบบ้านไม้ที่ได้รับอิทธิพลจากเวียดนาม และแบบตึกก่อด้วยอิฐฉาบปูน ตึกโบราณทรงยุโรปเป็นตึกก่อด้วยอิฐ เป็นตึกแถวสองชั้น ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามอย่างเด่นชัด และเป็นตึกที่ผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีจะพึงมีได้ เพราะค่าจ้างช่างและลูกมือช่าง มีราคาแพง ช่างผู้ควบคุมการก่อสร้างต้องจ้างช่างชาวเวียดนาม ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านงานปูนมาออกแบบควบคุมงานก่อสร้างโดยเฉพาะ วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นอิฐ ปูนที่ผลิตขึ้นจากปูนขาว ทราย ยางบง และโครงไม้ ก่อสร้างโดยใช้วิธีเรียงอิฐให้มีแรงเกาะยึดและค้ำยันด้วยความหนาของแผ่นอิฐ ประสานเชื่อมด้วยปูนและคานไม้ซึ่งเป็นตัวประกบ อุปกรณ์บางชนิด เช่น บานพับประตูบานพับหน้าต่าง เป็นสินค้าสั่งจากประเทศฝรั่งเศสโดยช่างชาวเวียดนามทั้งสิ้น[1]

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตำบลเท่าแร่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมือง มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

ตำบลท่าแร่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่[2][3]

  • หมู่ที่ 1 บ้านท่าแร่
  • หมู่ที่ 2 บ้านพะโค
  • หมู่ที่ 3 บ้านท่าแร่เหนือ
  • หมู่ที่ 4 บ้านหนองบัวทอง
  • หมู่ที่ 5 บ้านป่าพนาวัลย์
  • หมู่ที่ 6 บ้านท่าแร่สามัคคี
  • หมู่ที่ 7 บ้านท่าแร่พัฒนา
  • หมู่ที่ 8 บ้านสร้างแก้วสมานมิตร

อ้างอิง

  1. เทศบาลตำบลท่าแร่ จังหวัดสกลนคร. "ประวัติบ้านท่าแร่" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://tharaesakon.go.th/link%20marge/Pawat%20Tharae/pawat%20tharae.html สืบค้น 9 มิถุนายน 2567.
  2. "รายงานข้อมูลตำบลบ้านท่าแร่" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://3doctor.hss.moph.go.th/main/rp_village?region=8&prov=NDc=&provn=4Liq4LiB4Lil4LiZ4LiE4Lij&ampid=4701&ampn=4LmA4Lih4Li34Lit4LiH4Liq4LiB4Lil4LiZ4LiE4Lij&tamid=470107&tamname=4LiX4LmI4Liy4LmB4Lij4LmI สืบค้น 9 มิถุนายน 2567.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสกลนคร.PDF ราชกิจจานุเบกษา 115 (62 ง) 17 กรกฎาคม 2541
Kembali kehalaman sebelumnya